Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68574
Title: การพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบกระจายสำหรับระบบงานมิเตอร์และระบบงานหม้อแปลงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
Other Titles: Development of distributed database for meter system and transformer system of the Provincial Electricity Authority
Authors: ยุทธศิลป์ เอมเปรมศิลป์
Advisors: จารุมาตร ปิ่นทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: ฐานข้อมูลแบบกระจาย
การจัดการฐานข้อมูล
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. กองมิเตอร์ -- ฐานข้อมูล
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. กองหม้อแปลง -- ฐานข้อมูล
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย คือ ฐานข้อมูลที่ถูกเก็บไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง โดย ที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องติดตั้งอยู่ตามที่ต่าง ๆ และมีการติดต่อสื่อสารกันเป็นเครือข่ายผู้ใช้สามารถ ใช้ฐานข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละแห่งได้ โดยไม่จำเป็นต้องรู้ว่าข้อมูล ที่ใช้ขณะนั้น อยู่ที่ฐานข้อมูล ในเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด การเข้าใช้ข้อมูลของผู้ใช้หรืองานประยุกต์ ต่าง ๆ จะต้องผ่านทางระบบจัด การฐานข้อมูลแบบกระจาย เนื่องการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้ง 12 เขตไม่มีการใช้ข้อมูลรวมกัน แต่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่สำนัก งานกลางจำเป็นต้องดูประวัติมิเตอร์ และหม้อแปลง เพื่อใช้ในการจัดซื้อ เพื่อส่งให้การไฟฟ้าต่าง ๆ นำไปใช้ งาน ดังนั้น ในที่นี้จึงได้ใช้การผสมระหว่าง เทคนิคการมองผ่านของสถานที่ตั้ง และเทคนิคการมองผ่านของ การเก็บซ้ำ ในการออกแบบระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย โดยได้แบ่งตารางข้อมูลออกเป็น 2 กลุ่มด้วย กัน คือ ตารางข้อมูลหลัก และ ตารางข้อมูลแทรนแซคเชิน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้ง 12 เขต ใช้เทคนิคการมองผ่านของสถานที่ตั้ง โดยจะเก็บข้อมูลตารางข้อมูลหลัก และตารางข้อมูลแทรนแซคเชิน ของแต่ละเขต และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่สำนักงานกลางใช้เทคนิคการมองผ่านของการเก็บซ้ำ โดยจะเก็บข้อมูล ตารางข้อมูลหลักของทั้ง 12 เขต เป็นการสำรองข้อมูลที่สำคัญไว้ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสำนักงานกลาง เพื่อป้องกันความเสียหายของข้อมูลที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทั้ง 12 เขต
Other Abstract: In a distributed database system, the databases are stored on several computers in several locations. These computers communicate with each other through various communication media in network. The users can access data of any computer. It is unnecessary to know which computer the data is stored on. The data accessing of users or applications must be done via distributed database management system All 12 areas do not have data link with one another but head office needs meter data and transformer data for providing meters and transformers for the offices of these areas, so the combination of location transparency technique and replication transparency technique is used for this research. There are two groups of table, namely master table group and transaction table group. Location transparency technique is used for each area to store master tables and transaction table. Replication transparency technique is used for head office to store master table of 12 areas in order to retrieve data and back up data of these areas
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68574
ISSN: 9743343652
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Youthtasilp_ai_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ962.41 kBAdobe PDFView/Open
Youthtasilp_ai_ch1_p.pdfบทที่ 1904.54 kBAdobe PDFView/Open
Youthtasilp_ai_ch2_p.pdfบทที่ 2883.93 kBAdobe PDFView/Open
Youthtasilp_ai_ch3_p.pdfบทที่ 3962.69 kBAdobe PDFView/Open
Youthtasilp_ai_ch4_p.pdfบทที่ 42.1 MBAdobe PDFView/Open
Youthtasilp_ai_ch5_p.pdfบทที่ 51.13 MBAdobe PDFView/Open
Youthtasilp_ai_ch6_p.pdfบทที่ 6665.83 kBAdobe PDFView/Open
Youthtasilp_ai_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.