Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6822
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพมหานคร | - |
dc.date.accessioned | 2008-05-07T03:07:44Z | - |
dc.date.available | 2008-05-07T03:07:44Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6822 | - |
dc.description | รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินผลภายในของสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ | en |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยนี้เป็นโครงการในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (R&D) ระบบการประเมินผลภายในที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อนิเทศและติดตามความก้าวหน้าในการทำการประเมินผลภายในของโรงเรียนคันนายาว ซึ่งเป็นโรงเรียนนำร่องระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ในลักษณะเพื่อศึกษาสภาพการทำการประเมินผลภายใน ในเรื่องสภาพการดำเนินงานของโรงเรียน และสภาพการทำการประเมินผลภายในของโรงเรียนก่อนเข้าโครงการและความสำเร็จของการทำการประเมินผลภายในของโรงเรียน เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประเมินผลภายในโรงเรียน ระยะเวลาที่ใช้ในการนิเทศและติดตามผลเป็นเวลาประมาณ 8 เดือน ในลักษณะนิเทศรวมจำนวน 7 ครั้ง และนิเทศเฉพาะโรงเรียนจำนวน 8 ครั้ง ใช้วิธีการสังเกต สัมภาษณ์ ใช้แบบสอบถาม และการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการทำการประเมินผลภายในของโรงเรียนคันนายาว สภาพการดำเนินงานโดยทั่วไปก่อนเข้าโครงการ ประสบความสำเร็จในด้านการขยายจำนวนนักเรียน สภาพแวดล้อม และบรรยากาศโรงเรียน แต่ประสบปัญหาด้านคุณภาพนักเรียน บุคลากร งบประมาณ และสภาพปัญหาของชุมชน ส่วนสภาพการประเมินผลภายในก่อนเข้าโครงการเริ่มมีการดำเนินการอยู่บ้างโดยมีผู้บริหารเป็นผู้นำ สำหรับความสำเร็จของการประเมินผลภายในสรุปได้ว่า 1.1 มาตรฐานการประเมินผลภายใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง ซึ่งผ่านเกณฑ์ทั้ง 4 ด้าน 1.2 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ มีต่อโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้บริหารโรงเรียนอย่างทั่วถึง 1.3 ความต่อเนื่องของระบบการประเมินผลภายใน ทุกคนในโรงเรียนเชื่อมั่นว่าจะมีระบบที่ต่อเนื่องต่อไป 1.4 เจตคติของบุคลากรในโรงเรียนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นจากก่อนเริ่มโครงการ 1.5 ระดับความสำเร็จของการดำเนินงาน ในด้านความน่าเชื่อถือของผลการประเมินอยู่ระดับปานกลาง ส่วนด้านความมั่นใจในความยั่งยืนของระบบการประเมินผลภายใน ความมั่นใจในการนำผลการประเมินไปใช้ และความพึงพอใจต่อวิธีการที่ใช้ อยู่ในระดับมาก 2. ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ เรื่องความเข้าใจในระบบที่พัฒนา การประสานงานของบุคลากร ทรัพยากรที่ใช้ เวลาในการทำงาน และวิธีการที่ใช้ในการประเมิน 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ได้แก่ ผู้บริหารซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด รองลงมาได้แก่ การทำงานเป็นทีม การวางแผนที่ดี คู่มือการประเมินผล การนิเทศของนักวิจัยในพื้นที่ และความใจกว้างของบุคลากรในโรงเรียน | en |
dc.format.extent | 9085568 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ; จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรงเรียน -- การประเมิน | en |
dc.subject | สถานศึกษา -- การประเมิน | en |
dc.title | การพัฒนาระบบการประเมินผลภายในของสถานศึกษา : กรณีตัวอย่างสถานศึกษานำร่อง โรงเรียนคันนายาว สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | Duangkamol.t@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Duangkamol(bkk).pdf | 8.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.