Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68632
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์ | - |
dc.contributor.advisor | จุลสิงห์ วสันตสิงห์ | - |
dc.contributor.author | ประกอบ ธาราประเสริฐ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-10-20T03:50:50Z | - |
dc.date.available | 2020-10-20T03:50:50Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.isbn | 9743323279 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68632 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายในการวิจัยถึงปัญหา และข้อขัดข้องในการใช้สิทธิตามสัญญาสัมปทานบริการสาธารณะ เป็นหลักประกันแก่สถาบันการเงิน แล้วนำผลการศึกษามาหาข้อสรุป และเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสมในการ แก้ไขเยียวยาข้อขัดข้องนั้น ทั้งนี้เพื่อให้สถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อแก่ผู้รับสัมปทานบริการสาธารณะได้รับความคุ้มครองที่เพียงพอ และเหมาะสม ทั้งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของผู้รับสัมปทานซึ่งเป็นลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ผลการศึกษาพบว่า โครงการสัมปทานบริการสาธารณะส่วนใหญ่เป็นรูปแบบ BTO (Build-Transfer-Operate) (สร้าง-โอนให้-ให้บริการ) ซึ่งเอกชนจะไม่เหลือทรัพย์สินใดโครงการนอกจากสิทธิตามสัญญาสัมปทาน สิทธิดังกล่าวนี้ไม่อาจจำนำ หรือจำนองได้ตามกฎหมายไทยในปัจจุบันรูปแบบนิติกรรมที่นิยมใช้เป็นทางออกก็คือ ในรูปแบบการโอนสิทธิ เรียกร้อง และในอีกรูปแบบหนึ่งคือ การโอนสิทธิ และหน้าที่ให้แก่สถาบันการเงิน โดยมีเงื่อนไขว่า การโอนจะมีผลบังคับ เมื่อผู้รับสัมปทานผิดนัดสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงิน หรือผิดสัญญากับหน่วยงานของรัฐ และสถาบันการเงินแจ้งว่าตนจะเข้ารับโอนสิทธิและหน้าที่ ซึ่งในรูปแบบนี้ หน่วยงานของรัฐจะยินยอมให้ทำหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรอง และการโอนทั้งสองรูปแบบนี้มิได้ทำให้สถาบันการเงินผู้รับโอนสิทธินั้นมีฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ หรือเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามกฎหมายล้มละลาย ส่วนโครงการในรูปแบบ BOT (Build-Operate-Transfer) (สร้าง-ให้บริการ-โอนให้) และโครงการในรูปแบบ BOO (Build-Own-Operate) (สร้าง-เป็นเจ้าของ-ให้บริการ) นั้น ทรัพย์สินในโครงการ เช่น ชิ้นส่วนเครื่องจักรรถไฟลอยฟ้าที่ยังไม่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องจักรที่พร้อมใช้งานได้ไม่สามารถจำนองได้ อุปกรณ์ อะไหล่ เครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบรถไฟฟ้า ไม่ถือเป็นเครื่องจักรที่อาจจดทะเบียน จำนองได้ ระบบข่ายสายใยแก้วนำแสง (fiber optic) ทรัพย์สินเหล่านี้มีมูลค่ามหาศาล แต่ไม่อาจจำนองได้เช่นกัน หากใช้วิธีจำนำ ผู้รับสัมปทานก็ต้องสูญเสียสิทธิครอบครอง และการใช้สอยทรัพย์สินเหล่านั้น จากผลการศึกษา ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาสองแนวทาง คือ แนวทางที่หนึ่งคือ การออกกฎหมายเฉพาะให้สามารถใช้สิทธิตามสัญญาสัมปทานบริการสาธารณะ และทรัพย์สินในโครงการนั้นเป็นหลักประกันได้ โดยให้ สถาบันการเงินผู้รับหลักประกันมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของผู้รับสัมปทานดีกว่าเจ้าหนี้อื่น และแนวทางที่สอง คือ การแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนที่ว่าด้วยบุริมสิทธิ โดยกำหนดให้สถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อแก่ผู้รับสัมปทานบริการสาธารณะ เป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิพิเศษ เหนือสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้รับสัมปทานได้ซื้อ หรือ สร้างขึ้นมาในโครงการบริการสาธารณะด้วยเงินที่สถาบันการเงินให้สินเชื่อมา | - |
dc.description.abstractalternative | This Thesis focuses on implications and inconveniences related to exercise of a right under a contract granting public service concession which is given as a guarantee to financial institutions. The result of the Thesis has been summarised for formulation of appropriate measures leading to remedy of such implication and inconveniences Financial institutions granting credit facilities to the concessionaire of public service can therefore obtain sufficient and appropriate protection, and possess rights over assets of such concessionaire which is a debtor in priority to other creditors. The researcher has found that most public service concessions are of the Build- Transfer-Operate (B-T-O) nature in which concessionaires shall virtually have no assets other than the rights under the concession contracts. The said rights is not capable of being pledged or mortgaged under Thai laws. Juristic acts most currently applied or adopted are assignment of claims, and assignment of rights and obligations to financial institutions on the condition that such assignment shall become enforceable upon the breach by conce ssionaires of related credit facilities agreements with financial institutions or government authorities and that such financial institutions shall have notified that they intend to assume the rights and obligations. However, whether the government authorities shall agree to this conditions depends upon the negotiation. In addition, the two methods of assignments do not provide financial institutions in the capacity of assignees with the status of preferred or secured creditors under bankruptcy law. As regards the systems of Build-Operate-Transfer (B-O-T) and Build-Own-Operate (B-O-O), assets in the projects such as parts of sky trains which are not assembled as machinery ready for use are not mortgaged. Accessories, spare parts and tools for repair and maintenance of sky trains system are not mortgaged, either, not to mention fiber optic network which is of considerable value. A pledge of these assets shall render concessionaires to be unable to enjoy the possessory right over the said assets. The researcher, therefore, proposes two options to overcome the difficulty : one is to promulgate specific laws to allow an exercise of rights under the public service concessions and assets in such projects as guarantee whereby financial institutions receiving such guarantee shall have rights in preference to other creditors, and the other is to amend the Civil and Commercial Code to the extent that financial institutiions become specially preferred creditors over movable and immovable properties purchased or created by concessionaires in the projects by the advances drawn from financial institutions. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | หลักประกัน | - |
dc.subject | บุริมสิทธิ | - |
dc.subject | สัญญาสัมปทานบริการสาธารณะ | - |
dc.subject | บริการสาธารณะ | - |
dc.subject | จำนำ -- หลักประกัน | - |
dc.subject | หลักประกัน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- สหรัฐอเมริกา | - |
dc.subject | หลักประกัน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- เยอรมัน | - |
dc.subject | จำนอง -- หลักประกัน | - |
dc.subject | สัญญาทางปกครอง | - |
dc.subject | สัญญาสัมปทาน | - |
dc.title | ปัญหาการใช้สิทธิตามสัญญาเป็นหลักประกันแก่สถาบันการเงิน : ศึกษาเฉพาะกรณีสัญญาสัมปทานบริการสาธารณะ | - |
dc.title.alternative | Problems related to exercise of a right a contract which is being given as a guarantee to financial institution : a case study on a concession contract | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prakob_ta_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prakob_ta_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 754.17 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prakob_ta_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 3.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prakob_ta_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prakob_ta_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prakob_ta_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 841.01 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prakob_ta_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 8.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.