Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6830
Title: | ปัจจัยทางจิต-สังคมของผู้ป่วยรายใหม่ ที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ ด้วยภาวะผิดปกติจากการใช้ยาบ้าและเฮโรอีน |
Other Titles: | Psycho-social factors of new patients with amphetamine and heroin use disorder in Thanyarak Hospital |
Authors: | ก.สินศักดิ์ สุวรรณโชติ |
Advisors: | อรรถพล สุคนธารมย์ ณ พัทลุง ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล chsrs@redcross.or.th |
Subjects: | คนติดยาเสพติด -- สุขภาพจิต ยาเสพติด การติดยาเสพติด แอมฟิตะมิน เฮโรอีน |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาสภาพจิตใจและสภาพสังคมของผู้ป่วยรายใหม่ที่มารับการรักษา ณ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ด้วยภาวะผิดปกติจากการใช้ยาบ้าและเฮโรอีน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์สภาพทางสังคม และแบบสัมภาษณ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้างในผู้ป่วย 10 ราย ค่าสถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าฐานนิยม ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และเปรียบเทียบความแตกต่างโดย Chi-square test, Fisher's exact test และ Unpaired t-test ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS PC+ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเสพยาบ้าจำนวน 302 คน และผู้ป่วยเสพเฮโรอีนจำนวน 48 คน ผู้ป่วยเริ่มเสพยาเสพติดเมื่ออายุเฉลี่ย 16.58+_3.31 ปี (อายุต่ำสุด = 11 ปี, อายุสูงสุด = 29 ปี) ผู้ป่วยเสพยาเสพติดก่อนมารับการรักษาเป็นระยะเวลาโดยเฉลี่ย 26.61+_17.72 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 62.6 ได้รับการชักจูงให้เสพยาเสพติดจากเพื่อน ผู้ป่วยร้อยละ 94.7 เคยมีเพื่อนเสพยาเสพติด ผู้ป่วยร้อยละ 91.7 เคยได้รับความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 95.2 สามารถหาซื้อยาเสพติดได้ง่ายภายในเวลา 10 นาที 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยเสพยาบ้ามีช่วงอายุที่ใช้ยาเสพติดครั้งแรก ต่ำกว่าผู้ป่วยเสพเฮโรอีนอย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05) ผู้ป่วยเสพยาบ้าใช้ยาเสพติดมาเป็นระยะเวลานานน้อยกว่า ผู้ป่วยเสพเฮโรอีนอย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05) และ ผู้ป่วยเสพยาบ้าใช้เงินในการซื้อหายาเสพติดน้อยกว่า ผู้ป่วยเสพเฮโรอีนอย่างมีนัยสำคัญ (p-value<0.05) ส่วนใหญ่สภาพปัญหาจิตใจของผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.4 คือ ภาวะผิดปกติทางอารมณ์ (Mood disorder) โดยพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 42.3 มีความผิดปกติทางจิตชนิดคลุ้มคลั่ง (Manic disorder) และร้อยละ 34.9 มีความผิดปกติทางจิตชนิดซึมเศร้ารุนแรง (Major depressive disorder) ผู้ป่วยเสพยาบ้ามีอัตราการเกิดความผิดปกติทางจิตชนิดหวาดกลัว (Panic attack) และความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดคลุ้มคลั่ง (Manic disorder) มากกว่าผู้ป่วยเสพเฮโรอีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสพยาบ้าและเฮโรอีนของผู้ป่วยคือ ปัญหาครอบครัว ความรู้สึกด้วยคุณค่าของตนเอง การมีเพื่อนที่ใช้ยาเสพติด การถูกชักชวนให้ใช้ยาเสพติดโดยกลุ่มเพื่อน สามารถหาซื้อยาเสพติดได้ง่ายในชุมชน และสภาพปัญหาทางจิตใจที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ผู้ป่วยที่ติดยาเสพติดต้องการให้สังคมยอมรับ เพื่อช่วยให้มีกำลังใจที่จะเลิกเสพยาเสพติด |
Other Abstract: | To explore psychological and social conditions of new patients who suffered from amphetamine use disorder and heroin use disorder. The subject of this study included 350 new patients who were treated in Thanyarak Hospital. The instrument consisted of social interview form and diagnostic interview for mental disorder. In-depth interview was conducted on 10 new patients. Percentage, mean, standard deviation, Mode, maximum and minimum were determined. Chi-square test, Fisher's Exact test and t-test were used for statistical analysis. All of data were analyzed with SPSS program. It was found that 302 patients used amphetamine and 48 patients used heroin. The average age that they started using drug was 16.58+_3.31 years (minimum = 11 years, maximum = 29 years). The average time that they started using drug until they got treatments was 26.61 +_17.72 months. Most of them, 62.6 percent, were encouraged using drug by peers. 94.7 percent, associated with peers who used drug. 91.7 percent, were educated about harmfulness of drug abuse. Almost all of them, 95.2 percent, could obtain drug within 10 minutes to 1 hour. Initiation age of amphetamine users that started using drug was significantly lower than heroin users (p-value<0.05). Drug using periods of amphetamine users were significantly lower than heroin users (p-value<0.05). Expenditure on drug of amphetamine users was significantly lower than heroin users (p-value<0.05). Mood disorder was the most prominent psychological problem in 51.4 percent of subjects. Manic disorder was the most common finding, 42.3 percent, follow by major depressive disorder, 34.9 percent. Amphetamine users were significantly more affected by panic attack and manic disorder than heroin users (p-value<0.05). In-depth interview revealed that factors related to amphetamine and heroin use disorder were as follow: family problems, low self esteem, peer drug use, encouragement by peers, available drug distribution in community and psychological problem. Most of patients need social acception in order to stop using drug. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขภาพจิต |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6830 |
ISBN: | 9743333312 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
K_Sinsak.pdf | 9.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.