Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68835
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทนา จิรธรรมนุกูล-
dc.contributor.authorวัชรินทร์พร พรหมสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-10-28T08:16:12Z-
dc.date.available2020-10-28T08:16:12Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68835-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเตรียมสารเคลือบผิวให้มีสมบัติหน่วงไฟและสะท้อนน้ำเพื่อนำไปใช้ตกแต่งสำเร็จผ้าพอลิเอสเทอร์ให้หน่วงไฟและสะท้อนน้ำด้วยเทคนิคการบ่มสารเคลือบผิวด้วยรังสียูวี โดยสารเคลือบผิวหน่วงไฟที่สามารถบ่มได้ด้วยรังสียูวีเตรียมได้จากมอนอเมอร์ไทรเมทิลอลโพรเพนไทรอะคริเลตกับมอนอเมอร์ไวนิลฟอสฟอนิกแอซิดร่วมกับตัวริเริ่มปฏิกิริยาทางแสงปริมาณ 3%โดยน้ำหนักและตัวเจือจางเอทานอล โดยศึกษาชนิดของตัวริเริ่มปฏิกิริยาทางแสงต่อสมบัติหน่วงไฟของสารเคลือบผิวและศึกษาสมบัติทางความร้อนของสารเคลือบผิวด้วยเทคนิค TGA โดยสารเคลือบผิวหน่วงไฟที่เตรียมได้เป็นสารหน่วงไฟประเภทฟอสฟอรัสซึ่งมีกลไกหน่วงไฟแบบ condensed phase และศึกษาการเตรียมสารเคลือบผิวสะท้อนน้ำที่สามารถบ่มได้ด้วยรังสียูวีจากยูรีเทนอะคริเลตกับมอนอเมอร์ฟลูออริเนตเตดร่วมกับตัวริเริ่มปฏิกิริยาทางแสงปริมาณ 5%โดยน้ำหนัก และตัวเจือจางเอทานอล จากนั้นนำสูตรสารเคลือบผิวที่เตรียมได้ทั้งหน่วงไฟและสะท้อนน้ำไปใช้ตกแต่งสำเร็จบนผ้าพอลิเอสเทอร์ด้วยเทคนิคการบ่มสารเคลือบผิวด้วยรังสียูวี ทดสอบสมบัติหน่วงไฟและสะท้อนน้ำเปรียบเทียบกับผ้าพอลิเอสเทอร์ที่ไม่ได้ผ่านการตกแต่งสำเร็จ โดยการสังเกตพฤติกรรมการลุกลามของเปลวไฟแนว 45 องศา, ทดสอบหาค่า LOI, วัดมุมสัมผัสน้ำและตรวจสอบระยะเวลาของหยดน้ำซึมผ่านผิวผ้า รวมทั้งศึกษาลักษณะพื้นผิวของเส้นใยของผ้าพอลิเอสเทอร์ที่ผ่านการตกแต่งสำเร็จด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (SEM) พบว่าสารเคลือบที่ใช้ตกแต่งสำเร็จผ้าพอลิเอสเทอร์จะเกิดเป็นชั้นฟิล์มปกคลุมทั่วพื้นผิวของเส้นใย ผ้าพอลิเอสเทอร์ที่ผ่านการตกแต่งสำเร็จด้วยเทคนิคการบ่มสารเคลือบผิวด้วยรังสียูวีให้สมบัติหน่วงไฟที่ดี สามารถต้านการลุกลามของเปลวไฟแนว 45 องศาและดับไฟได้ด้วยตัวเอง และสามารถชะลอการซึมน้ำบนผ้าได้เนื่องจากชั้นฟิล์มที่เกิดขึ้นจะปกคลุมช่องว่างของพื้นผิวของเส้นใยทำให้น้ำซึมผ่านได้ช้าลง และทำการศึกษาประยุกต์การตกแต่งสำเร็จหน่วงไฟด้วยเทคนิคการบ่มสารเคลือบผิวด้วยรังสียูวีร่วมกับการตกแต่งสำเร็จสะท้อนน้ำทางการค้าประเภทสารประกอบฟลูออโรคาร์บอนด้วยเทคนิคจุ่มอัด (pad-dry-cure) พบว่าที่ผ้าพอลิเอสเทอร์หลังผ่านการตกแต่งสำเร็จยังคงให้สมบัติหน่วงไฟที่ดี และสามารถสะท้อนน้ำได้โดยมีค่ามุมสัมผัสน้ำสูงถึง 120 องศาen_US
dc.description.abstractalternativeงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการเตรียมสารเคลือบผิวให้มีสมบัติหน่วงไฟและสะท้อนน้ำเพื่อนำไปใช้ตกแต่งสำเร็จผ้าพอลิเอสเทอร์ให้หน่วงไฟและสะท้อนน้ำด้วยเทคนิคการบ่มสารเคลือบผิวด้วยรังสียูวี โดยสารเคลือบผิวหน่วงไฟที่สามารถบ่มได้ด้วยรังสียูวีเตรียมได้จากมอนอเมอร์ไทรเมทิลอลโพรเพนไทรอะคริเลตกับมอนอเมอร์ไวนิลฟอสฟอนิกแอซิดร่วมกับตัวริเริ่มปฏิกิริยาทางแสงปริมาณ 3%โดยน้ำหนักและตัวเจือจางเอทานอล โดยศึกษาชนิดของตัวริเริ่มปฏิกิริยาทางแสงต่อสมบัติหน่วงไฟของสารเคลือบผิวและศึกษาสมบัติทางความร้อนของสารเคลือบผิวด้วยเทคนิค TGA โดยสารเคลือบผิวหน่วงไฟที่เตรียมได้เป็นสารหน่วงไฟประเภทฟอสฟอรัสซึ่งมีกลไกหน่วงไฟแบบ condensed phase และศึกษาการเตรียมสารเคลือบผิวสะท้อนน้ำที่สามารถบ่มได้ด้วยรังสียูวีจากยูรีเทนอะคริเลตกับมอนอเมอร์ฟลูออริเนตเตดร่วมกับตัวริเริ่มปฏิกิริยาทางแสงปริมาณ 5%โดยน้ำหนัก และตัวเจือจางเอทานอล จากนั้นนำสูตรสารเคลือบผิวที่เตรียมได้ทั้งหน่วงไฟและสะท้อนน้ำไปใช้ตกแต่งสำเร็จบนผ้าพอลิเอสเทอร์ด้วยเทคนิคการบ่มสารเคลือบผิวด้วยรังสียูวี ทดสอบสมบัติหน่วงไฟและสะท้อนน้ำเปรียบเทียบกับผ้าพอลิเอสเทอร์ที่ไม่ได้ผ่านการตกแต่งสำเร็จ โดยการสังเกตพฤติกรรมการลุกลามของเปลวไฟแนว 45 องศา, ทดสอบหาค่า LOI, วัดมุมสัมผัสน้ำและตรวจสอบระยะเวลาของหยดน้ำซึมผ่านผิวผ้า รวมทั้งศึกษาลักษณะพื้นผิวของเส้นใยของผ้าพอลิเอสเทอร์ที่ผ่านการตกแต่งสำเร็จด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (SEM) พบว่าสารเคลือบที่ใช้ตกแต่งสำเร็จผ้าพอลิเอสเทอร์จะเกิดเป็นชั้นฟิล์มปกคลุมทั่วพื้นผิวของเส้นใย ผ้าพอลิเอสเทอร์ที่ผ่านการตกแต่งสำเร็จด้วยเทคนิคการบ่มสารเคลือบผิวด้วยรังสียูวีให้สมบัติหน่วงไฟที่ดี สามารถต้านการลุกลามของเปลวไฟแนว 45 องศาและดับไฟได้ด้วยตัวเอง และสามารถชะลอการซึมน้ำบนผ้าได้เนื่องจากชั้นฟิล์มที่เกิดขึ้นจะปกคลุมช่องว่างของพื้นผิวของเส้นใยทำให้น้ำซึมผ่านได้ช้าลง และทำการศึกษาประยุกต์การตกแต่งสำเร็จหน่วงไฟด้วยเทคนิคการบ่มสารเคลือบผิวด้วยรังสียูวีร่วมกับการตกแต่งสำเร็จสะท้อนน้ำทางการค้าประเภทสารประกอบฟลูออโรคาร์บอนด้วยเทคนิคจุ่มอัด (pad-dry-cure) พบว่าที่ผ้าพอลิเอสเทอร์หลังผ่านการตกแต่งสำเร็จยังคงให้สมบัติหน่วงไฟที่ดี และสามารถสะท้อนน้ำได้โดยมีค่ามุมสัมผัสน้ำสูงถึง 120 องศาen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพอลิเอสเทอร์en_US
dc.subjectผ้าพอลิเอสเทอร์en_US
dc.titleการตกแต่งสำเร็จผ้าพอลิเอสเทอร์ให้หน่วงไฟและสะท้อนน้ำด้วยสารเคลือบผิวที่บ่มด้วยรังสียูวีen_US
dc.title.alternativeFlame retardant and water repellent polyester finishing by UV curable coatingsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNantana.Ji@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5372526323.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.