Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68256
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีระพงษ์ บุญโญภาส | - |
dc.contributor.author | พิมพ์เพ็ญ พัฒโน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-09-29T06:40:41Z | - |
dc.date.available | 2020-09-29T06:40:41Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743338373 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68256 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | - |
dc.description.abstract | “การจับ” เป็นการกระทำที่มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นอย่างมากไม่เพียงแต่กระทบต่อชื่อเสียง หน้าที่การงาน เสรีภาพในความเป็นอยู่เท่านั้น แต่รัฐยังจะต้องเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากในการใช้เลี้ยงดูผู้ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในระหว่างการพิจารณา แต่กระนั้นก็ตามเพื่อให้การดำเนินคดีอาญาเป็นไปโดยเรียบร้อย มีหลักประกันว่าในการพิจารณาพิพากษาคดี ตลอดจนการลงโทษจะมีตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยอยู่ด้วยเสมอ รัฐจึงมีความจำเป็นต้องจับและควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดไว้และการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้อำนาจจับและควบคุมตัวผู้กระทำความผิดได้จะต้องปรากฎว่ามีกฎหมายของรัฐบัญญัติให้อำนาจไว้ เช่นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้เปลี่ยนแปลงแนวทางในการบริหารงานยุติธรรมทางอาญาจากรูปแบบควบคุมอาชญากรรม (Crime Control) เป็นรูปแบบนิติธรรม (Due Process ) ทำให้หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับเรื่องการคุ้มครองสิทธิเปลี่ยนแปลงไปก่อให้เกิดปัญหา ในด้านการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องต่าง ๆ อีกทั้ง ป.วิ.อาญา ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน ขัดแย้งหรือไม่ สอดคล้องกับหลักการที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว เช่น ป.วิ.อาญา ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน กำหนดให้เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้มีอำนาจออกหมายจับได้ เป็นต้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้เขียนได้เสนอแนวทางในการร่าง ป.วิ.อาญา ที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ตลอดจนแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐเพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายบรรลุผลควบคู่ไปกับการธำรงค์ไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่มีมาแต่โดยธรรมชาติไม่ให้ถูกล่วงละเมิดไปจนเกินควร โดยมีวัตถุประสงค์สูงสุดที่จะรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของสังคม | - |
dc.description.abstractalternative | “Arrest” is the process that has enormous effect to right and liberty of human being. Not only does it affect the reputation, occupation, freedom and right of living of an individual who has been arrested, but it also directly affects to a government’s budget because the government has to spend a lot of money in controlling and looking after all accused during trial procedure. Nonetheless, for the completion of the criminal procedure, an accused or a defendant has to be in the court during the trial. Therefore, the officer needs to arrest and control the suspect until the case has been decided. In addition to this procedure, the rights to arrest and to control should be provided by the law such as in the Constitution and in the Criminal Procedure Code. According to the Constitution of Kingdom of Thailand 1997, a criminal justice administration is a change from a “Crime Control” system to a “Due Process” system. This change has influenced the right of an arrested person and it also raises a number of problems in enforcing the law. It has been agreed that the prevalent Criminal Procedure Code is either contradict or not consistent with the Constitution. For instance, Thai Criminal Procedure Code provides that only administrative officer or superior police officer has right to issue an arrest warrant. With regard to the thesis proposal, the mechanism that comes up from a study is the Criminal Procedure Code of Thailand and the Constitution of Kingdom of Thailand 1997 should be more compatible to each other, together with the law enforcement officer has a duty to protect and maintain a right and liberty of an arrested person in our society. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | การจับกุม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | - |
dc.subject | การจับกุม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย | - |
dc.subject | หมายจับ | - |
dc.subject | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 | - |
dc.title | กลไกทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 : ศึกษากรณีการจับ | - |
dc.title.alternative | Legal mechanisms for the protection of legal rights under the Constitution of Kingdom of Thailand 1997 : a sutdy of arresting | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pimpen_pa_front_p.pdf | 950.99 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimpen_pa_ch1_p.pdf | 898.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimpen_pa_ch2_p.pdf | 2.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimpen_pa_ch3_p.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimpen_pa_ch4_p.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimpen_pa_ch5_p.pdf | 984.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pimpen_pa_back_p.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.