Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68757
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล | - |
dc.contributor.author | ชมพูนุท มานิตกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-10-27T07:41:21Z | - |
dc.date.available | 2020-10-27T07:41:21Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.isbn | 9743316175 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68757 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาหาแนวทางการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับธุรกิจประกันภัยนอกศาลที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นข้อพิพาทระหว่างผู้เอาประกันภัย บริษัทประกันภัย ผู้เสียหาย ผู้รับผลประโยชน์ บริษัทรับประกันภัย ตัวแทน นายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิต เป็นต้น เพื่อให้สามารถยุติข้อพิพาทต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความเป็นธรรม ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ตลอดจนการรักษาความลับทางการค้า และรักษาความสัมพันธ์และไมตรีที่มีต่อกันเพื่อความร่วมมือทางธุรกิจประกันภัยของคู่พิพาทในอนาคตด้วย จากการศึกษาและวิเคราะห์แล้วเห็นว่าวิธีการระงับข้อพิพาทนอกศาลที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีเพื่อหาข้อยุติเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะเป็นวิธีการที่คู่กรณีมีสิทธิในการตัดสินใจด้วยตนเองอย่างเต็มที่และสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการข้อยุติปัญหาพิพาทนั้นด้วยตนเอง การระงับข้อพิพาทธุรกิจประกันภัยนอกศาลรูปแบบที่เหมาะสม คือ การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท (mediation/conciliation) และอนุญาโตตุลาการ (arbitration) เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบการไกล่เกลี่ยและอนุญาโตตุลาการที่ใช้ในปัจจุบัน กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการอนุญาโตตุลาการที่ดำเนินการ โดยสมาคมประกันวินาศภัยยังไม่สามารถดำเนินการให้ถูกต้องสมบูรณ์ตามกระบวนการของกฎหมายและวิธีปฏิบัติที่เป็นสากล รวมทั้งยังขาดการบริหารจัดการที่ถูกต้อง ส่วนวิธีการที่รัฐดำเนินการอยู่ยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขและหามาตรการที่เหมาะสม รวมทั้งต้องแก้ไขตัวบทกฎหมายที่เป็นแม่บทของการระงับข้อพิพาทให้สอดคล้องกับการปฏิบัติและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของสากล การหาแนวทางการระงับข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง จึงจำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการบริหารการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการอนุญาโตตุลาการนอกศาลโดยให้สมาคมฯ เป็นฝ่ายรับผิดชอบสนับสนุนและพัฒนาสำนักงานอนุญาโตตุลาการที่ดำเนินการอยู่ให้เป็นศูนย์กลางการระงับข้อพิพาทโดยการไกล่เกลี่ยและอนุญาโตตุลาการ ด้วยการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบและวิธีดำเนินงานที่เป็นอยู่ให้กว้างขึ้นและเอื้อประโยชน์แก่คู่กรณีทุกฝ่าย ส่วนรัฐต้องนำระบบการไกล่เกลี่ยเข้ามาใช้ให้มากกว่านี้ หากพัฒนารูปแบบองค์กรที่เป็นอิสระและเป็นเอกเทศในรูปของสถาบันเข้ามารองรับข้อพิพาทประกันภัยที่มีมากขึ้นในอนาคตย่อมสามารถแก้ไขปัญหาข้อพิพาทและลดจำนวนคดีที่นำขึ้นสู่ศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเจตนารมย์ และยังเป็นการพัฒนาระบบการประกันภัยให้ทัดเทียมอารยประเทศด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | The main purpose of this thesis is to study and make understandings of alternative resolution methods on insurance disputes in which the parties concerned can be the insured, insurance companies, beneficiaries, victims and brokers of both Life and Non-Life Insurance business; with the ultimate objectives of reaching any possible immediate resolutions which are at most fair, economical and agreeable to the parties concerned as well as maintaining business confidence and friendly relationship among the parties for their business cooperations in the future. As a result of the studies, it can be summed up that most of the best alternative resolutions to the disputes can be achieved when the parties concerned can come the mutual agreement. In this case, the two methods of the alternative disputes resolutions which can be mentioned here are mediation / conciliation and arbitration. However, the studies led me to be convinced that both above-said methods currently used in Thailand, by the Non-Life Insurance Associations are unable to function perfectly and correctly according to the legal proceedings, unacceptable by international standards and lacking will planned management system. The Government, likewise, needs to put some changes and reforms to the present methods to find out the most appropriate resolution ones. A lot of measures of amendments on Law Models have to be explored in order to build Thai laws in line with universal criteria and real practices In conclusion, to find efficient and effective resolutions on insurance contract, it requires us to change some of the old mediation / conciliation and arbitration methods currently used. This can be done by promoting the Non-Life Insurance Association playing bigger roles and responsibilities in supporting the present Arbitration Office to became Centre for the disputes settlements. In addition, methods should be improved to widely and beneficially serve to all parties concerned. The Government should, therefore, rely more on the mediation method. Organizations for the disputes settlements are needed to be restructured to become fully independent, capable enough to solve any disputes on insurance in the future and to bring down the numbers of dispute cases in front of the court. This is with the final aim to enable Thailand to stand on equal basis with most developed countries in the insurance system. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การไกล่เกลี่ย | en_US |
dc.subject | อนุญาโตตุลาการ | en_US |
dc.subject | กรมธรรม์ | en_US |
dc.subject | การระงับข้อพิพาท | en_US |
dc.subject | ประกันภัย | en_US |
dc.subject | พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 | en_US |
dc.subject | พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 | en_US |
dc.subject | พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 | en_US |
dc.subject | Mediation | en_US |
dc.subject | Arbitrators | en_US |
dc.subject | Insurance policies | en_US |
dc.subject | Dispute resolution (Law) | en_US |
dc.subject | Insurance | en_US |
dc.title | การระงับข้อพิพาทของสัญญาประกันภัยนอกศาล | en_US |
dc.title.alternative | Alternative disputes resolutions on insurance contract | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Prasit.Ko@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chompoonut_ma_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chompoonut_ma_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chompoonut_ma_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 3.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chompoonut_ma_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chompoonut_ma_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chompoonut_ma_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 4.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chompoonut_ma_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 862.17 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chompoonut_ma_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 3.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.