Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6831
Title: อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกระดูกสันหลังหักในประชากรไทยอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปที่อาศัยในชุมชนร่มเกล้า กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Incidence and risk factors of vertebral fracture in Thai population age 50 years and over living in Romklao Community, Bangkok
Authors: จิตติมา ทมาภิรัต
Advisors: สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ชุมชนร่มเกล้า (กรุงเทพฯ)
กระดูกสันหลัง -- ปัจจัยเสี่ยง
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของการวิจัย : กระดูกสันหลังหักพบมากที่สุดในการเกิดกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนโดยเฉพาะในสตรีวัยหมดประจำเดือนซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกอื่นๆหักตามมาและก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรงตามมาอีกหลายอย่าง พบว่ามีเพียงไม่ถึง 1 ใน 3 ที่จะมาพบแพทย์ แต่การศึกษาเกี่ยวกับอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดกระดูกสันหลังหักในแถบเอเชียมีน้อยมากรวมถึงในประเทศไทย วัตถุประสงค์ในการวิจัย : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดกระดูกสันหลังหักในประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป วิธีการทำวิจัย : คัดเลือกประชากร 323 คนจากการศึกษาปัญหาระยะยาวในประชากรอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปชื่อ CERB Project นำข้อมูลมาทำการศึกษาหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆและเปรียบเทียบภาพถ่ายรังสีกระดูกสันหลัง 2 ครั้งห่างกัน 5 ปีเพื่อหาอุบัติการณ์การเกิดกระดูกสันหลังหัก การวินิจฉัยกระดูกสันหลังหักตามวิธีของ Black และคณะ ผลการวิจัย : เมื่อปรับตามประชากรไทยปี พ.ศ. 2540 พบว่าอุบัติการณ์การเกิดกระดูกสันหลังหักในประชากรโดยรวมเท่ากับร้อยละ 5.16 ต่อปี(อุบัติการณ์ในเพศชายเท่ากับร้อยละ 4.95 และในเพศหญิงเท่ากับร้อยละ 4.58) โดยที่ความชุกโดยรวมเท่ากับร้อยละ 33.46 (ความชุกในเพศชายเท่ากับร้อยละ 33.47 และในเพศหญิงเท่ากับร้อยละ 33.44) ในเพศหญิงการมีความหนาแน่นมวลกระดูกต่ำ (คะแนนทีของความหนาแน่นกระดูกต่ำกว่า 1.61; RR 2.9 [1.3-6.3]) การมีกระดูกสันหลังหักอยู่เดิม (RR 2.9 [1.4-6.2]) และ เป็นปัจจัยเสี่ยง ในขณะที่ในเพศชายการมีอายุมาก (ระดับอายุ 75-79 ปี; RR 5.6 [1.1-30.1]) และ การมีกระดูกสันหลังหักอยู่เดิม (RR 3.94 [1.6-9.7]) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออุบัติการณ์การเกิดกระดูกสันหลังหัก เมื่อวิเคราะห์โดยให้ปัจจัยต่างๆ เป็นอิสระต่อกัน พบว่าในเพศหญิงการมีความหนาแน่นมวลกระดูกต่ำ (คะแนนทีของความหนาแน่นกระดูกต่ำกว่า 1.61; RR 2.45 [1.1-5.4]) และการมีกระดูกสันหลังหักอยู่เดิม (RR 2.49 [1.1-5.4]) และในเพศชายการมีอายุมาก (ระดับอายุ 75-79 ปี;RR 6.74 [1.1 43.5]) และ การมีกระดูกสันหลังหักอยู่เดิม (RR 2.78 [1.0-8.1]) ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการวิจัย : อุบัติการณ์การเกิดกระดูกสันหลังหักในประชากรไทยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศในแถบตะวันตก ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่ออุบัติการณ์การเกิดกระดูกสันหลังหักที่สำคัญในเพศหญิงได้แก่การการมีความหนาแน่นมวลกระดูกต่ำ ละการมีกระดูกสันหลังหักอยู่เดิมและในเพศชายได้แก่การมีการมีอายุมากและการมีกระดูกสันหลังหักอยู่เดิม เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่ออุบัติการณ์การเกิดกระดูกสันหลังหัก
Other Abstract: Background : Vertebral fractures are the most common osteoporotic fractures especially in postmenopausal women. They are associated with increase risk of other fractures, morbidity and mortality. Only 1/3 of cases complained with physicians. Incident, prevalent and risk factors of vertebral fractures have not been extensively studied in Asian and Thailand. Objective : We evaluated incidence and potential risk factors for incident vertebral fractures in population aged 50 years and over. Methods : Among subjects aged 50 years and over recruited in a cohort study named the CERB Project. For 323 subjects, spinal radiographs were obtained at baseline and again 5 years later. Diagnose vertebral fractures by Black method. At baseline, information on potential risk factors was obtained. Results : After adjusted for Thai population, incidence of vertebral fractures in total population (year 2002) was 5.16% per year (males 4.95% and females 4.58% per year) and prevalence (year 1997) was 33.46% (males 33.47% and females 33.44%). Low bone mineral density (T-score BUA < -1.61; RR 2.9 [1.3-6.3]) and prior vertebral fractures (RR 2.92 [1.4-6.2]) were risk factors for incidence of vertebral fractures in female while older age (75-79 year; RR 5.6 [1.1-30.1]) and prior vertebral fractures (RR 3.94 [1.6-9.7]) were risk factors in male. In full multivariable model, low bone mineral density (T-score BUA < -1.61; RR 2.45 [1.1-5.4]) and prior vertebral fractures (RR 2.49 [1.1-5.4]) in female and older age (75-79 year; RR 6.74 [1.1-43.5]) and prior vertebral fractures (RR 2.78 [1.0-8.1]) in male were strong independent risk factors for incidence of vertebral fractures. Conclusion : Incidence and prevalence of vertebral fractures in Thai population were higher than in western. Older age in male, low bone mineral density in female and prior vertebral fractures in both were strong risk factors for incidence of vertebral fractures.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6831
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1112
ISBN: 9745329657
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1112
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jittima.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.