Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68422
Title: Surface characterization of polycarbonate by atr FT-IR spectroscopy
Other Titles: การวิเคราะห์เชิงพื้นผิวของพอลิคาร์บอเนต โดยเอทีอาร์ เอฟทีไออาร์ สเปกโทรสโกปี
Authors: Adchara Padermshoke
Advisors: Sanong Ekgasit
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Subjects: Polycarbonates
Capillary electrophoresis
Spectroscopy
สเปกโตสโกป
โพลิคาร์บอเนต
Issue Date: 1999
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This research is the study concerning with the development of a technique for surface characterization of polymers by ATR FT-IR spectroscopy. Polymers being employed in this study are polycarbonate (PC) and polyvinyl chloride (PVC). The research consists of the calculation of number of reflections in ATR prism from experimental results, the determination of the condition under which an optical contact between solid sample and ATR prism is obtained, and the determination of sampling depth in ATR experiment. It was found that the number of reflections in ATR prism calculated from experimental results is always smaller than that calculated via theoretical means. The contact between solid sample and ATR prism can be improved by replacing an air gap existing at the interface between the sample and ATR prism with easily evaporated liquid. The capillary force improves contact between the two surfaces. The sampling depth can be calculated from the decay characteristic of the electric field. The calculated value can be expressed in terms of experimental parameters, material characteristics, and the spectral intensity of material.
Other Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเทคนิคการวิเคราะห์เชิงพื้นผิวของพอลิเมอร์ โดยเทคนิคเอทีอาร์ เอฟทีไออาร์ สเปกโทรสโกปี พอลิเมอร์ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่พอลิคาร์บอเนต และพอลิไวนิลคลอไรด์ งานวิจัยประกอบด้วยการคำนวณหาจำนวนครังของการสะท้อนของแสงในปริซึมโดยใช้ข้อมูลจากผลการทดลอง การหาสภาวะที่ทำให้เกิดการสัมผัสอย่างสมบูรณ์ระหว่างสารตัวอย่างที่เป็นของแข็งกับปริซึม ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการวิเคราะห์เชิงพื้นผิวด้วยเทคนิคเอทีอาร์ เอฟทีไออาร์ สเปกโทรสโกปี และการหาความลึกของการสุ่มตัวอย่างในเทคนิคเอทีอาร์ จากการศึกษาพบว่าจำนวนครั้งของการสะท้อนของแสงในปริซึมที่คำนวณได้จากผลการทดลองจะต่ำกว่าค่าที่คำนวณได้จากทฤษฎีเสมอ การสัมผัสระหว่างสารตัวอย่างที่เป็นของแข็งกับปริซึมสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้โดยการแทนที่ช่องอากาศที่บริเวณผิวสัมผัสระหว่างสารตัวอย่างกับปริซึมด้วยของเหลว แล้วทำให้ของเหลวระเหยไป แรงคาปิลลารีจะช่วยทำให้สารตัวอย่างสัมผัสกับปริซึมดีขึ้น และค่าความลึกของการสุ่มตัวอย่างสามารถคำนวณได้จากลักษณะการลดลงอย่างมีระบบของสนามไฟฟ้า โดยค่าดังกล่าวสามารถเขียนให้อยู่ในรูปของเงื่อนไขทางการทดลอง สมบัติของสาร และความเข้มของการดูดกลืนแสงของสาร
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 1999
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Petrochemistry and Polymer Science
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68422
ISBN: 9743344985
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adchara_pa_front_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Adchara_pa_ch1_p.pdf738.64 kBAdobe PDFView/Open
Adchara_pa_ch2_p.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Adchara_pa_ch3_p.pdf849.46 kBAdobe PDFView/Open
Adchara_pa_ch4_p.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Adchara_pa_ch5_p.pdf618.19 kBAdobe PDFView/Open
Adchara_pa_back_p.pdf666.01 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.