Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68909
Title: การศึกษาการกระจายความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในบริเวณภูมิประเทศแบบซับซ้อนโดยใช้เทคนิค CFD
Other Titles: Study of sulfur dioxide concentration distribution in complex terrain using CFD technique
Authors: รวีรัตน์ อิสระธรรมนูญ
Advisors: สมประสงค์ ศรีชัย
วิจิตรา จงวิศาล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Somprasong.S@Chula.ac.th
Vichitra.C@Chula.ac.th
Subjects: ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
พลศาสตร์ของไหล
Computational Fluid Dynamics
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยนี้ได้นำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาใช้ประเมินค่าการกระจายความเข้มข้นของก๊าชซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบริเวณภูมิประเทศแบบซับซ้อน ได้แก่ เทคนิค CFD (Computational Fluid Dynamics) และแบบจำลอง VALLEY โดยที่เทคนิค CFD ใช้หลักพื้นฐานกลศาสตร์การไหลของของไหล (Fundamental Fluid Dynamics) ซึ่งใช้ชุดสมการอนุรักษ์เบื้องต้น 3 สมการได้แก่ สมการความต่อเนื่อง (Continuity equation) สมการอนุรักษ์โมเมนตัม (Momentum equation) สมการอนุรักษ์พลังงาน (Equation of energy conservation) นอกจากยังรวมถึงแบบจำลองการไหลแบบปั่นป่วน (Turbulent flow model; k-ε) ใช้ในกรณีที่เป็นการไหลแบบปั่นป่วน เทคนิค CFD นี้ต้องกำหนดสภาวะเงื่อนไขเริ่มต้น (Initial condition) และสภาวะเงื่อนไขขอบเขต (Boundary' condition) ให้เหมาะสม นอกจากนี้งานวิจัยนี้ได้นำแบบจำลอง VALLEY มาประเมินความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ด้วย ซึ่งแบบจำลองนี้ใช้หลักการการแพร่กระจายของเกาส์เซียน (Gaussian dispersion) โดยมีการปรับปรุงให้สามารถใช้ได้กับภูมิประเทศแบบซับซ้อน ข้อมูลที่สำคัญของแบบจำลอง VALLEY นี้ คือข้อมูลทางด้านอุตุนิยมวิทยา และข้อมูลทางภูมิประเทศ การประเมินความเข้มข้นสูงสุดใน 24 ชั่วโมงของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบริเวณอำเภอแม่เมาะ เนื่องจากการระบายก๊าชซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากปล่องโรงไฟ้ฟ้า โดยใช้เทคนิค CFD และ VALLEY Model มาเปรียบเทียบกัน ในช่วงเวลาต่างกัน 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูหนาว ช่วงวันที่ 1-14 พฤศจิกายน 2540 และฤดูร้อน ช่วงวันที่ 1-14 มีนาคม 2541 ที่ตำแหน่งเปรียบเทียบ 5 ตำแหน่งที่แตกต่างกัน ผลการ เปรียบเทียบพบว่า ในฤดูหนาว จุดเปรียบเทียบที่ 1 ถึง 4 ความเข้มข้นสูงสุดในแต่ละวันของก๊าชซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่คำนวณจากแบบจำลอง VALLEY มีค่าในช่วง 1.14x10-1 ถึง 3.50x10-1 ส่วนในล้านส่วน มากกว่าความเข้มข้นที่คำนวณจากเทคนิค CFD ซึ่งมีค่าในช่วง 1x10-1 ถึง 3.04x10-1 ส่วนในล้านส่วนในฤดูร้อน จุดเปรียบเทียบที่ 1 ถึง 4 ความเข้มข้นสูงสุดใน 24 ชั่วโมง ที่คำนวณจาก VALLEY มีค่าในช่วง 2.61x10-1 ถึง 1.82x10-2 ส่วนในด้านส่วน มากกว่าความเข้มข้นสูงสุดใน 24 ชั่วโมง ที่ได้จาก CFD ซึ่งมีค่าในช่วง 1x10-1 ถึง 7.65x10-1 ส่วนในด้านส่วน และในจุดเปรียบเทียบที่ 5 ซึ่งอยู่ในแนวปล่อง ในฤดูหนาว ความเข้มข้นสูงสุดใน 24 ชั่วโมง ที่ได้จาก CFD มีค่าในช่วง 1.26x10-1 ถึง 2.71 ส่วนในล้านส่วน มากกว่าที่ได้จาก VALLEY ซึ่ง มีค่า 6.33x10-2 ส่วนในล้านส่วน และในฤดูร้อนความเข้มข้นสูงสุดใน 24 ชั่วโมงที่คำนวณจาก VALLEY มีค่า 8.37x10-2 PPM น้อยว่าความเข้มข้นสูงสุดใน 24 ชั่วโมง ที่คำนวณจาก CFD ซึ่งมีค่าในช่วง 1.18x10-1 ถึง 2.82x10-1 ส่วนในล้านส่วน เนื่องจากข้อจำกัดด้านข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ข้อมูลความเร็วและทิศทางลมที่ได้จากกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีการบันทึกทุก ๆ 3 ชั่วโมง และค่าที่บันทึกส่วนใหญ่เป็นค่าในช่วงความเร็วสงบ ดังนั้นความเข้มข้นที่คำนวณอาจจะมีความคาคเคลื่อนจากความเป็นจริง นอกจากนี้ควรจะมีข้อมูลความเข้มข้นสูงสุดที่ได้จากการตรวจวัดจริง เพื่อยืนยันผลการคำนวณและสรุปได้ว่าวิธีการใดที่จะให้ผลการคำนวณที่ใกล้เคียงกับผลการตรวจวัดมากกว่ากัน
Other Abstract: In this study, CFD (Computational Fluid Dynamics) technique and VALLEY Model were used for determining the sulfur dioxide concentration distribution in complex terrain. CFD is based on Fundamental of Fluid Dynamics, consisting of 3 basic equations, namely, continuity equation, momentum equation and equation of energy conservation. Moreover, turbulent flow model is used in the case of turbulent flow. On the other hands, VALLEY Model is a screening model used by US.EPA for estimating the sulfur dioxide concentration in complex terrain. This model is derived from Gaussian dispersion equation and algorithm of the geometry of domain. The most important input data are the topographical data and the meteorological data. The estimated sulfur dioxide ground-level concentration resulting from gaseous emission from the stack of Mae Moh Power Plant were estimated by the two methods in 2 seasons, i.e., in winter (1-14 November, 1997) and in summer (1- 14 March, 1998) at various 5 stations. In winter, at stations 1 to 4, the maximum 24-hr concentration calculated by VALLEY were in the range of 1.14x10-2 to 3.50x10-1 PPM, higher than those calculated by CFD which were 1x10-4 to 3.04x10-3 PPM. In summer, at the station 1 to 4, the maximum 24-hr concentration calculated by VALLEY were about 2.61x10-3 to 1.82x10-2 PPM, higher than those calculated by CFD which were 1x10-4 to 7.65x10-3 PPM. At station 5 which were located downwind from the stack in both seasons, in winter, the concentration calculated by VALLEY was 6.33x10-2 PPM, lower than those calculated by CFD which was 1.26x10-1 to 2.71 PPM. On the other hands, in summer, the concentration estimated by VALLEY was about 8.37x10-1 PPM, lower that those estimated by CFD, which were 1.18x10-3 to 2.82x10-1 PPM. The estimated values by VALLEY seemed to be always higher than those predicted by CFD technique because of the different basic equations and the methods of calculation. Unfortunately, the measured concentration of sulfur dioxide in the study area is not available for comparing with the predicted values to determine the accuracy of the calculating results from the two approaches.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68909
ISBN: 9743321527
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Raweeratt_is_front_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Raweeratt_is_ch1_p.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Raweeratt_is_ch2_p.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Raweeratt_is_ch3_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Raweeratt_is_ch4_p.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open
Raweeratt_is_ch5_p.pdf751.53 kBAdobe PDFView/Open
Raweeratt_is_back_p.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.