Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68365
Title: การหาค่าสัมประสิทธิ์สำหรับการคำนวณค่าโอทีทีวี
Other Titles: Determination of coefficients for OTTV calculation
Authors: พงศกร ธัญญธาดา
Advisors: ตุลย์ มณีวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: tul.m@chula.ac.th
Subjects: ความร้อน -- การถ่ายเท
อาคาร
สถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงาน
Heat -- Transmission
Buildings
Architecture and energy conservation
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้แสดงถึงการหาค่าสัมประสิทธิ์สำหรับการคำนวณค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของกรอบอาคาร (OTTV) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ BLN-ESP1 และข้อมูลอากาศปี 2534 ของกรุงเทพฯ แล้วนำผลการคำนวณที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าตามคู่มือการอนุรักษ์พลังงาน ผลการเปรียบเทียบค่า OTTV ของอาคารโดยใช้ค่าตามคู่มือการอนุรักษ์พลังงานกับค่าสัมประสิทธิ์ที่คำนวณขึ้นใหม่พบว่า สำหรับอาคาร กรณีศึกษาหลังที่ 1 มีค่า OTTV แตกต่างกันอยู่ประมาณ 13.4 %, สำหรับอาคารกรณีศึกษาหลังที่ 2 มีค่า OTTV แตกต่างกันอยู่ประมาณ 14.6 %, สำหรับอาคารกรณีศึกษาหลังที่ 3 มีค่า OTTV แตกต่างกันอยู่ประมาณ 29.5 % ความแตกต่างของค่า OTTV ดังกล่าวน่าจะเป็นผลมาจากข้อมูลอากาศที่ใช้ และรายละเอียดปลีกย่อยบางประการของวิธีการคำนวณที่มีความแตกต่างกัน ความแตกต่างของค่า OTTV สำหรับอาคารกรณีศึกษาหลังที่ 3 คาดว่าเกิดมาจากอัตราส่วนพื้นที่ของกระจกต่อพื้นที่ทั้งหมดของกำแพง (WWR) ของอาคารกรณีศึกษาที่ 3 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า WWR ของอาคารกรณีศึกษาหลังที่ 1 และ 2 ค่อนข้างมาก
Other Abstract: This thesis presents the determination of coefficients for OTTV calculation by using a computer program BLN-ESP1 and the weather data of Bangkok in 1991. The results have been compared with the coefficients presented in the OTTV calculation handbook published by the Department of Energy Development and Promotion. The result of OTTV calculation for 3 high rise buildings based on the existing coefficients and new set of coefficients show that the different in OTTV value for the first building is approximately 13.4 %, the different for the second building is approximately 14.6 %, the different for the third building is approximately 29.5 %. The different is probably due to the weather data used and some of the detail calculation method used. The different of OTTV value for the third building is probably due to WWR of the third building which is much less than WWR of the first and the second building.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68365
ISSN: 9743313001
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pongsakorn_th_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ634.08 kBAdobe PDFView/Open
Pongsakorn_th_ch1.pdfบทที่ 1225.46 kBAdobe PDFView/Open
Pongsakorn_th_ch2.pdfบทที่ 2923.48 kBAdobe PDFView/Open
Pongsakorn_th_ch3.pdfบทที่ 3435.02 kBAdobe PDFView/Open
Pongsakorn_th_ch4.pdfบทที่ 42.22 MBAdobe PDFView/Open
Pongsakorn_th_ch5.pdfบทที่ 51.82 MBAdobe PDFView/Open
Pongsakorn_th_ch6.pdfบทที่ 6157.7 kBAdobe PDFView/Open
Pongsakorn_th_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก29.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.