Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68639
Title: | ผลของการสอนโดยให้เหตุผลแบบคำนึงถึงบุคคลอื่นที่มีต่อพฤติกรรมเอื้อเฟื้อในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 |
Other Titles: | Effect of other-oriented induction on altruistic behavior in pratom suksa two pupils |
Authors: | ประภาพร แซ่เตียว |
Advisors: | ประไพพรรณ ภูมิวุฒิสาร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ความเอื้อเฟื้อ พฤติกรรมเอื้อเฟื้อ นักเรียนประถมศึกษา การสอน Altruism |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมเอื้อเฟื้อของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยให้เหตุผลแบบคำนึงถึงบุคคลอื่น และได้รับการสอนโดยให้เหตุผลแบบผลกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดไผ่เงินโชคนาราม กรุงเทพมหานคร จำนวน 60 คน กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกมาจากนักเรียนที่บริจาคเงินรางวัลแก่เด็กที่ขาดแคลน ในระดับต่ำ ในช่วงก่อนการทดลองซึ่งจัด เป็นเด็กที่มีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อต่ำแล้วแบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม จากนั้นทำการสอนโดยกลุ่มหนึ่งได้รับการสอนโดยให้เหตุผลแบบคำนึงถึงบุคคลอื่น อีกกลุ่มหนึ่งได้รับการสอนโดยให้เหตุผลแบบผลกรรม ภายหลังจากที่เด็กนักเรียนได้รับการสอนแล้วจะได้รับ การทดสอบพฤติกรรมเอื้อเฟื้อ ผลการวิจัยพบว่า 1. ในกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยให้เหตุผลแบบคำนึงถึงบุคคลอื่น มีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อ หลังการทดลองทันทีไม่แตกต่างจากก่อนการทดลอง แต่มีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ มากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2. ในกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยให้เหตุผลแบบผลกรรม มีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อหลังการทดลองทันทีมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แต่มีพฤติกรรมเอื้อเฟื้อหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างจากก่อนการทดลอง 3. ระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยให้เหตุผลแบบคำนึงถึงบุคคลอื่น และนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยให้เหตุผลแบบผลกรรม มีคะแนนพฤติกรรมเอื้อเฟื้อหลังการทดลองทันที ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยให้เหตุผลแบบคำนึงถึงบุคคลอื่น และกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยให้เหตุผลแบบผลกรรม มีคะแนนพฤติกรรมเอื้อเฟื้อภายหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to compare the altruistic behavior of Pratom Suksa two pupils who were taught by other-oriented induction and by consequence effect. The subjects were 60 pupils of Watphaingienchotanaram school, Bangkok Metropolis. These subjects were selected from pupils who donated small amount of money to disadvantaged children during the pre - experimental period. They were called "low altruistic pupils". Then, the pupils were devided into two groups and started teaching the other-oriented induction method in one group and the consequence effect method in the other group. The results of this finding were as follows: 1. In the group of pupils who were taught by other - oriented induction method there was no significant difference of altruistic behavior between the pre - experimental and the immediate post - experimental period. However, after 2 weeks post - experimental period their altruistic behavior increased significantly (p<.01) compared to the pre-experimental period. 2. Although in the group of pupils who were taught by consequence effect method, they showed more altruistic behavior in the immediate post - experimental period (p<.01) than in the pre-experimental period, after 2 weeks post-experimental period there was no difference of altruistic behavior between the pre-experimental and the 2 weeks post-experimental period. 3. Between the group of pupils who were taught by other-oriented induction method and who were taught by consequence effect method, there was no significant difference of altruistic behavior after the immediate post- experimental period. 4. Between the group of pupils who were taught by other-oriented induction method and who were taught by consequence effect method, there was no significant difference of altruistic behavior after the 2 weeks post- experimental period. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68639 |
ISBN: | 9746379402 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prapaporn_sa_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 934.86 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prapaporn_sa_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prapaporn_sa_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 832.97 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prapaporn_sa_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prapaporn_sa_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 949.28 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prapaporn_sa_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 768.59 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prapaporn_sa_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.