Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68521
Title: อิทธิพลของตัวแปรในการเชื่อมทิกพัลส์และส่วนผสมของแก๊สปกคลุมต่อลักษณะการเกิดรอยเชื่อมและโครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าไร้สนิมออสเตนนิกติก เกรด 31 6L ในตำแหน่งการเชื่อม 6 นาฬิกา 8 นาฬิกา 9 นาฬิกา 10 นาฬิกา และ 12 นาฬิกา
Other Titles: Effect of tig pulse parameters and shielding gas compositions on weld bead formations and microstructure of the 316L austenitic stainless steel at the 6 hour 8 hour 9 hour 10 hour and 12 hour positions
Authors: เอกรัตน์ ไวยนิตย์
Advisors: กอบบุญ หล่อทองคำ
พันธ์แสง ชูมัง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โลหะ -- การเชื่อม
เหล็กกล้าไร้สนิมออสเตนนิติก
Gas tungsten arc welding
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือศึกษาหาอิทธิพลของตัวแปรการเชื่อมทิกพัลส์สำหรับเหล็กกล้าไร้ออสเตนนิติก เกรด 316L ชนิดแผ่นหนา 3 มม. โดยอ้างถึงลักษณะรอยเชื่อมตามมาตรฐาน DIN 8563 ระดับ BS ที่ตำแหน่งเชื่อม 6,8,9,10 และ 12 นาฬิกา ตัวแปรการเชื่อมทิกพัลส์ที่ศึกษา คือความเร็วเชื่อม กระแสไฟฟ้าเบส ความถี่พัลส์และ % On time ใช้แก๊สปกปกคลุมอาร์กอนผสมแก๊สไนโตรเจน 0-4 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตรอัตราการไหลของแก๊สปกคลุมด้านบนและด้านล่างรอยเชื่อม 8 ลิตร/นาที การทดลองเบื้องต้นเพื่อหาค่ากระแสไฟฟ้าเบส ความถี่พัลส์ และค่า% On time ที่ตำแหน่ง 6 นาฬิกาความเร็วเชื่อม 4 มม./วินาที ใช้แก๊สปกคุมอาร์กอนบริสุทธิ์ พบว่าแต่ที่เหมาะสมคือ กระแสไฟฟ้าเบส 61 แอมแปร์ความถี่พัลส์ 5 เฮิร์ตซ และ 65 % On time ตัวแปรเหล่านี้จะใช้เป็นตัวแปรคงที่สำหรับ การทดลองเชื่อมทุกตำแหน่งที่เชื่อมต่อไป การทดลองขั้นตอนต่อไปคือ การเชื่อมที่ตำแหน่ง 6,8,9,10 และ 12 นาฬิกา โดยใช้ กระแสไฟฟ้าเบส 61 แอมแปร์ ความถี่พัลส์ 5 เฮิร์ต และ 65% On time ศึกษาผลของความเร็วเชื่อมระหว่าง 2-8 มม./วินาที ผลของส่วนผสมแก๊สไนโตรเจนในแก๊สอาร์กอน 0-4 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร ต่อค่ากระแสไฟฟ้าพัลส์ที่ได้รอยเชื่อมตามมาตรฐาน DIN 8563 ระดับ BS แตะรอยซึมลึกตลอดความหนาของแผ่นเหล็ก ผลการทดลองพบว่า ค่ากระแสไฟฟ้าพลส์ที่ตำแหน่งเชื่อม 9 นาฬิกามีค่าต่ำสุด การเพิ่มปริมาณแก๊สไนโตรเจนในแก๊สอาร์กอน จะช่วยลดค่ากระแสไฟฟ้าพัลส์ที่ตำแหน่งเชื่อม 6 และ 12 นาฬิกาใช้ความเร็วได้สูงสุด 6 มม./นาที และที่ความเร็วเชื่อม 7 มม. / วินาทีเกิดข้อบกพร่องแบบ Slag inclusion ที่ตำแหน่ง 8,9 และ 10 นาฬิกาใช้ความเร็วได้สูงสุด 5 มม./วินาที และที่ความเร็วเชื่อม 6 มม./วินาที เกิดข้อบกพร่องแบบ Incompletely filled groove อัตราส่วนรอยซึมลึกต่อความกว้างรอยเชื่อมอยู่ระหว่าง 0.34-0.40 การเพิ่มความเร็วเชื่อม ทำให้รอยเชื่อมกว้างน้อยลงและอัตราส่วนรอยซึมลึกต่อความกว้างรอยเชื่อมมากขึ้น โครงสร้างจุลภาคของเนื้อเชื่อมประกอบด้วยเดลต้าเฟอร์ไรท์และออสเตนไนท์ปริมาณเดลต้าเฟอร์ไรท์อยู่ระหว่าง 6-10 เปอร์เซ็นต์ โดยปริมาตร โดยมีระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ 95% ปริมาณเดลต้าเฟอร์ไรท์ที่แนวตัดตั้งฉากและแนวขนานรอยเชื่อมต่างกันไม่เกิน 5% ที่ตำแหน่งเชื่อม 9 นาฬิกา ปริมาณเดลต้าเฟอร์ไรท์ในเนื้อเชื่อมมีค่าต่ำสุด เพราะมีปริมาณไนโตรเจน ในเนื้อเชื่อมมากสุด ตรวจสอบรอยเชื่อมที่ได้ด้วยวิธีการฉายรังสีพบว่าไม่มีโพรงอากาศ
Other Abstract: The objective of this work is to investigate the influence of parameters in TIG pulse welding of the AISI 316L stainless steel plate with 3-mm thickness. The weld bead profile corresponded to the DIN 8563 class BS. The welding positions were 6, 8, 9 10 and 12 h. The studied parameters were welding speed, pulse current, base current, pulse frequency, % On time, and shielding gas Ar+N2 (0-4 vol.%) with flow of 8 liter/min both for shielding and backing gases. From the preliminary experiments, the suitable base current, pulse frequency, and %On time at the welding position of 6 h with a welding speed of 4 mm/s and argon gas shielding were 61 A, 5 Hz, and 65% On time respectively. These parameters were kept at these levels for all experiments. At base currents of 61 A, pulse frequency of 5 Hz, and 65 %On time, the effects of welding speed and shielding gas composition on pulse currents were studied at the 6, 8, 9, 10 and 12 h welding positions. For complete penetration with weld bead profile corresponded to the DIN 8563 class BS, it was found that pulse current decreased form the welding position of 6 to 9 h and increased from the welding position of 9 to 12 h. Nitrogen in argon shielding gas decreases the pulse current because nitrogen has lower ionization energy than argon. At the welding position of 6 and 12 h, the maximum welding speed was 6 mm/s. Slag inclusion was found at welding. speed of 7 mm/s. At the welding position of 8, 9 and 10 h, the maximum welding speed was 5 mm/s. Incompletely filled groove was found at the welding speed of 6 mm/s. The depth/width ratio of welds were 0.34-0.40. Increasing welding speed decreased the weld width but increased the depth/width ratio. The weld microstructure compose of 6-10 vol.% §-ferrite with a confidence interval of 95%. The §-ferrite contents in the cross sectional and parallel sectional surface of welds are different less than 5%. At the welding position of 9 h, the §-ferrite contents in weld metal were less than that at the other positions, because of higher nitrogen contents in the weld metal. By X-ray test no pore was found in all accepted welds.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโลหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68521
ISBN: 9743314539
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekkarut_vi_front_p.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Ekkarut_vi_ch1_p.pdf717.52 kBAdobe PDFView/Open
Ekkarut_vi_ch2_p.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Ekkarut_vi_ch3_p.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Ekkarut_vi_ch4_p.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open
Ekkarut_vi_ch5_p.pdf664.36 kBAdobe PDFView/Open
Ekkarut_vi_back_p.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.