Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68510
Title: The correlation of methamphetamine concentrations in hair root, blood and urine in postmortem cases
Other Titles: ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของเมทแอมเฟตามีนในรากผม เลือด และปัสสาวะหลังการเสียชีวิต
Authors: Sirirat Phomhitatorn
Advisors: Somsong Lawanprasert
Theerin Sinchai
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharmaceutical Sciences
Subjects: Methamphetamine
Cancer Research
เมทแอมเฟตามีน
ยาเสพติด
Issue Date: 2013
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Methamphetamine (MA) is classified as the Schedule I Narcotic drugs according to Thai Narcotic Act B.E. 2522. Its widespread and addictive uses are currently a national threatening issue in many countries. Determination of MA in biological samples (mostly urine and blood) is used to assess illicit MA uses in forensic as well as in clinical purposes. In some circumstance, both samples are not available or contaminated; hair root is purposed as an alternative sample representing the recent MA uses before death. This study aimed to assess the correlation of MA concentrations in hair root and blood/urine samples in postmortem cases. Hair root, blood and urine samples were collected from 30 Thai deceased whose urine samples were MA positive in the screening test with MA strips test. After the washing process, hair root of 1 mg was detected by Gas chromatography/mass spectrometry triple quadrupole (GC/MS/MS). Blood and urine samples were extracted by liquid/liquid extraction and detected by GC/MS/MS. The results showed that MA concentrations in hair root vs blood, hair root vs urine, and urine vs blood were linearly correlated with the correlation coefficient (r) of 0.904 (p<0.001), 0.572 (p=0.001), and 0.690 (p<0.001), respectively. The corresponding linear regression equations were y = 1.997x - 162.620, y = 77.618x - 683.460, and y = 0.011x + 130.210, respectively. Verification of the regression equations was performed using MA concentrations in hair root of an additional 20 decease to calculate MA concentrations in blood and urine. It was shown that calculated and measured concentrations in both samples were not statistically different. Results from this study suggested hair root as an alternative specimen in case that blood or urine are not available.
Other Abstract: เมทแอมเฟตามีนจัดเป็นยาเสพติดประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ปัจจุบันการติดยาเสพติดชนิดเมทแอมเฟตามีนเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย เป็นปัญหาสำคัญของหลายประเทศ การตรวจเมทแอมเฟตามีนในตัวอย่างชีววัตถุ (ส่วนใหญ่ใช้ปัสสาวะ และเลือด) เป็นการประเมินผู้เสพเมทแอมเฟตามีนทั้งในด้านนิติเวชวิทยาและด้านคลินิก ในบางกรณีไม่สามารถเก็บตัวอย่างชีววัตถุทั้งสองชนิดได้หรือตัวอย่างทั้งสองชนิดมีการปนเปื้อน การใช้ตัวอย่างรากผมอาจเป็นทางเลือกที่ใช้ประเมินการเสพเมทแอมเฟตามีนก่อนเสียชีวิต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของเมทแอมเฟตามีนในรากผม และ เลือด หรือปัสสาวะของผู้เสียชีวิต ตัวอย่างรากผม เลือด และปัสสาวะเก็บจากผู้เสียชีวิต จำนวน 30 รายซึ่งมีปัสสาวะที่ได้ผลบวกเมทแอมเฟตามีนจากการตรวจด้วยชุดทดสอบเมทแอมเฟตามีนสำเร็จรูป นำรากผมมาผ่านกระบวนการล้างแล้วตัดรากผมปริมาณ 1 มิลลิกรัมมาตรวจวัดเมทแอมเฟตามีนด้วยเครื่องแกสโครมาโตกราฟี /แมสสเปกโตรเมทรี ทริปเปิลควอดรูโพล(GC/MS/MS) นำตัวอย่างเลือด และปัสสาวะ มาสกัดด้วยด้วยวิธีลิควิด/ลิควิด เอกซ์แทรกชันแล้วตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่อง GC/MS/MS ผลการศึกษาพบว่า ความเข้มข้นของเมทแอมเฟตามีนในรากผมและเลือด รากผมและปัสสาวะ และ ปัสสาวะและเลือด มีความสัมพันธ์กันในเชิง เส้นตรง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.904 (p<0.001), 0.572 (p=0.001) และ0.690 (p<0.001) ตามลำดับ สมการถดถอยเชิงเส้นของความสัมพันธ์ของความเข้มข้นของเมทแอมเฟตามีนในรากผมและเลือด รากผมและปัสสาวะ และ ปัสสาวะและเลือด คือ y = 1.997x -162.620, y = 77.618x - 683.460 และ y = 0.011x + 130.210 ตามลำดับ ทำการทดสอบสมการถดถอยโดยการใช้ค่าความเข้มข้นของเมทแอมเฟตามีนในรากผมของผู้เสียชีวิต 20 ราย แทนค่าในสมการถดถอยแล้วคำนวณค่าความเข้มข้นของเมทแอมเฟตามีนในเลือดและปัสสาวะผลการทดสอบพบว่าความเข้มข้นของเมทแอมเฟตามีนที่วัดได้จริงและความเข้มข้นของเมทแอมเฟตามีนที่คำนวณจากสมการมีค่าไม่แตกต่างกัน ผลจากการศึกษานี้สนับสนุนการใช้รากผมเป็นตัวอย่างชีววัตถุทางเลือกในการตรวจวิเคราะห์ความเข้มข้นของเมทแอมเฟตามีนในกรณีที่ไม่มีตัวอย่างเลือดหรือปัสสาวะ
Description: Thesis (M.Sc. in Pharm.)--Chulalongkorn University, 2013
Degree Name: Master of Science in Pharmacy
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Pharmacology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68510
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1894
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1894
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirirat_Phomhitatorn_p.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.