Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68557
Title: รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง : ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
Other Titles: Constitution and political institutions : a study of The Constitution of Kingdom of Thailand B.E.2489 and The Constitution of Kingdom of Thailand B.E.2490
Authors: ศุภกาญจน์ ตันตราภรณ์
Advisors: บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: borwornsak.u@chula.ac.th
Subjects: รัฐธรรมนูญ -- ไทย
สถาบันการเมือง -- ไทย
ทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2489-2490
Constitutions -- Thailand
Political institutions -- Thailand
Issue Date: 2542
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โครงสร้าง กลไกและการบังคับใช้รัฐธรรมนูญในความเป็นจริงโดยศึกษาจากเหตุการณ์ทางการเมืองเมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 ผลการศึกษาพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 นั้นได้เกิดขึ้นภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งจัดทำในระยะเวลาที่จอมพล ป.พิบูลสงครามผู้นำฝ่ายทหารได้หมดอำนาจทางการเมืองและพลเรือนเข้ามามีบทบาทแทนบทบัญญัติและกลไกมีความเป็นประชาธิปไตย เช่น มีระบบรัฐสภา 2 สภา มีเสรีภาพในการรวมตัวเป็นพรรคการเมือง มีองค์กรตุลาการรัฐธรรมนูญ การแบ่งแยกข้าราชการประจำออกจากข้าราชการการเมือง แต่เจตนารมณ์เบื้องหลังการจัดทำเป็นการกำจัดบทบาทอำนาจของทหารมิให้กลับมามีอำนาจอีกโดยการกำหนดให้ห้ามข้าราชการประจำเป็นข้าราชการการเมืองซึ่งเป็นเหตุให้ทหารไม่พอใจและเข้าทำการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ.2490 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ได้จัดทำขึ้นโดยคณะรัฐประหารที่เป็นนายทหารนอกประจำการเนื่องจากความไม่พอใจที่ทหารถูกดูหมิ่นจากพลพรรคเสรีไทยเป็นการรัฐประหารครั้งแรกที่มีการล้มล้างรัฐธรรมนูญนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมีเนื้อหาถวายอำนาจให้พระมหากษัตริย์อย่างมาก สืบเนื่องจากกรณีพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 สวรรคตโดยไม่ทราบสาเหตุ และคณะรัฐประหารต้องการความชอบธรรมจึงนำสถาบันกษัตริย์มาอ้างอิงในการทำรัฐประหาร ดังนั้นรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงเป็นรัฐธรรมนูญที่สถาปนาระบบรัฐสภาอำนาจคู่ ซึ่งรัฐบาลต้องรับผิดชอบทั้งต่อพระมหากษัตริย์และรัฐสภาซึ่งนับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวของประเทศไทยที่สถาปนาระบบรัฐสภาแบบนี้ ภายหลังการรัฐประหารคณะรัฐประหารมิได้เข้าจัดตั้งรัฐบาลด้วยตนเองเนื่องจากปัญหาการยอมรับจากต่างประเทศและข้อครหาการทำรัฐประหารเพื่อต้องการอำนาจในการปกครองประเทศจึงได้มอบหมายให้ฝ่ายพลเรือนเข้ามาบริหารประเทศและต่อมารัฐบาลได้เสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับถาวรโดยฝ่ายรัฐบาลหวาดกลัวว่าถ้าเนิ่นช้าคณะรัฐประหารจะเป็นฝ่ายจัดทำรัฐธรรมนูญซึ่งจะไม่มีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยซึ่งในที่สุดมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2492 ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุด ผลการศึกษาทำให้ทราบว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญในยุคสมัยต่างๆ เกิดจากการที่ผู้มีอำนาจในสมัยนั้นได้จัดทำรัฐธรรมนูญให้เหมาะสมกับอำนาจและผลประโยชน์ของตนเองรวมทั้งเป็นการจำกัดบทบาทของนักการเมืองฝ่ายตรงข้าม โดยมีเนื้อหาให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ตน
Other Abstract: This master thesis aims to analysis provisions, structure, mechanism, and enforcement of Constitutions of Thailand through the political situation since the end of World War II until the promulgation of the 1947 Constitution. The result of study shows that the 1946 Constitution was drafted and promulgated after the second World War when the military leader, Field Marshall P. Pibulsongkram, lost his political power to civic front. The structure and provisions of such Constitution, for example, the bicameral system, the freedom to form political party, the Constitutional Tribunal indicate the promise for democracy. The provisions also prohibit the civil servant to hold political position which aims at preventing the military to regain their power. This subsequently led to the Coup etat in 1947. It is believed that apart from the disagreement of military from some people in "Free Thai Movement", the dead of King Rama VIII was used by the Coup makers to legitimise the Coup etat. Unprecedentedly, the coup maker repealed the 1946 Constitution and drafted the new one which consequently promulgated as 1947Constitution. The 1947 Constitution established bicameral system to which government is responsible both the King and the Parliament. This is the only case in the political history of Thailand. After the Coup etat, the Coup makers designated the civic front to be government mainly due to the fact that the Coup makers were awared of not being recognised by foreign governments and feared of rumour from the public. The government later on proposed to amend the 1947 Constitution in order to prevent the Coup makers from influencing the new Constitution which is believed to be less democracy. Eventually, the 1949 Constitution came into force and renowed as the most democratic Constitution. The thesis concludes that the formulation of Constitutions in the past was used by the drafters as a mean to secure the power and interest of their own group and at the same time to entail conditions for limiting the political role of the oppositions. Efforts to link up the provisions of constitution with political situation can be seen as one way to ligitimise themselves.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68557
ISBN: 9743347348
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suppakarn_ta_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ904.1 kBAdobe PDFView/Open
Suppakarn_ta_ch1_p.pdfบทที่ 1804.06 kBAdobe PDFView/Open
Suppakarn_ta_ch2_p.pdfบทที่ 22.01 MBAdobe PDFView/Open
Suppakarn_ta_ch3_p.pdfบทที่ 31.71 MBAdobe PDFView/Open
Suppakarn_ta_ch4_p.pdfบทที่ 42.12 MBAdobe PDFView/Open
Suppakarn_ta_ch5_p.pdfบทที่ 52.2 MBAdobe PDFView/Open
Suppakarn_ta_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.