Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68369
Title: | การบำบัดน้ำชะมูลฝอยแบบโคเมตาบอลิคด้วยระบบยูเอเอสบี |
Other Titles: | Cometabolic treatment of landfill leachate by UASB system |
Authors: | เบกพล ก้านสังวร |
Advisors: | ชวลิต รัตนธรรมสกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | ขยะ การกำจัดขยะ น้ำชะขยะ -- การบำบัด น้ำเสีย -- การบำบัด |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการบำบัดน้ำชะมูลฝอยแบบโคเมตาบอลิคด้วยระบบยูเอเอสบี โดยใช้น้ำตาลเป็นสารอาหารร่วม และใช้ถังปฏิกิริยาแบบยูเอเอสมีขนาดโต๊ะการทดลองที่มีปริมาตร 2.5 ลิตร น้ำชะมูลฝอยนำมาจากสถานฝังกลบมูลฝอยของเทศบาลอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี และนำมาเจือจางด้วยน้ำประปาให้ได้ความเข้มข้นซีโอดีประมาณ 500 มก./ล. และได้ความเข้มสีเท่าถับ 79.7 - 81.1 เอสยู การทดลองสามารถแบ่งได้เป็น 5 ชุดการทดลองโดยแปรเปลี่ยนอัตราส่วนซีโอดีของน้ำชะมูลฝอยต่อซีโอดีของน้ำตาลเป็น 5 ค่า ดังนี้คือ 1:0 (ชุดควบคุม) 1:1 1:2 1:3 และ 1:4 โดยมีค่าซีโอดีของน้ำชะมูลฝอยที่ได้จากการเจือจางเท่ากับ 500 มก./ล. ดังนั้นในชุดการทดลองที่มีอัตราส่วนซีโอดีของน้ำชะมูลฝอยต่อซีโอดีของน้ำตาลเป็น 1:1 1:2 1:3 และ 1:4 ต้องเติมซีโอดีในรูปน้ำตาลในปริมาณ 500 1,000 1,500 และ 2,000 มก./ล. ตามลำดับ เวลาถักพักชลศาสตร์ของทุกชุดการทดลองกำหนดให้เท่ากันคือ 1 วัน จากการทดลองพบว่าการทดลองชุดควบคุม (ไม่เติมน้ำตาล) ลามารถกำจัดซีโอดีได้เพียง 40 - 50 มก./ล. ซึ่งมีซีโอดีของน้ำออกประมาณ 442 - 445 มก./ล. คิดเป็นประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเท่ากับร้อยละ 10-11 และมีประสิทธิภาพการกำจัดสีเท่ากับร้อยละ 1.9 - 2.0 ส่วนชุดการทดลองที่มีอัตราส่วนซีโอดีของน้ำชะมูลฝอยต่อซีโอดีของน้ำตาลเป็น 1:1 1:2 1:3 และ 1:4 มีซีโอดีของน้ำออกเท่ากับ 459 462 559 และ 591 คิดเป็นประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเท่ากับร้อยละ 55 70 71 และ 77 ตามลำดับ และมีประสิทธิภาพการกำจัดสีเท่ากับร้อยละ 2.98 4.01 4.81 และ 6.88 ตามลำดับ สรุปได้ว่าการใช้โคเมตาบอสิสมในการบำบัดน้ำชะมูลฝอยโดยใช้น้ำตาลเป็นสารอาหารร่วมที่ความเข้มข้นซี โอดี 500 - 2,000 มก./ล. ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีของนำชะมูลฝอยอย่างได้ผล ส่วนการกำจัดสีเกิดขึ้นน้อยมากจนไม่มีนัยสำคัญ ทั้งนี้คาดว่าสารอินทรีย์ที่ย่อยง่ายในน้ำชะมูลฝอยถูกย่อยสลายไปแล้วเพราะในหลุมฝังกลบมูลฝอยชุมชนที่มีสารอินทรีย์หลากหลายและมีอายุมากกว่า 13 ปี ย่อมจะเกิดโคเมตาบอสิสมในสภาพไร้อากาศ จนกระทั้งน้ำชะมูลฝอยเหลือแต่สารย่อยยากเกือบทั้งหมดซึ่งหมายความว่าน้ำชะมูลฝอยเข้าสู่สภาวะคงตัวแล้ว |
Other Abstract: | This research investigated the cometabolic treatment of landfill leachate by using sugar for as a cosubstrate in UASB system. The three bench scales of UASB reactors had the same volume of 2.5 I. The landfill leachate was brought from Sainoi, Nontaburi municipal landfill and was diluted by tap water to be 500 mg/l of COD concentration. Then, the colouration of the wastewater was found to be about 79.7 - 81.1 SU. There were 5 sets of the experiment. The ratios of landfill leachate COD: sugar COD were varied to 1:0(controlling set), 1:1, 1:2, 1:3 and 1:4, in this study. The diluted landfill leachate COD was about 500 mg/l. And the concentrations of added sugar COD were at 500, 1000, 1500, and 2000 mg/l, respectively. And the HRT in every set was kept to be 1 day. From the experiments, it was found that 40-50 mg/l of COD in controlling set were removed. Therefore, its COD removal and the decolourisation efficiencies were 10-11% and 1.9-2.1%, respectively. In the other 4 sets, the COD effluents were 459, 462, 559 and 551 mg/l respectively. Its COD removal efficiencies were 55, 70 ,71 and 77% 1and the decolourisation efficiencies were 2.98, 4.01, 4.81 and 6.88 respectively. In conclusion, since the main composition of old landfill leachate was refractory sub stances, which are difficult to be biodegraded, and a long anaerobic decomposition time was already occurred in the municipal landfill, the cometabolism concept was not successful in this case. Then only refractory substance remained until the steady state. As a result, when using sugar having 4 times COD to landfill leachate as cosubstrate, it was found that COD removal and the decolourisation did not occur significantly. And the finding can confirm the hypothesis above well. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68369 |
ISBN: | 9743346147 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bekpon_ka_front_p.pdf | 987.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Bekpon_ka_ch1_p.pdf | 700.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Bekpon_ka_ch2_p.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bekpon_ka_ch3_p.pdf | 877.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Bekpon_ka_ch4_p.pdf | 3.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bekpon_ka_ch5_p.pdf | 622.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Bekpon_ka_back_p.pdf | 1.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.