Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68507
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Dusadee Charnvanich | - |
dc.contributor.advisor | Waraporn Suwakul | - |
dc.contributor.advisor | Anyaporn Tansirikongkol | - |
dc.contributor.author | Setinee Chanpirom | - |
dc.contributor.other | Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences | - |
dc.date.accessioned | 2020-10-09T09:11:55Z | - |
dc.date.available | 2020-10-09T09:11:55Z | - |
dc.date.issued | 2012 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68507 | - |
dc.description | Thesis (M.Sc. in Pharm.)--Chulalongkorn University, 2012 | - |
dc.description.abstract | Phyllanthus emblica (Ma-Kham Pom) fruit extract is a well known antioxidant and skin lightening agent. Various extraction methods could render extracts with different biological activities. Thus, the present study aimed to find the most active extract of P. emblica fruit and to propose the most suitable system for skin delivery. Biological activities and total phenolic content were used to select the most active extract prepared by various extraction methods. The chosen active extract was then incorporated into various nanosystems including conventional liposomes, elastic liposomes, niosomes, microemulsions (ME1, ME2, ME3) and nanoemulsions (NE1, NE2, NE3). Nanosystems were evaluated in terms of appearance, particle size and entrapment efficiency. Their stability, in vitro release and in vitro skin permeation were performed. Results showed that the ethanolic extract of dried P. emblica fruit exhibited high antioxidant activity (IC50 = 1.221 ± 0.005 μg/mL), tyrosinase inhibition activity (IC₅₀ = 0.519 ± 0.007 mg/mL) and total phenolic content (490.756 ± 0.185 mg GAE/g of the extract) with high yield. The extract-loaded nanosystems were physically and biologically stable at 4 ºC (for liposomes) or at room temperature (for niosomes, all microemulsions and nanoemulsions except NE2) for at least 8 weeks. Slow releases were observed in all nanosystems. From in vitro skin permeation study using newborn pig skin, all nanosystems could deliver the extract better than their controls. Nanoemulsions and microemulsions were more effective in skin delivery of the extract than the vesicular systems. Amongst the nanosystems, nanoemulsions was the most suitable system for dermal and transdermal delivery of the P. emblica fruit extract. Therefore, nanoemulsions (NE1), microemulsions (ME3) and elastic liposomes were chosen for further development of cosmetic products. | - |
dc.description.abstractalternative | สารสกัดจากผลมะขามป้อมเป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและทำให้ผิวกระจ่างใสที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย การสกัดด้วยวิธีที่แตกต่างกันจะให้สารสกัดที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพต่างกัน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อหาสารสกัดจากผลมะขามป้อมที่มีฤทธิ์ดีที่สุดและเสนอระบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับนำส่งทางผิวหนัง สารสกัดที่มีฤทธิ์ดีที่สุดจะถูกเลือกจากการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพและปริมาณฟีนอลลิกทั้งหมดของสารสกัดจากผลมะขามป้อมที่เตรียมด้วยวิธีการสกัดที่ต่างกัน สารสกัดออกฤทธิ์ที่เลือกจะถูกนำมาบรรจุ ในระบบนาโนชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ลิโพโซมชนิดธรรมดา อิลาสติกลิโพโซม นิโอโซม ไมโครอิมัลชัน (ME1, ME2, ME3) และนาโนอิมัลชัน (NE1, NE2, NE3) ระบบนาโนดังกล่าวจะถูกประเมินทางด้านลักษณะภายนอก ขนาดอนุภาค และประสิทธิภาพการกักเก็บ ศึกษาความคงตัวของระบบ การปลดปล่อยแบบนอกกายและการซึมผ่านผิวหนังแบบนอกกาย ผลการศึกษา พบว่า สารสกัดเอทานอลจากผลมะขามป้อมแห้งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (IC₅₀ = 1.221 ± 0.005 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร) ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส (IC₅₀ = 0.519 ±0.007 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ปริมาณฟีนอลลิกทั้งหมด (490.756 ± 0.185 มิลลิกรัมสมมูลย์กับกรดแกลลิคต่อกรัมของสารสกัด) สูง และมีปริมาณที่เตรียมได้สูง ระบบนาโนชนิดต่าง ๆ ที่บรรจุสารสกัดมีความคงตัวดีทั้งทางกายภาพและทางชีวภาพเมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส (สำหรับลิโพโซม) หรือ ที่อุณหภูมิห้อง (สำหรับนิโอโซม ไมโครอิมัลชัน และนาโนอิมัลชันทุกตำรับ ยกเว้น NE2) เป็นเวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์ ระบบนาโนทุกตำรับมีการปลดปล่อยสารสกัดออกมาอย่างช้า ๆ จากการศึกษาการซึมผ่านผิวหนังแบบนอกกายที่ใช้ผิวหนังของลูกหมูแรกเกิด พบว่า ระบบนาโนทั้งหมดสามารถนำส่งสารสกัดได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมระบบนาโนอิมัลชันและไมโครอิมัลชันมีประสิทธิภาพในการนำส่งสารสกัดทางผิวหนังได้ดีกว่าระบบเวสซิ- เคิล ในระบบนาโนชนิดต่าง ๆ นาโนอิมัลชันเป็นระบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับนำส่งสารสกัดผลมะขามป้อมเข้าสู่ผิวหนังและผ่านผิวหนัง ดังนั้น นาโนอิมัลชัน (NE1) ไมโครอิมัลชัน (ME3) และอิลาสติกลิโพโซม จึงเป็นระบบที่คัดเลือกเพื่อการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่อไป | - |
dc.language.iso | en | - |
dc.publisher | Chulalongkorn University | - |
dc.rights | Chulalongkorn University | - |
dc.subject | Antioxidant | - |
dc.subject | Liposome | - |
dc.subject | มะขามป้อม -- สารสกัด | - |
dc.subject | แอนติออกซิแดนท์ | - |
dc.title | In vitro comparative evaluation of various nanosystems containing Phyllanthus Emblca fruite extract | - |
dc.title.alternative | การประเมินเปรียบเทียบแบบนอกกายของระบบนาโนชนิดต่างๆที่บรรจุสารสกัดผลมะขามป้อม | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | Master of Science | - |
dc.degree.level | Master's Degree | - |
dc.degree.discipline | Pharmaceutical Technology | - |
dc.degree.grantor | Chulalongkorn University | - |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Setinee_Chanpirom_p.pdf | 2.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.