Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68651
Title: | การลดการแทรกสอดจากสถานีฐานข้างเคียง ที่มีผลต่อสถานีฐานแบบรอบทิศทางในระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบแอนะล็อก โดยการใช้เทคนิคฟรีเควนซีฮอปปิง |
Other Titles: | Reduction of interference from adjacent base stations affecting the omnidirectional base station in the analog mobile telephone system using the frequency hopping technique |
Authors: | ประเสริฐ มงคลรัตนชัย |
Advisors: | วาทิต เบญจพลกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | โทรศัพท์เคลื่อนที่ ฟรีเควนซีฮอปปิง Electric interference |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอวิธีกำหนดความถี่ของช่องสัญญาณของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แอนะลอกแบบเซลลูลาร์ โดยการใช้เทคนิคฟรีเควนซีฮอปปิง เพื่อลดผลของการแทรกสอดจากสถานีฐานข้างเคียง เพื่อให้ได้คุณภาพของสัญญาณที่ดีขึ้น ซึ่งเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แอนะลอกแบบเซลลูลาร์ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน โดยการปรับปรุงซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการทำงานของเซลล์และชุมสาย ในงานวิจัยนี้จะใช้แบบจำลองที่อ้างอิง กับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แอนะลอกแบบเซลลูลาร์ความถี่ 800 MHz การใช้เทคนิคฟรีเควนซีฮอปปิง ในการกำหนดความถี่ของช่องสัญญาณ จะทำให้มีการเปลี่ยนความถี่ของช่องสัญญาณไปทุก ๆช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งจะทำให้มีการกระจายผลของการแทรกสอดไปยังทุกความถี่ เป็นการช่วยให้ผลของการแทรกสอดจากสถานีฐานข้างเคียงน้อยลง การนำเสนอผล การจำลองแบบ จะเปรียบเทียบผลที่ได้จากวิธีการกำหนดความถี่แบบตายตัว ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กับวิธีกำหนด ความถี่ช่องสัญญาณโดยการใช้เทคนิคฟรีเควนซีฮอปปิง ซึ่งเป็นวิธีที่เสนอ และจากผลที่ได้ในกรณีที่สถานีฐานมีจำนวนช่องสัญญาณไม่มาก หรือสถานีฐานมีทราฟฟิกขอบริการมาก หรือมีอัตราส่วนของ ทราฟฟิกขอบริการของเซลล์รอบนอก ต่อเซลล์ตรงกลางที่มาก จะทำให้วิธีที่ใช้เทคนิคฟรีเควนซีฮอปปิงให้ผลที่ดีกว่าวิธีที่ไม่ได้ใช้เทคนิคนี้มาก ส่วนปริมาณพื้นที่เกยกันของแต่ละสถานีฐานจะไม่มีผลต่อการใช้เทคนิคฟรีเควนซีฮอปปิง และจากผลที่ได้ การใช้เทคนิคฟรีเควนซีฮอปปิงจะช่วยทำให้มีค่าจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่อัตราส่วนกำลังของสัญญาณคลื่นพาห์ต่อสัญญาณแทรกสอด ที่มากกว่า 18 dB ซึ่งเป็นระดับค่ามาตรฐานของคุณภาพสัญญาณระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แอนะลอก เพิ่มขึ้นประมาณ 5-25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งทำให้มีคุณภาพของสัญญาณที่ดีขึ้นนั่นเอง |
Other Abstract: | The objective of this research is to propose a Frequency Channel Allocation Method of analog cellular mobile telephone system by using Frequency Hopping Technique in order to decrease the effect of interference signal from adjacent base stations. This technique can be applied to the present analog cellular mobile telephone system by adding operation control software at base station and at the Mobile Telephone Switching office (MTSO). The proposed method can be used to improve the quality of the signal as well. The simulation study is based on a model of 800-MHz analog cellular mobile telephone system. Using Frequency Hopping Technique in frequency channel allocation, channel frequency will change at an interval time. The effect of interference will be distributed to all frequency channels. The current technique, fixed frequency method, and this proposed technique, Frequency Hopping Method, were compared by considering the effect of interference signals. In case, there are not many channels equipped in a cell or there are a high level of offered traffic in the cell or the ratio of offered traffic in adjacent cell to that in the central cell is high, the results of Frequency Hopping technique method are better than those of Fixed frequency technique method. Cell area overlap does not affect the use of Frequency Hopping technique. The results show that the proposed method gives more percentage of Carrier to Interference (C/I) ratio which is over 18 dB (standard level of good quality of signal of analog cellular mobile telephone system) with an increase of 5-25 percent, compare to that of the fixed frequency method. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68651 |
ISBN: | 9743318089 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prasert_mo_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prasert_mo_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 772.11 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prasert_mo_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prasert_mo_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prasert_mo_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 4.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prasert_mo_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 703.02 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prasert_mo_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 638.83 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.