Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68717
Title: ภาพลักษณ์และบทบาทการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดในสายตาของประชาชนและสื่อมวลชน
Other Titles: Image and job performance of the Office of the Attorney general as perceived by public and the media
Authors: รัตนา ปัญญาดี
Advisors: ยุบล เบญจรงค์กิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาพลักษณ์องค์การ
สำนักงานอัยการสูงสุด
Corporate image
Office of the Attorney general
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง ภาพลักษณ์และบทบาทการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดในสายตาประชาชนและสื่อมวลชน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบทบาทและการปฏิบัติงานของสำนักงานอัยการสูงสุด และความรู้ ความเข้าใจของประชาชน และสื่อมวลชนในบทบาทดังกล่าว 2. ศึกษาภาพลักษณ์ของสำนักงานอัยการสูงสุด ในสายตาของประชาชนและสื่อมวลชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1. ประชาชนทั่วไป ที่มีอายุระหว่าง 21-60 ปี จำนวน 400 คน ใน 4 จังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนภาค ได้แก่ เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น และกรุงเทพมหานคร จังหวัดละ 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) 2. สื่อมวลชน ศึกษาเฉพาะสื่อมวลชนส่วนกลาง คือ บรรณาธิการข่าวหรือผู้สื่อข่าวสายการเมืองที่รับผิดชอบข่าวกระบวนการยุติธรรม จำนวน 10 คน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : ANOVA) และการหาค่าลัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาพลักษณ์รวมของสำนักงานอัยการสูงสุดในสายตาประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อจำแนกภาพลักษณ์แต่ละด้านพบว่า ภาพลักษณ์ด้านบทบาทและการปฏิบัติงานอยูในระดับไม่ดี ภาพลักษณ์ด้านบุคลากรและบริการ และภาพลักษณ์ด้านสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนภาพลักษณ์ด้านผู้บริหารอยู่ในระดับดี 2. ภาพลักษณ์ของสำนักงานอัยการสูงสุดในสายตาของสื่อมวลชนอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน โดยสื่อมวลชนตั้งข้อสังเกตว่า สำนักงานอัยการสูงสุดขาดการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและควรทำงานเพื่อประชาชนอย่างจริงจัง
Other Abstract: The purposes of this research are: to study the role and job performance of the Office of the Attorney General, to study the image of the Office of the Attorney General as perceived by public and the media Questionnaires are used to collect data from 400 randomly selected respondents, aged 21 - 60 years old from 4 regions 100 per region namely Chiengmai, KhonKaen, Songkla and Bangkok. In-depth interview are used to collect data from 10 reporters or who responsible editors of judicial administrative office. Percentage, means, One-way Analysis of Variance (ANOVA) and Pearson Product Moment Correlation Coefficient are used for data analysis. The results of the research are as follow: The Office of the Attorney General is moderately good as perceived by public. When the image was viewed in four aspects, the results are: 1) the image of its role and job performance is relatively low, 2) the image of its officers and services is at moderate level, 3) the social image is at moderate level, and 4) the image of its executives is at high level. From the in-depth interview, the image of the Office of the Attorney General as perceived by the media is also moderately good. The media comment that the Office of the Attorney General need to acquire more advance information and should work for the public more seriously.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68717
ISSN: 9743322159
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rutana_pu_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ583.77 kBAdobe PDFView/Open
Rutana_pu_ch1.pdfบทที่ 1565.09 kBAdobe PDFView/Open
Rutana_pu_ch2.pdfบทที่ 22.71 MBAdobe PDFView/Open
Rutana_pu_ch3.pdfบทที่ 3408.47 kBAdobe PDFView/Open
Rutana_pu_ch4.pdfบทที่ 43.19 MBAdobe PDFView/Open
Rutana_pu_ch5.pdfบทที่ 5944.78 kBAdobe PDFView/Open
Rutana_pu_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.