Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68736
Title: | ไคตินและไคโดแซน จาก Aspergillus niger ที่เลี้ยงในแป้งมันสำปะหลังที่ผ่านการย่อย |
Other Titles: | Chitin and chitosan from Aspergillus niger cultured in cassava starch hydrolysate |
Authors: | ฉัตรฤดี สุวรรณชาติ |
Advisors: | สุมาลี พิชญางกูร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | แป้งมันสำปะหลัง ไคติน ไคโตแซน แอสเพอร์จิลลัสไนเจอร์ Tapioca starch Chitin Chitosan Aspergillus niger |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สายพันธุ์ Aspergillus Niger ที่ใช้ในการทดลองเป็นสายพันธุ์ที่ผลิตกรดซิตริกในระดับอุตสาหกรรมพบว่า ภาวะที่เหมาะสมที่สร้างเส้นใย และ ให้น้ำหนักเซลล์แห้งสูงสุด ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ประกอบไปด้วย แป้งมันสำปะหลัง 8% ที่ย่อยด้วยเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส 150 หน่วย ภายในเวลา 30 นาที ได้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ 9.7 มก./มล. แอมโมเนียมซัลเฟต 0.4% โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต 0.5% สารสกัดจากยีสต์ 0.3% และ แมกนีเซียมซัลเฟต-เฮปตะไฮเดรต 0.01% ในอาหารเหลวปริมาตร 100 มล. โดยปรับค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 5.6 ที่อุณหภูมิห้อง เลี้ยงบนเครื่องเขย่าความเร็วรอบ 200 รอบต่อนาที เป็นเวลา 4 วัน ด้วยภาวะดังกล่าว A.niger สามารถให้น้ำหนักเซลล์แห้ง 18.372 มก./มล. และสกัดปริมาณไคตินได้ 13.842 มก./มล. คิดเป็น 75.34% ของน้ำหนักแห้ง จากการเลี้ยง A.niger ในถังหมักขนาด 5 ลิตร โดยใช้สูตรอาหารและภาวะเดียวกันกับระดับขวดเขย่าโดยให้ อัตราการกวน 200 รอบต่อนาที อัตราการให้อากาศ 1 ลิตรต่อ 1 ลิตรของอาหารต่อนาที ให้ค่าน้ำหนักเซลล์แห้ง เท่ากับ 9.13 มก./มล. ให้ปริมาณไคตีน 5.64 มก./มล. คิดเป็น 61.77% ของน้ำหนักแห้ง ในระยะเวลาการเพาะเลี้ยง 30 ชั่วโมง การตรวจสอบรูปแบบกราฟของไคตินจากราโดยใช้เครื่องอินฟราเรดสเปกโตรสโคปี ไคตินที่สกัดได้จากรา A.niger แสดงอินฟราเรดสเปกตรัมเหมือนกันและให้ตำแหน่งหมู่ฟังก์ชันนัลที่สำคัญคล้ายกับอินฟราเรดสเปกตรัมของไคตินที่ได้จากเปลือกกุ้ง โดยมีพีกของ N -H ที่เลขคลื่น 1550 cm⁻¹ และ พีกของ C = O ที่เลขคลื่น 1650 cm⁻¹ และ พีกของ C H₃C =0 ที่เลขคลื่น 2970-2940 cm⁻¹ และ พีกของ C =Oและ (N -H ) interaction ที่เลขคลื่น 3255-3100 cm⁻¹ และได้คำนวณค่า Degree of Acetylation (%D.A.) ของไคตินจากรากับไคตินจากกุ้ง มีค่าเท่ากับ 83.59% และ 98.25% ตามลำดับ ไคตินสามารถเปลี่ยนเป็นไคโตแซนโดยวิธีทางเคมี ไคโตแซนที่สกัดได้จากราให้อินฟราเรดสเปกตรัมที่ตำแหน่ง หมู่ฟังก์ชันนัลที่สำคัญคล้ายกับไคโตแซนจากเปลือกกุ้ง โดยพบว่า Absorption band ของ C =0 ของไคตินมีความเข้มลดลง แต่จะพบ Absorption band ของ primary amine ที่เลขคลื่น 1650-1590 cm⁻¹ เพิ่มขึ้น คำนวณค่า Degree of Deacetylation (%D.D.) ของไคโตแซนจากรา และ ไคโตแซนจากเปลือกกุ้ง มีค่าเท่ากับ 68.24% และ 72.21% ตามลำดับ |
Other Abstract: | Aspergillus niger strain used in this experiment was introduced from citric acid production factory. The optimal conditions for the cultivation were studied. It was found that the medium, which provided the highest biomass was composed of 8% Cassava starch which hydrolyzed by 150 unit of α-amylase within 30 minutes which produced 9.7 mg/ml of reducing sugar, 0.4% (NH₄) ₂S0₄ , 0.5% KH₂PO₄, 0.3% yeast extract , 0.01% MgS0₄.7H₂0 and 100 ml of H₂O. Optimal conditions of cultivation were at pH 5.6 , room temperature and 200 rpm on rotary shaker. Under these conditions A.niger produced 18.372 mg/ml of biomass and 13.842 mg/ml of chitin ( 75.34% of biomass) within 4 days of cultivation. The cultivation of A.niger in 5 L jar fermenter was also observed by using the same conditions as shaking flask culture with agitation rate 200 rpm and aeration rate 1 vvm. It was found that A.niger produced 9.13 mg/ml of biomass and 5.64 mg/ml of chitin ( 61.77% of biomass) within 30 hrs. of cultivation. Investigation of the infrared spectrum (IR-spectrum) of fungal chitin was isolated from A.niger gave important functional group similar to chitin from shrimp shell at peak of N-H at 1550 cm⁻¹ , peak of C =0 at 1650 cm⁻¹ , peak of CH₃C =0 at 2970-2940 cm⁻¹ and peak of C=0 [and] (N-H) interaction at 3255-3100 cm⁻¹ and Degree of Acetylation (%D-A.) of chitin from A.niger and chitin from shrimp shell evaluated from absorbance of IR-spectrum were 83.59% and 98.25% , respectively. IR-spectrum of chitosan from A.niger showed an important functional group similar to chitosan from shrimp shell at low transmittance at C =0 of chitin but found that the absorption band of primary amine at 1650-1590 cm⁻¹ was increased and Degree of Deacetylation (% D.D.) of chitosan from A.niger and chitosan from shrimp shell as calculated were 69.24% and 72.21 % , respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68736 |
ISBN: | 9746396684 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chatrudee_su_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chatrudee_su_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chatrudee_su_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chatrudee_su_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 4.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chatrudee_su_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 737.7 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatrudee_su_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.