Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6854
Title: การศึกษาการกระจายตัวของฟองก๊าซภายในถังสัมผัสแบบอากาศยก
Authors: ประเสริฐ ภวสันต์
Email: prasert.p@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: ท่อ
ถังสัมผัสแบบอากาศยก
การถ่ายเทมวล
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงการกระจายขนาดของฟองอากาศในถังสัมผัสแบบอากาศยกที่มีการให้อากาศในช่องว่างระหว่างท่อด้านในและท่อด้านนอกของถังสัมผัสฯ โดยพบว่าเมื่อเพิ่มความเร็วก๊าซในระบบจะทำให้ขนาดของฟองอากาศเล็กลง และทำให้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของการกระจายตัวของขนาดฟองอากาศจากการกระจายตัวปกติเป็นการกระจายตัวแบบ Log-normal ขนาดของฟองอากาศจะเล็กลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้นของถังสัมผัสฯและที่ความเร็วของก๊าซสูงๆ เมื่อเพิ่มอัตราส่วนระหว่างพื้นที่ผิวของส่วน downcomer และ riser จำทำให้ฟองอากาศมีขนาดเล็กลง ตัวกระจายก๊าซที่มีจำนวนรูมากจะทำให้ฟองอากาศมีขนาดเฉลี่ยใหญ่ขึ้น ในขณะที่ตัวกระจายก๊าซที่มีจำนวนรูน้อยๆจะทำให้มีการกระจายตัวของขนาดฟองอากาศค่อนข้างกว้าง และงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของฟองอากาศสามารถนำไปใช้วิเคราะห์พฤติกรรมการถ่ายเทมวลระหว่างเฟสก๊าซและของเหลวได้ โดยสามารถแยกวิเคราะห์ระหว่างผลของค่าพื้นผิวสัมผัสจำเพาะระหว่างก๊าซและของเหลวและค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทมวลสารได้ และผลการทดลองพบว่า ค่าพื้นผิวสัมผัสจำเพาะระหว่างก๊าซและของเหลวจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดค่าอัตราการถ่ายเทมวลสารระหว่างเฟสมากกว่าค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทมวล
Other Abstract: This work investigated distribution of bubble size in annulus sparged airlift contactors (ALCs). Increasing gas velocity in the airlift contactor considerably reduced the size of bubble and shifted the distribution of bubble size from the normal to long normal types. Bubble size was found to decrease along the axial distance in the riser of the ALC. Moreover, an increase in the ratio between cross-sectional areas of downcomer and riser was found to result in the decreasing bubble size at high superficial gas velocity. Spargers with a large number of orifices led to a larger bubble size in the system. In contrast, it was found that a comparatively broad bubble size distribution was caused by employing a gas sparger with less number of orifices. This work also examined the gas-liquid mass transfer characteristics of the ALC in from of mass transfer coefficient and specific interfacial area which were individually evaluated. It was found that the specific interfacial area, rather than the mass transfer coefficient, played a more significant role in controlling the overall rate of mass transfer in the system.
Description: โครงการวิจัย ; เลขที่ 172-เคมี-2544
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6854
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasert_airlift.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.