Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68529
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นันทวัฒน์ บรมานันท์ | - |
dc.contributor.author | อิทธิพล ทัศนา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-10-12T03:26:27Z | - |
dc.date.available | 2020-10-12T03:26:27Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743349987 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68529 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | - |
dc.description.abstract | อำนาจในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นอำนาจในการออกกฎเพื่อใช้บังคับภายในเขตท้องถิ่นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับมอบอำนาจนี้มาจากรัฐเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดทำบริการสาธารณะ เป็นการแบ่งเบาภาระขององค์กรปกครองส่วนกลางเพื่อสนองตอบประโยชน์ส่วนรวมเฉพาะของท้องถิ่นหนึ่ง ๆ ทั้งนี้เหตุผลเนื่องจากรัฐมีภาระหนักในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อสนองตอบ ประโยชน์ส่วนรวมของคนทั้งประเทศ ประกอบกับมีกิจการบางอย่างเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องเฉพาะในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ เท่านั้นซึ่งเป็นกรณีสมควรที่ท้องถิ่นควรจะทำเองได้เพราะคนในท้องถิ่นย่อมรู้ถึงความต้องการของท้องถิ่นที่แท้จริงดีกว่าคนอื่น ๆ อีกทั้งกิจการที่จะดำเนินการนั้นอยู่ในวิสัยที่องค์กรส่วนท้องถิ่นจะกระทำเองได้ไม่ลำบากแต่อย่างไรโดยรัฐให้ความเป็นอิสระในการกระทำดังกล่าวตามสมควร วิธีการมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกกฎดังกล่าวกระทำโดยกฎหมายโดยสามารถจำแนก ออกได้เป็น 2 ประเภทคือ อำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นอันเป็นเรื่องการปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่กับปฏิบัติการทั่ว ๆ ไปที่กฎหมายกำหนดให้ ต้องทำเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น และอำนาจในการออกกฎหมายท้องถิ่นในกรณีกฎหมายเฉพาะเรื่องให้อำนาจออกเป็นกรณี ๆ ไป ข้อบัญญัติท้องถิ่นจงมีฐานะเป็นกฎหมายลำดับรองประเภทหนึ่งและถือว่าเป็นการกระทำ ทางปกครองประการหนึ่งที่จะต้องตกอยู่ภายใต้หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองซึ่งจะ ต้องถูกควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำโดยองค์กรที่เกี่ยวข้องคือ องค์กรผู้ใช้อำนาจในการกำกับ ดูแล องค์กรตุลาการ และองค์กรพิเศษที่คัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ จากการศึกษาพบว่า การใช้อำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นมีปัญหา 3 ประการคือ ปัญหาแรกเรื่องการ ใช้อำนาจของผู้มีอำนาจกำกับดูแลแทรกแซงเข้าไปในอำนาจอิสระในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ปัญหาที่สอง เรื่องบทบัญญัติของกฎหมายเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนกลางมอบหมายภาระหน้าที่ให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพิ่มเติมทำให้ชอบอำนาจในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นจึงมีความไม่แน่นอน และปัญหาสุดท้าย คือปัญหาการประกาศใช้บังคับข้อบัญญัติท้องถิ่นซึ่งไม่เป็นที่ทราบกันแพร่หลายทั่วไป ต่อปัญหาดังกล่าวผู้เขียนมีข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาดังนี้ ปัญหาแรกโดยการจำกัดบทบาทในการใช้อำนาจกำกับดูแลจากการให้ความเห็นชอบข้อบัญญัติท้องถิ่นเป็นเพียงการให้รับทราบการออกข้อบัญญัติและหากเห็นว่าข้อบัญญัติท้องถิ่นดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ให้มีอำนาจฟ้องต่อศาลปกครองให้มีคำสั่งเพิกถอนได้ ทั้งนี้อาจเริ่มจากการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นในบางประเภทก่อน ปัญหาที่สองควรจำกัดบทบาทขององค์กรปกครองส่วนกลางในการมอบหมายภาระหน้าที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาสุดท้าย ควรมีกฎหมายกลางสำหรับกำหนดวิธีการขั้นตอนในการประกาศใช้ข้อบัญญัติท้องถิ่นและมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรรวบรวมบทบัญญัติทั้งหลายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทที่กระจายอยู่ตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหลายแต่มีลักษณะร่วมกันอยู่พิจารณาคัดทำเป็นประมวลกฎหมาย ท้องถิ่นต่อไป | - |
dc.description.abstractalternative | The power to make local administration rules is the power of rulemaking for enforcement in local areas, and is the power delegated by the state for public services, to respond to the collective needs of the local people and to lighten the burden of the state, which has a heavy burden in making public services to respond to the collective needs of the people all over the country. The method of delegation local administrations to make such rules is done by laws, which can be classified into 2 categories, firstly: the power to make by virtue of local administration establishment laws, which concerns the operation in accordance with power and duties and general operations required by the laws to be made rules, and the power to issue rules in the case of specific laws empower so from case. Local rules, therefore, have the status of a subordinate law, and are regarded as an administrative act which is obliged to the principle of legitimacy of an administrative act the legitimacy of which must be controlled by the relevant organizations, i.e. power of supervision exercise organizations, judiciary organization and special organizations established under the constitution. The power of providing local administrative regulation is the enforcement power within local areas. This local administrative organization เก addition a state. The interfering of the power to provide local regulation, The problem from the legal structure that caused an uncertainly to provide local regulation and the local regulation is not as wildly known as it should. To the said problem, the writer has a recommendation for these solutions as follows: to the first problem, by limiting the role of exercising the power of supervision of the person who has the power to supervise from approving local rules to merely acknowledging the issuance thereof. However if sees that such local rules are not lawful, he shall have the power to enter an action before the Administrative Court for an order of revocation. To the second problem, the role of the central administration in assigning tasks to local administrations should be limited. To the Last problem, there should be a central law for prescribing the procedure of the promulgation of local rules, i.e. the provisions of each category of local administrations scattering in the local administrations establishment laws but having common characters should be collected to consider making a Local Code. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | - |
dc.subject | การปกครองท้องถิ่น | - |
dc.subject | การปกครองท้องถิ่น -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | - |
dc.subject | กฎหมายท้องถิ่น | - |
dc.title | อำนาจออกข้อบัญญัติท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | - |
dc.title.alternative | Regulatory power of local administration | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ittipol_ta_front_p.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ittipol_ta_ch1_p.pdf | 912.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Ittipol_ta_ch2_p.pdf | 2.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ittipol_ta_ch3_p.pdf | 4.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ittipol_ta_ch4_p.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ittipol_ta_ch5_p.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ittipol_ta_ch6_p.pdf | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Ittipol_ta_back_p.pdf | 893.08 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.