Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68367
Title: | การทำเสถียรและการทำให้เป็นก้อนของขี้เถ้าที่ได้จาก การเผากากตะกอนน้ำมันเตา |
Other Titles: | Stabilization and solidification of the ash from burning bunker oil sludge |
Authors: | อธิวัตร จิรจริยาเวช |
Advisors: | สุรี ขาวเธียร บุญยง โล่ห์วงศ์วัฒน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | กากตะกอน น้ำมันเตา ขี้เถ้า ของเสียอันตราย -- การทำให้เป็นของแข็ง |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการทำเสถียรและการทำให้เป็นก้อนของขี้เถ้าที่ได้จากการเผากากตะกอนน้ำมันเตาโดยใช้วัสดุประสานชนิดต่าง ๆเพื่อพิจารณาเลือกใช้ชนิดและสัดส่วนของวัสดุประสานที่เหมาะสมที่สุดในการทำขี้เถ้าที่ได้จากการเผากากตะกอนน้ำมันเตาที่อุณหภูมิต่าง ๆ (4000ซ. 8000 ซ. และ 1,2000ซ.) ให้เป็นก้อนแข็ง และมีคุณสมบัติตรงตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2531) และตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) กากตะกอนน้ำมันเตาที่ใช้ในการทดลองนั้นได้มาจากก้นถังพักน้ำมันเตาของคลังน้ำมันพระโขนง ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ในปัจจุบันการกำจัดตะกอนน้ำมันเหล่านี้จะใช้วิธีการเททิ้งลงในบ่อเก็บกักตื้น ๆ เพื่อปล่อยให้มีการย่อยสลายไปตามธรรมชาติซึ่งอาจเกิดการสะสมของโลหะหนักในดิน หรือในสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นดินบริเวณนั้นได้ จากการวิเคราะห์โลหะหนักในน้ำชะละลายตามวิธีของกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 6 (พศ. 2540) พบว่ามีความเข้มข้นของโครเมียม 5. 16 มก./ล. และปรอท 0.25 มก. /ล. ซึ่งมีค่าเกินค่ามาตรฐานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดไว้ที่ 5 มก./ล. และ 0.2 มก./ ล. ตามลำดับ กากตะกอนน้ำมันเตานี้จึงถูกจัดให้เป็นของเสียอันตรายสำหรับการวิจัยนี้ได้นำตัวอย่างตะกอนน้ำมันเตาที่นำไปเผาที่อุณหภูมิ 4000ซ 8000 ซ และ 1,200 ซ0 แล้วนำขี้เถ้า (Ash) หรือสิ่งที่เหลืออยู่ (Residue) มาทำการศึกษาค่าความเข้มข้นของโครเมียมในน้ำชะละลาย หลังจากนั้นก็ศึกษาหาวิธีการทำเสถียรขี้เถ้าที่ได้จากการเผา และทำให้เป็นก้อนต่อ โดยใช้วัสดุประสานคือ ปูนซีเมนต์ ปูนขาวปูนซีเมนต์ผสมปูนขาว ปูนซีเมนต์ผสมโซดาไฟ 10% และปูนซีเมนต์ผสมโซดาไฟ 20% โดยใช้อัตราส่วนผสมของวัสดุประสานต่อน้ำหนักขี้เถ้าต่าง ๆ กัน เพื่อทำการตรึงโลหะหนักที่ยังเหลืออยู่หลังจากผ่านการเผา รวมทั้งตรวจสอบความสามารถในการชะละลายหลังการทำให้เป็นก้อนแข็ง ตามวิธีมาตรฐานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และประมาณค่าใช้จ่ายในการกำจัดต่อปริมาตรตะกอนน้ำมันเตาที่เกิดขึ้นรวมถึงต่อราคาน้ำมันเตา ผลการวิเคราะห์น้ำชะละลาย ตามวิธีของกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่า กากตะกอนน้ำมันเตามีปริมาณโครเมียม 5.16 มก/ล. ปรอท 025 มก./ล. ส่วนขี้เถ้าที่ได้จากการเผากากตะกอนน้ำมันเตาที่ 4000ซ. 8000ซ. และ 1.2000ซ มีปริมาณโครเมียม 2.01, 1.97 และ 1.93 มก./ ล. ตามลำดับ ส่วนปริมาณปรอทนั้นตรวจไม่พบในขี้เถ้าหลังการเผาทั้ง 3 อุณหภูมิ และจากการทดลองนำขี้เถ้าที่ได้จากการเผากากตะกอนน้ำมันเตาไปทำให้เป็นก้อนแข็งพบว่า ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เป็นวัสดุประสานที่เหมาะสมที่สุดโดยใช้ในอัตราส่วนผสมปูนซีเมนต์ร้อยละ 13 โดยน้ำหนัก จะทำให้ก้อนตัวอย่างค่ากำลังรับแรงอัด 15.67 กก./ตร.ซม. ซึ่งมีกำลังรับแรงอัดผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งกำหนดไว้ที่ 14 กก./ตร.ซม. และเป็นสัดส่วนผสมที่ประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุประสานชนิดอื่น ๆ สำหรับการทดลองหาอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานพบว่า อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ที่ 0.6 จะให้กำลังรับแรงอัด 19.07 กก./ตร.ซม. ซึ่งมีค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับวัสดุประสานชนิดเดียวกันและที่อัตราส่วนผสมเดียวกัน สำหรับค่าใช้ในการกำจัดกากตะกอนน้ำมันเตาจ่ายซึ่งประกอบด้วย ค่าเผากากตะกอนน้ำมันเตาค่าใช้จ่ายในการทำให้เป็นก้อน ค่าขนส่งไปยังหลุมฝังกลบ และค่าฝังกลบที่ศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม ราชบุรี ในการกำจัดกากตะกอนน้ำมันเตาเท่ากับ 4.264 บาท ต่อปริมาณกากตะกอนน้ำมันเตา 1 ตันหรือคิดเป็นร้อยละ 0.11 ของราคาน้ำมันเตา |
Other Abstract: | This research IS to study type and mixing ratio of binders for the stabilization and solidification of ash from burning bunker oil sludge. The objective of tile study is to select the most appropriate type and mixing ratio of binder for fixing tile ash from burning tile sludge at various temperatures (400°C, 800°c and 1,200°C) to meet the solidification standards promulgated by the Ministry of Industry Announcements No.1(B.E. 2531) and No.6 (B.E.2540). The oil sludge, which no longer suitable for use, was taken from a bunker oil storage tank, at Prakhanong Tank Farn of the Petrolium Authority of Thailand (PTT). At present the oil sludge is disposed of in holding ponds allowing to decay naturally. This practice may be harmful to the environment from the build-up of heavy metal and to the living things around that area. According to the notification of the Ministry of Industry No.6 (B.E.2540), the oil sludge has been classified as hazardous waste, because the sludge contained 5.16 mg/1 of Cr and 0.25 mg/1 of Hg which were higher than the official standards. This experiment was carried out by burning the sludge sample at various fixed temperatures (400°C,800°C andl,200°C), to study the properties and the quantities of ash or residue, such as Cr. After that, a study to stabilize/solidify the ash by using Portland cement, lime, a mixture of Portland cement and lime, a mixture of Portland cement with 10% of sodium hydroxide, and a mixing of Portland cement with 20% of sodium hydroxide as binders were carried out, in order to fix the rest of the heavy metals in the ash. Extraction of the solidified products using the Ministry of Industry's method and an estimate for the disposal cost were also carried out. It was found that the oil sludge, after using the Ministry’s leaching method, contain 5.16 mg/1 of Cr and 0.25 mg/1 of Hg. The ash from burning the oil sludge at 400°C, 800°C and 1,200°c contain about 2.01,1.97 and 1.93 mg/1 of Cr respectively, but Hg was not found in tile ash. Portland cement was found to be the most appropriate binder with a mixing ratio of about 13% by weight. And the solidified product had a strength of 15.67 kg/sq.cm. meeting the standards promulgated by the Ministry of Industry of 14 kg/sq.cm. The water cement ratio of about 0.6 is the most appropriate ratio and produced highest strength of 19.07 kg/sq.cm. when compared with other bindes in equivalent ratio. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68367 |
ISBN: | 9743343865 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Athiwatr_ji_front_p.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Athiwatr_ji_ch1_p.pdf | 624.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Athiwatr_ji_ch2_p.pdf | 659.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Athiwatr_ji_ch3_p.pdf | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Athiwatr_ji_ch4_p.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Athiwatr_ji_ch5_p.pdf | 5.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Athiwatr_ji_ch6_p.pdf | 672.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Athiwatr_ji_ch7_p.pdf | 605.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Athiwatr_ji_back_p.pdf | 2.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.