Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68239
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์ | - |
dc.contributor.author | ฐนิตา วิรุฬหกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-09-28T08:12:24Z | - |
dc.date.available | 2020-09-28T08:12:24Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.isbn | 9743324569 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68239 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 | en_US |
dc.description.abstract | สิทธิตามสัญญารับฝากเงิน เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยความตกลงระหว่างผู้ฝากเงินกับผู้รับฝากเงิน โดยผู้ฝากมีสิทธิได้รับเงินที่ฝากคืน และผู้รับฝากเงินมีหนี้ในการส่งมอบเงินตามจำนวนที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี) ให้แก่ผู้ฝาก เมื่อมีการทวงถาม สิทธิตามสัญญารับฝากเงินจึงเป็นสิทธิเรียกร้องอันมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นเงิน ซึ่งเป็นสิทธิที่มีมูลค่าและมีความมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้รับฝากเงินนั้นเป็นธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น จึงได้มีการนำสิทธิตามสัญญารับฝากเงินมาใช้เป็นหลักประกัน โดยในทางปฏิบัติได้จัดทำนิติกรรมทั้งในรูปแบบของสัญญาจำนำสิทธิ และการทำข้อตกลงเพื่อใช้เป็นหลักประกันในรูปแบบอื่น เช่น การโอนสิทธิเรียกร้อง หรือการยินยอมให้ถอนเงินจากบัญชีเงินฝาก เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า สิทธิเรียกร้องอันเกิดโดยผลของสัญญาโดยทั่วไป ที่ไม่มีตราสารก่อตั้งและแสดงความเป็นเจ้าของในสิทธิเรียกร้องและทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสิทธินั้น (Document of title) ไม่สามารถนำมาเป็นหลักประกันในรูปแบบของการจำนำ ภายใต้กฎหมายไทยที่มีใช้บังคับอยู่ในขณะนี้ได้ ดังนั้น สิทธิตามสัญญารับฝากเงินที่มีสมุดคู่ฝาก (Pass book) หรือใบรับฝากเงินประจำ (Deposit receipt) ซึ่งเป็นเพียงหลักฐานแห่งหนี้ (Evidence of debt) จึงไม่สามารถนำมาเป็นหลักประกันภายใต้กฎหมายลักษณะจำนำได้ มีเพียงสิทธิตามสัญญารับฝากเงินที่มีบัตรเงินฝาก (Certificate of deposit) เท่านั้น ที่สามารถใช้เป็นหลักประกันในรูปแบบของการจำนำได้ ส่วนการทำสัญญาหรือข้อตกลง เพื่อนำสิทธิตามสัญญารับฝากเงินมาเป็นหลักประกันในรูปแบบอื่นนั้นมีผลบังคับได้เฉพาะคู่สัญญา แต่ไม่ทำให้เจ้าหนี้อยู่ในฐานะของเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิ หรือเจ้าหนี้มีประกันตามกฎหมาย ทั้งในทางแพ่งและล้มละลาย อันจะทำให้เจ้าหนี้นั้นมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากหลักประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นได้ | - |
dc.description.abstractalternative | The right under the deposit contract arises out of the contract between the depositor and depositee whereby the depositor has the power to retrieve the deposited sum, and the depositee consequentially is obliged to deliver the sum plus the interest (if any) on the amount to the depositor when claimed. The right under the deposit contract is therefore a jus personam which has a sum of money as the object of right and has a value and certainty, especially when the depositor is a bank or other financial institution. Therefore, the right under a deposit contract has been utilized to be security. In practice, the security contract has been made in the form of pledge of right and in the form of an agreement allowing the beneficiary other kind of security rights as assignment of right to claim or consent to withdraw money from the deposit account. The study finds that the jus in personam under general contract which does not have a document of title of the jus in personam and thereby cannot be pledged to become a security under the present Thai law. Therefore, the right under the deposit contract which includes a passbook or a deposit receipt which is only an evidence of debt cannot be pledged to become a security under the law of pledge. Only the right under the certificate of deposit can be pledged to become a security because there is a specific provision allowing such a pledge. The contract or agreement for allowing the right under the deposit contract to be a security in other form can be enforced against the parties to the contract only, but it does not make the creditor to be a previledge or a secured creditor, be it that of civil law or bankruptcy, which allow that particular creditor to have a preemptive right to collect the debt from that security before other creditors. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สัญญา | en_US |
dc.subject | หลักประกัน | en_US |
dc.subject | การบังคับชำระหนี้ | en_US |
dc.subject | เงินฝากธนาคาร | en_US |
dc.subject | การจำนำสิทธิ | en_US |
dc.title | การใช้สิทธิตามสัญญารับฝากเงินเป็นหลักประกัน | en_US |
dc.title.alternative | Facilitating depositor's right as a security | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanita_vi_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 995.76 kB | Adobe PDF | View/Open |
Thanita_vi_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thanita_vi_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thanita_vi_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 3.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thanita_vi_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thanita_vi_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Thanita_vi_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.