Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68556
Title: ความรู้ทางการเมืองและการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง กับความสำนึกเชิงสังคมของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบล จ.กาญจนบุรี
Other Titles: Political knowledge, political information and civic consciousness in Tamon Administration Organization : a case of Kanchanaburi province
Authors: สยามรัฐ เรืองนาม
Advisors: พรคักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การมีส่วนร่วมทางการเมือง
การรับรู้ทางการเมือง
ผู้นำชุมชน
อำนาจทางการเมือง
องค์การบริหารส่วนตำบล -- ไทย -- กาญจนบุรี
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเกี่ยวกับความเทางการเมืองและการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง กับ ความสำนึกเชิงสังคม ของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบล จ.กาญจนบุรีนี้ มีประเด็นศึกษาที่สำคัญๆ 4 ประเด็น คือ 1.ศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง, ความสนใจข่าวสารทางการเมือง, ความรู้ทางการเมืองระหว่างกลุ่มรองผู้นำชุมชนและกลุ่มของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 2. ศึกษาการกระจายตัวของข่าวสารทางการเมืองจากผู้นำชุมชนไปสู่ประชาชนใน อบต. 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางการเมือง กับ การเข้าถึงอำนาจทางการเมือง 4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางการเมือง กับ ความสำนึกเชิงสังคม วิธีการศึกษาใช้วิธีวิจัยแบบสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล มีตัวอย่างทั้งสินจำนวน 237 ตัวอย่าง จากกลุ่มผู้นำชุมชนและกลุ่มประชาชน ที่อาศัยอยู่ใน อบต.ท่ามะขาม อบต.วงขนาย และ อบต.ท่าไม้ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นที่ 1,2 ใช้วิธีการเปรียบเทียบค่าร้อยละและ ทดสอบค่าที ส่วนประเด็นที่ 3,4 ใช้วิธีทดสอบไค-สแควร์, the scatter plot และหาค่าความสัมพันธ์โดยวิธีของ Pearson’s Product Moment Correlation. ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มของผู้นำชุมชน เป็นกลุ่มที่มีการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง, มีความสนใจข่าวสารทางการเมืองและมีความรู้ทางการเมือง มากกว่ากลุ่มของประชาชนใน อบต. ประกอบกับกลุ่มของผู้นำชุมชนยังไม่ได้ทำหน้าที่ในการกระจายข่าวสารทางการเมืองไปสู่กลุ่มของประชาชนมากนัก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีความแตกต่างของความรู้ทางการเมืองระหว่างคนทั้งสองกลุ่ม นอกจากนี้ผลการศึกษา ยังพบอีกว่าความรู้ทางการเมืองมีความสัมพันธ์ด้านบวก กับ การเข้าถึงอำนาจทางการเมืองและความสำนึกเชิงสังคม ดังนั้นตัวแปรหลักเหล่านี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ส่วนกลางจะต้องส่งเสิรมให้ความรู้ทางการเมือง รวมทั้งการกระจายข่าวสารทางการเมืองสู่ประชาชนใน อบต. อย่างทั่วถึง โดยการกำหนดเป็นแผนงานและวิธีการที่เป็นรูปธรรมที่สุดควบคู่ไปกับการกระจายอำนาจ เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้มีความรู้ความเข้าใจในทางการเมืองมากขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มการเข้าถึงประโยชน์สาธารณะได้อย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งผลพลอยได้ในเรื่องของความสำนึกเชิงสังคมของคนใน อบต. ที่จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การพัฒนาท้องถิ่นของไทยเป็นใปอย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: The objectives of this survey research are: 1) to compare political information, political interest, and political knowledge between elite and common citizen at Tambon Administration Organization (TAO), 2) to study the distribution of political information, 3) to study the relation between political knowledge and accessibility of political power 4) to study relation between political knowledge and civic consciousness. Data collection was done during 1-24 June, 1999. The questionnaire was used to collect data of 237 samples from 3 TAO of Thamai, Wangkanai and Thamakam in Kanchanaburi Province. Descriptive statistics are used for general data analysis. Chi-square, Scatter plot, Pearson’s Product Moment Correlation are used to determine relationship between variables. Results of the study showed that elite group was more received political information and more interested in politics than citizen group. The elite group did not function as political information distributor for citizens in TAO. This event resulted in lower level of political knowledge of citizen group. It was also found that political knowledge had a relation with political accessibility and with civic consciousness. Therefore, these variables are important factors for local’s development. The central government should encourage political information distribution for citizen group in TAO. and set the operation of tangible plan in TAO. Decentralization should be promoted to increase for the most citizen’s understanding in democratic system, accessibility of public interest and civic consciousness for more efficient local development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68556
ISBN: 9743330534
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sayamrut_ru_front_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Sayamrut_ru_ch1_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Sayamrut_ru_ch2_p.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Sayamrut_ru_ch3_p.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open
Sayamrut_ru_ch4_p.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Sayamrut_ru_ch5_p.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open
Sayamrut_ru_ch6_p.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Sayamrut_ru_back_p.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.