Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68715
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล-
dc.contributor.authorชนินทิตา วัชรมูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-10-26T09:02:01Z-
dc.date.available2020-10-26T09:02:01Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743316612-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68715-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การรับรู้ ข่าวสารเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และ/หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของประชาชนใน อ.ปะทิว จ.ชุมพร (2) ระดับความรู้เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และ/หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (3) ทัศนคติที่มีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ (4) การยอมรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ใน อ.ปะทิว จ.ชุมพร จำนวนทั้งสิ้น 397 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ผลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ t-test และการวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) ส่วนในการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 16 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลด้วยการจัดหมวดหมู่และประเภทของข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1)กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และ/หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ในระดับ ค่อนข้างน้อย โดยรับรู้ข่าวสารจากโทรทัศน์มากที่สุด 2) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และ/หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ในระดับปานกลาง 3) กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นลบค่อนข้างมาก 4) กลุ่มตัวอย่างมีการยอมรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยในระดับปานกลาง แต่ ยอมรับ การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใน จ.ชุมพร และ อ.ปะทิวอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย 5) กลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันในเรื่องเพศ อาชีพและภูมิลำเนามีทัศนคติต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเพศชายมีทัศนคติในเชิงบวกมากกว่าเพศหญิง บุคคลที่มีอาชีพต่างกันมี ทัศนคติแตกต่างกัน และบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน อ.ปะทิว มีทัศนคติในเชิงลบมากกว่า บุคคลที่มี ภูมิลำเนาอยู่นอก อ.ปะทิว 6) ระดับความรู้ของประชาชนมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับทัศนคติต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ 7) ระดับการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข่าวสารและความรู้ อย่างไรก็ตาม ระดับการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีความสัมพันธ์กับทัศนคติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to study (1) perceptions of the people in Pathiew District on nuclear energy and/or nuclear power plant, (2) their knowledge on nuclear energy and/or nuclear power plant, (3) their attitude towards nuclear power plant, and (4) the public acceptance in using nuclear power plant in Thailand. The research comprises of quantitative and qualitative data from survey (397 samples) and depth interview (16 samples of local leaders). The survey data is analyzed by using SPSS for Windows (Version 7.52), where Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, t-test and One-Way Analysis of Variance are used to investigate correlation and differences between variables. Analytic Induction is used to analyze views of the local leaders about a nuclear power plant in Thailand. The results of this research are as follows: - 1)Most people do not perceive much about the news on nuclear energy and/or nuclear power plant. Television is the most powerful media for them. 2) Most people know about nuclear energy and/or nuclear power plant at the moderate level. 3) Most people have negative attitude towards nuclear power plant. 4)Public acceptance in using nuclear power plant in Thailand is at moderate level while public acceptance in using this type of technology in Chumporn Province and Pathiew District is at lower level. 5)People of different sex, occupation and domicile have different attitude towards nuclear power plant. 6)Knowledge of the people on nuclear energy and/or nuclear power plant is positively correlated with their attitude towards nuclear power plant. 7)Public acceptance for a nuclear power plant in Thailand is not positively correlated with people’s perception and knowledge but it is positively correlated with their attitude.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพฤติกรรมข่าวสารen_US
dc.subjectพลังงานนิวเคลียร์en_US
dc.subjectโรงไฟฟ้านิวเคลียร์en_US
dc.subjectการผลิตพลังงานไฟฟ้าen_US
dc.subjectชุมพรen_US
dc.subjectInformation behavioren_US
dc.subjectNuclear energyen_US
dc.subjectNuclear power plantsen_US
dc.subjectElectric power productionen_US
dc.subjectChumphonen_US
dc.titleการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทยของประชาชน อ.ปะทิว จ.ชุมพรen_US
dc.title.alternativePublic acceptance in using nuclear energy for electricity generation in Thailand : a case study of people in Pathiew District, Chumporn Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorParichart.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanintita_wa_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ970.81 kBAdobe PDFView/Open
Chanintita_wa_ch1_p.pdfบทที่ 11.04 MBAdobe PDFView/Open
Chanintita_wa_ch2_p.pdfบทที่ 22.34 MBAdobe PDFView/Open
Chanintita_wa_ch3_p.pdfบทที่ 3943.84 kBAdobe PDFView/Open
Chanintita_wa_ch4_p.pdfบทที่ 46.01 MBAdobe PDFView/Open
Chanintita_wa_ch5_p.pdfบทที่ 51.88 MBAdobe PDFView/Open
Chanintita_wa_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก8.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.