Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68876
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล-
dc.contributor.advisorเจริญ นิติธรรมยง-
dc.contributor.authorพิพัฒน์ เวฬุคามกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-10-29T06:35:29Z-
dc.date.available2020-10-29T06:35:29Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9746397095-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68876-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractศึกษาผลของความเค็มและระดับของโปรตีนในอาหารต่อการจัดสรรพลังงานของกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon ในระยะวัยรุ่น (น้ำหนัก 0.6 - 0.7 กรัม ความยาว 4.0 - 5.5 เซนติเมตร) โดยใช้อาหารสำเร็จรูปชนิด เม็ด ออกแบบการทดลองแบบ factorial design ที่มีความเค็ม 3 ระดับ (10, 20 และ 30 ppt) และโปรตีน 3 ระดับ (25, 35 และ 45 %) ทุกชุดการทดลองทำ 3 ซ้ำ ก่อนการทดลองทำการปรับสภาพกุ้งให้กุ้งเคยชินกับภาวะของการทดลองเป็นเวลา 1 เดือน ผลการทดลองพบว่า ความเค็มไม่มีปฏิสัมพันธ์กับระดับของโปรตีนต่อการจัดสรรพลังงานของกุ้งกุลาดำ เมื่อพิจารณาเฉพาะผลของความเค็มพบว่า มีผลต่อพลังงานที่สูญเสียไปในรูปของคราบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โดยที่ความเค็ม 10 20 และ 30 ppt มีพลังงานที่สูญเสียไปในรูปของคราบสูง สุดและลดลงตามลำดับ แต่ไม่มีผลต่ออัตรารอด พลังงานจากการบริโภค พลังงานที่ใช้ในการเติบโต พลังงานที่ใช้ในการหายใจ พลังงานที่สูญเสียไปในรูปของแอมโมเนีย และพลังงานที่สูญเลียไปในรูปของอุจจาระ ส่วนระดับ ของโปรตีนนั้นพบว่า มีผลต่อพลังงานที่ใช้ในการเติบโตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โดยที่ระดับโปรตีน 45 35 และ 25% มีค่าพลังงานที่ใช้ในการเติบโตสูงสุดและลดลงตามลำดับ แต่ระดับของโปรตีนไม่มีผลต่อพลังงานจากการบริโภค พลังงานที่ใช้ในการหายใจ พลังงานที่สูญเสียไปในรูปของแอมโมเนีย พลังงานที่สูญเสีย ไปในรูปของอุจจาระ และพลังงานที่สูญเสียไปในรูปของคราบ จากการทดลองสามารถอธิบายการจัดสรรพลังงาน ในภาวะของความเค็ม (20 ppt) และระดับของโปรตีน (35 %) ที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในระยะวัยรุ่น ได้ดังนี้ ใช้ในการเติบโต 15.39 % การหายใจ 14.88 % สูญเสียไปในรูปของแอมโมเนีย 0.98 % สูญเสียไปในรูปของ อุจจาระ 56.42% สูญเสียไปในรูปของคราบ 0.65% และสูญเสียพลังงานไปในขั้นตอนของการกิน 11.68 % ทั้งนี้ สำหรับความเค็มที่เพิ่มขึ้น (30 ppt) หรือลดลง (10 ppt) และระดับโปรตีนในอาหารคงเดิม จะมีการสูญเลีย พลังงานในรูปของแอมโมเนีย การหายใจ และอุจจาระเพิ่มขึ้น ทำให้พลังงานที่เหลือสำหรับการเติบโตลดลง-
dc.description.abstractalternativeEffects of salinity and dietary protein on energy budget of juvenile Penaeus monodon (0.6 - 0.7 g ; 4.0 - 5.5 cm) using artificial diets were studied using 3x3 factorial design with 3 levels of salinity (10, 20 and 30 ppt) and 3 levels of dietary protein (25, 35 and 45%). Experiments were done in triplicates. Prior to the experiments, prawns were acclimatized for a month to the experimental conditions. No interaction between salinity and dietary protein was found. All 3 levels of salinity affected molting loss differently (P<0.05). Molting loss was highest at 10 ppt and decrease as salinity increased. No effect of salinity on survival rate energy of consumption, growth, ammonia excretion, respiration and fecal loss. Effect of dietary protein on growth was found (P<0.05) : the higher the dietary protein, the higher the energy for growth. No effects of dietary protein were found on energy of feed consumption, respiration, ammonia excretion, fecal loss and molting loss. Energy budget of juvenile in the suitable conditions (20 ppt with 35 ppt protein in the diet) could be explained as using energy for growth 15.39%, respiration 14.88%, ammonia excretion 0.98%, fecal loss 56.42%, molting loss 0.65% with 11.68% of energy was lost during feeding. เท the low and high salinity (10 and 30 ppt) while receiving the same level of protein in the diet, juvenile prawn will lose more energy in ammonia excretion, respiration and fecal loss with less energy available for growth.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกุ้งกุลาดำen_US
dc.subjectโปรตีนen_US
dc.subjectความเค็มen_US
dc.subjectชีวพลังงานศาสตร์en_US
dc.titleอิทธิพลของความเค็มและระดับของโปรตีนต่อการจัดสรรพลังงานของกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon ในระยะวัยรุ่นen_US
dc.title.alternativeEffect of salinity and protein levels on energy budget of juvenile black tiger shrimp Penaeus monodonen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSomkiat.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorNcharoen@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pipat_wa_front_p.pdf930.57 kBAdobe PDFView/Open
Pipat_wa_ch1_p.pdf689.8 kBAdobe PDFView/Open
Pipat_wa_ch2_p.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_wa_ch3_p.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_wa_ch4_p.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Pipat_wa_ch5_p.pdf989.96 kBAdobe PDFView/Open
Pipat_wa_ch6_p.pdf632.98 kBAdobe PDFView/Open
Pipat_wa_back_p.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.