Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68883
Title: การปรับปรุงสมบัติไม่ชอบน้ำของผ้าอิเล็กโทรสปันพอลิแล็กติกแอซิดโดยการปรับสภาพด้วยพลาสมา
Other Titles: Improvement of hydrophobic property of electrospun poly(lactic acid) fabrics by plasma treatment
Authors: นลินทิพย์ ช่างสาร
Advisors: บุญโชติ เผ่าสวัสดิ์ยรรยง
วรวรรณ พันธุมนาวิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เส้นใย
กรดแล็กติก
Fibers
Lactic acid
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความขรุขระในระดับนาโนเมตรและไมโครเมตรและสมบัติไม่ชอบน้ำของแว๊กซ์ที่มีขนาดนาโนเมตรจะลดพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างหยดน้ำและผิวของใบบัวทำให้เกิดสมบัติไม่ชอบน้ำยิ่งยวด โครงสร้างบนผิวของใบบัวจึงถูกเลียนแบบเพื่อใช้ในการปรับปรุงสมบัติไม่ชอบน้ำของพอลิแล็กติกแอซิด พอลิแล็กติกแอซิดจะถูกเตรียมด้วยเทคนิคอิเล็กโทรสปินนิงแล้วนำมาอาบพลาสมาของแก๊สซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์เพื่อปรับปรุงสมบัติไม่ชอบน้ำ ใช้เทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดศึกษาลักษณะของแผ่นเส้นใยที่เตรียมได้ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นหลังอาบพลาสมาด้วยอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี เอกซ์-เรย์โฟโตอิเล็กตรอนสเปกโทรสโกปี และอิเล็กตรอนโพรบไมโครอนาลิซิส พบว่าผิวของแผ่นเส้นใยที่มีความขรุขระจะทำให้น้ำสัมผัสกับผิวแผ่นเส้นใยได้น้อยลง อะตอมของฟลูออรีนที่ถูกเหนี่ยวนำลงบนผิวของแผ่นเส้นใยหลังอาบพลาสมาของแก๊สซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์เป็นผลให้พลังงานผิวลดลง ดังนั้นในงานนี้จึงประสบความสำเร็จในการใช้เทคนิคอิเล็กโทรสปินนิงและกระบวนการอาบพลาสมาของแก๊สซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์เพื่อเพิ่มสมบัติไม่ชอบน้ำยิ่งยวดของผ้าอิเล็กโทรสปันพอลิแล็กติกแอซิด
Other Abstract: The microstructure and nanostructure roughness and the hydrophobicity of nanoscale wax reduced contact area between water droplets and the leaf’s surface resulting in leading to the generation of the superhydrophobicity. The structure of lotus leaves is mimicted to improvement of hydrophobicity of poly(lactic acid). The electrospun PLA fabrics were fabricated by electrospinning technique and then SF₆ plasma treatment was employed to improve its hydrophobicity surface. The morphology of the electrospun poly(lactic acid) fabrics were observed by scanning electron microscopy. Attenuated total reflection fourier transform infrared spectroscopy, X-ray photoelectron spectroscopy and Electron probe micro analysis were used to determine the changes in surface chemical composition of the treated fabrics. Our result revealed that the rough surface of the electrospun poly(lactic acid) fabrics decreased the contact area with water droplet. The fluorine atoms were introduced onto the electrospun surface after SF₆ plasma treatment, resulting in a decrease in its surface energy. Therefore the superhydrophobicity of the electrospun poly(lactic acid) fabrics were successfully fabricated via electrospinning and SF₆ plasma treatment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68883
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5272362623.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.