Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68441
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กิตติ อินทรานนท์ | - |
dc.contributor.author | สลักษณ์ กลั่นสุวรรณ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-10-08T07:27:43Z | - |
dc.date.available | 2020-10-08T07:27:43Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743327304 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68441 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | - |
dc.description.abstract | ในปัจจุบันการนำเทคโนโลยีเครื่องจักรต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการผลิตเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไป แต่ในบางอุตสาหกรรมยังคงใช้แรงงานเป็นหลักในการทำงานดังเช่นในโรงงานผลิตรีเลย์ ซึ่งงานที่ทำก็มีรอบการทำงานเพียงช่วงสั้น ๆ และบ่อยครั้งที่พบว่าพนักงานมีอาการปวดเมื่อย จนกระทั่งเกิดความล้าขึ้น จากการทดลองส่งแบบสำรวจสุขภาพพนักงานไปยังโรงงานผลิตรีเลย์แห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานีพบว่ากว่าร้อยละ 90 ของพนักงานที่ตอบแบบสอบถามมีปัญหาอาการปวดเมื่อยของกล้ามเนื้อ หลังจากการใช้แบบสอบถามเพื่อสำรวจสุขภาพแล้ว จึงสัมภาษณ์พนักงานและพบว่าพนักงานมีค่าดัชนีความผิดปกติแตกต่างกัน ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้จึงได้จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัย และลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อระดับความล้าจากงานซ้ำซากในสายงานประกอบผลิตภัณฑ์รีเลย์ของพนักงาน 4 กลุ่ม แยกตามระดับดัชนีความผิดปกติ กำหนดตัวแปรในการทดลอง ได้แก่ งานท่าทางการทำงาน ผลผลิต ระยะเวลาทำงานต่อรอบ อายุ อายุงานในตำแหน่ง อายุงานรวม ส่วนสูง น้ำหนัก ขนาดข้อมือ อาการป่วยที่มีอยู่เดิม จำนวนชั่วโมงนอนพักผ่อนและวิธีกำหนดความเร็วในการทำงาน คัดเลือกผู้ถูกทดสอบเป็นพนักงานเพศหญิงซึ่งทำงานในสายงานประกอบผลิตภัณฑ์รีเลย์ จัดแบ่งพนักงานออกเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่มีดัชนีความผิดปกติต่ำ ปานกลา งและสูงตามลำดับ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ เครื่องมือวัดค่าความล้าทางสายตา เครื่องมือวัดค่าระยะเวลาตอบสนอง เครื่องมือวัดค่าเฉลี่ยคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ จากผลการวิจัยพบว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ปัจจัยคือลักษณะงาน ขนาดสัดส่วนร่างกายอายุประสบการณ์ในการทำงาน และผลผลิต จากการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อความเข้าด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีของฟัซซีเซต พบว่าปัจจัยของลักษณะงานมีผลต่อความล้ามากที่สุด รองลงมาได้แก่ ปัจจัยของ ผลผลิต, ขนาดสัดส่วนร่างกาย และอายุ – ประสบการณ์ในการทำงานตามลำดับ ดังนั้นเพื่อลดความล้าลงไปอีก จึงควรที่จะได้ศึกษาต่อไปลึกลงไปในรายละเอียดของความแตกต่างในงาน | - |
dc.description.abstractalternative | Robot and automation are becoming an integral part of most manufacturing industries. However, due to differences of product characteristics, human labor is still required for several manufacturing such as relay manufacturing. Workers involved with short cycle time and repetitive work are often exposed to illness and fatigue. The questionnaire technique was applied to survey health problems of the workers at a relay manufacturing in Pathumthani, Thailand. The result indicated that more than 90% of the workers had problems on muscle pain. The interview technique was then conducted to find the Abnormal Index (A l) of their problems. Consequently, the research was set up to assess risk factors which cause fatigue in four groups of worker according to their Abnormal Index. For the research, variables of interest were job, work’s posture, output, cycle time, age, experience in last job, total experience, height, weight, wrist size, illness, sleep hours, and pace type. Female workers were selected and classified into four groups according to their Abnormal index: low Al, medium Al high Al and control group. Workers’ stress was measured by critical flicker fusion frequency, reaction time and electromyography. The variables which influence fatigue were grouped into four factors i.e. work characteristics, human anthropometry, age-experience, and output. By the fuzzy method, the assessment indicated that work characteristics yield the highest fatigue level, followed by output, human anthropometry, and age-experience respectively. To reduce further the fatigue, more study should be conducted on the difference of work characteristics in micro-motion study. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ความล้า | - |
dc.subject | รีเลย์ -- การผลิต | - |
dc.subject | Fatigue | - |
dc.subject | Electric relays | - |
dc.title | การประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อความล้า : กรณีศึกษาโรงงานผลิตรีเลย์ | - |
dc.title.alternative | Evauation of risk factors to fatigue : a case of relay manufacturing factory | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saluck_kl_front_p.pdf | 955.66 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saluck_kl_ch1_p.pdf | 754.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saluck_kl_ch2_p.pdf | 906.3 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saluck_kl_ch3_p.pdf | 950.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saluck_kl_ch4_p.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saluck_kl_ch5_p.pdf | 821.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saluck_kl_back_p.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.