Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68611
Title: ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลแบบแผนการเลี้ยงดูและการรับรู้ภาวะสุขภาพจากการใช้สารเสพย์ติด กับพฤติกรรมปฎิเสธการใช้สารเสพย์ติดของนักเรียนประถมศึกษาในเขตเมือง จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Relationships between demographic factors, child rearing patterns and health perception of substance abuse with substance refusal behavior of elementary school students urban area, Chonburi province
Authors: นุจรีย์ ซื่อภักดี
Advisors: วีณา จีระแพทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การติดยาเสพติด
นักเรียนประถมศึกษา
พัฒนาการของเด็ก
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมปฏิเสธการใช้สารเสพย์ติดในนักเรียนประถมศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคล แบบแผนการเลี้ยงดู การรับรู้ภาวะสุขภาพจากการใช้สารเสพย์ติด กับพฤติกรรมปฏิเสธการใช้สารเสพย์ติด และหาตัวแปรพยากรณ์ที่ร่วมพยากรณ์ พฤติกรรมปฏิเสธการใช้สารเสพย์ติดของนักเรียนประถมศึกษา ตัวอย่างประชากรเป็นเด็กวัยเรียนกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้สารเสพย์ติด และเป็นเด็กที่กำลัง ศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เขตเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน192 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลาย ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นเครื่องมือ 3 ชุด คือ แบบสอบถามการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพจากการใช้สารเสพย์ติด แบบสอบถามพฤติกรรมปฏิเสธการใช้สารเสพย์ติด ซึ่งผ่านการหาค่าความเที่ยง ความตรง และอำนาจการจำแนก พบว่ามีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.62, 0.71, 0.75 ตามลำดับ และพบว่าเครื่องมือทั้ง 3 ชุด มีค่าอำนาจการจำแนกเด็กที่มีพฤติกรรมปฏิเสธ และไม่ปฏิเสธการใช้สารเสพย์ติดได้ทุกข้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1 ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมปฏิเสธการใช้สารเสพย์ติด ของนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในระดับที่เหมาะสม (x̅ =77.20, S.D. = 6.00) 2. ค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาวะสุขภาพจากการใช้สารเสพย์ติด ของนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในระดับดี (x̅ = 46.99, S.D. = 6.98) 3. ปัจจัยส่วนบุคคล ด้าน เพศ อายุ และ การรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมปฏิเสธการใช้สารเสพย์ติดของนักเรียนประถมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (C = 0.173, C = 0.140 และ r= 0.404) ตามลำดับ 4. ตัวแปรที่ร่วมพยากรณ์พฤติกรรมปฏิเสธการใช้สารเสพย์ติดของนักเรียนประถมศึกษาคือ การรับรู้ภาวะสุขภาพจากการใช้สารเสพย์ติด เพศชาย และอายุ ซึ่งร่วมพยากรณ์พฤติกรรมปฏิเสธการใช้สารเสพย์ติดได้ร้อยละ 28.3 (R2 = .283) สมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน 5. พฤติกรรมปฏิเสธการใช้สารเสพย์ติดของนักเรียนประถมศึกษา = .407 (การรับรู้ภาวะสุขภาพจากการใช้สารเสพย์ติด) -.263 (เพศชาย) - .236(อายุ)
Other Abstract: The purposes this descriptive research were to study substance refusal behavior in elementary school students and to investigate demographic factors, child rearing patterns and health perception of substance abuse as predictors of substance refusal behavior of elementary school students, urban area, Chonburi province. The subject were selected by multi-stage sampling. Data were collected by using 3 sets of questionnaires which have content validity, reliability the Cronbach’s alpha of 0.62, 0.71, 0.75, respectively, and have discrimination power were respect at .05 Major findings were as follows: 1. The mean score of substance refusal behavior of elementary school students was in good behavior level. (x̅= 77.20, S.D. = 6.00) 2. The mean score of health perception of substance abuse of elementary school students was in high level. (x̅ = 46.99, S.D. = 6.98) 3. There were significant relationship at 0.05 level between sex, age and health perception of substance abuse, C= 0.173, C= 0.140 and r = 0.404, respectively. 4. Factor that could be predicted the adjustment of substance refusal behavior of elementary school students were health perception of substance abuse, health perception of substance abuse and age which significantly difference at the level. These predictors accounted for 28.3 percent (R2 = .283) of the variance. 5. The predicted equation in standard score from can be stated as follows: SUBSTANCE REFUSAL BEHAVIOR OF ELEMENTARY SCHOOL STUDENTS = .407 (HEALTH PERCEPTIONS OF SUBSTANCE ABUSE) - .263 (MALE) - .236 (AGE)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68611
ISBN: 9743324887
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nucharee_su_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ967.34 kBAdobe PDFView/Open
Nucharee_su_ch1_p.pdfบทที่ 11.21 MBAdobe PDFView/Open
Nucharee_su_ch2_p.pdfบทที่ 23.25 MBAdobe PDFView/Open
Nucharee_su_ch3_p.pdfบทที่ 31.17 MBAdobe PDFView/Open
Nucharee_su_ch4_p.pdfบทที่ 41.3 MBAdobe PDFView/Open
Nucharee_su_ch5_p.pdfบทที่ 51.31 MBAdobe PDFView/Open
Nucharee_su_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.