Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68768
Title: อุปกรณ์วัดพิกัด 3 มิติที่ใช้ในการตรวจสอบชิ้นงาน ที่มีพื้นผิวต่อเนื่องและโปรแกรมเชื่อมโยงกับโปรแกรม Catia
Other Titles: 3-D coordinate measuring machine for inspecting of continuous complex surfaces and a program for interfacing with Catia
Authors: ปัญญา ดีประเสริฐกุล
Advisors: วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Viboon.S@Chula.ac.th
Subjects: เครื่องวัดพิกัด 3 มิติ
คอมพิวเตอร์ช่วยการออกแบบ
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในโครงการวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเครื่องวัดพิกัด 3 มิติของพื้นผิวที่มีความสลับซับซ้อน แบบต่อเนื่องแบบอัตโนมัติที่มีโครงสร้างแบบ Fixed-bridge ชนิด 4 แกน โดย 3 แกนแรกมีลักษณะตั้งฉากซึ่งกันและกัน แต่ละแกนขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์กระแสตรงชนิดไม่มีแปรงถ่าน และติดตั้งชุดบอลสกรูระหว่างมอเตอร์กับภาระ ส่วนแกนที่ 4 เป็นแกนหมุนขับเคลื่อนด้วย มอเตอร์กระแสตรงชนิดแม่เหล็กถาวรและชุดเฟืองทดแบบฮาร์โมนิค อัตราทด 100:1 ปริมาตร การทำงานของเครื่องคือ 250x250x240 mm. ระบบควบคุม 3 แกนแรกจะเป็น PID ซึ่งจัดรูปแบบโครงสร้างแบบ Pseudo-Derivative Feedback ส่วนแกนที่ 4 จะเป็น PID+Feedward และ ได้พัฒนาโปรแกรมควบคุมการทำงานของอุปกรณ์จัดพิกัดซึ่งเขียนด้วยโปรแกรม Visual Basic ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการวินโดว์ 3.11 สามารถเก็บข้อมูลพิกัดพื้นผิวของชิ้นงานโดยใช้อุปกรณ์วัดระยะด้วยแสงเลเซอร์แบบ Semiconductor Low Power Laser ข้อมูลของพื้นผิวที่ได้มีลักษณะเป็นกลุ่มของจุดในพิกัดคาร์ทีเซียน X, y, Z สามารถส่งไปยังโปรแกรม CATIA ได้ ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปสร้างแบบจำลองในคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานต่อไป ความแม่นยำของเครื่องในการเคลื่อนที่แต่ละแกนจะได้ด้งนี้แกน X อยู่ระหว่าง ±15ไมครอน แกน Y และแกน Z อยู่ระหว่าง ±5 ไมครอน ความละเอียดรวมของเครื่องนั้นได้จากการเปรียบเทียบค่าพิกัดระหว่าง แบบจำลองต้นแบบ (จากคอมพิวเตอร์และชิ้นงานตัวอย่าง) และชิ้นงานที่สร้างจริง ค่าพิกัดดังกล่าวจัดได้จากเครื่องที่สร้างขึ้นนี้กับเครื่องวัดพิกัดเชิงพาณิชย์ความละเอียดที่ได้ขึ้นอยู่กับลักษณะของผิวชิ้นงาน ความต่อเนื่องและความชันของผิวชิ้นงาน ผลที่ได้จากการวัดชิ้นงานรูปแบบต่าง ๆ นั้นแสดงให้เห็นว่าเครื่องที่สร้างขึ้นนี้มีความละเอียดทัดเทียมกับเครื่องจัดพิกัดเชิง พาณิชย์ (ที่ใช้หัวจัดแบบสัมผัส) ที่อ้างความละเอียดแต่ละแกนที่ 3 ไมครอน แกนที่ 4 ติดตั้งเอนโคดเดอร์ตรงเพลาต่อกับตัวจับเลเซอร์ ความละเอียดของเอนโคตเตอร์ คือ 2500 พัลส์ต่อรอบ ความละเอียดของระบบควบคุมของแกนที่ 4 คือ ±0.288 องศา แกนที่ 4 นี้จะช่วยในการวัดผิวชิ้นงานที่มีความลาดชันมากได้
Other Abstract: This research is to develop the 4-axis 3-D Automatic Laser Scanning machine with Fixed Bridge structure for digitizing smooth complex surfaces. The first 3- axis is orthogonal and the 4th axis is revolute axis. The first _3-axis are actuated by Brushless D.c servo motors with ball screw connect to the load. The 4th axis actuated by permanent magnet D.c. servo motor with 100:1 ratio harmonic drive. The working volume is 250x250x240 mm. The controller of the first 3-axis is PID with Pseudo- Derivative-Feedback structure controller. And the conventional PID+Feedforward controller is used for the 4th axis. The control program is developed by using Visual Basic under Windows 3.11. Low power semiconductor Laser probe is used for measuring the Z-distance between the sensor and the surface. This Z-distance including the X- and Y-coordinate will be convert to the X-Y-Z coordinate and then export to the CATIA program for further use. The accuracy of each individual axis is as following: X- axis = ±15 micron, Y-axis and Z-axis = ±5 micron. The combining accuracy of the machine is obtained by comparing among the data-point from prototype model (computer models and sample pieces) and real model. The data-point obtaining from the automatic laser scanning machine and the commercial Coordinate Measuring Machine(CMM). The result accuracy depends on the type of surfaces, continuity, slope of the surfaces. It can be shown that the automatic laser scanning machine has equivalent accuracy to the commercial CMM (with touch probe sensor) which claims ±3 micros accuracy for each axis. The 4th axis, the encoder is mounted to the laser holder shaft. The accuracy of controller is ±0.288 degree. The 4th axis is aiming for measuring the steep surface.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68768
ISBN: 9743318127
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panya_de_front_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Panya_de_ch1_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Panya_de_ch2_p.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Panya_de_ch3_p.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Panya_de_ch4_p.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Panya_de_ch5_p.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open
Panya_de_ch6_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Panya_de_back_p.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.