Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68968
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเจริญขวัญ ไกรยา-
dc.contributor.authorไพรสุวรรณ คะณะพันธ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-10-30T09:14:46Z-
dc.date.available2020-10-30T09:14:46Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68968-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractสารประกอบซัลเฟอร์เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่พบมากที่สุดในน้ำมันดีเซล ซึ่งปริมาณซัลเฟอร์ที่อยู่ในน้ำมันจะทำให้เกิดการกัดกร่อนของเครื่องมือและเมื่อถูกเผาไหม้จะเกิดสารประกอบซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) เมื่อปล่อยออกสู่บรรยากาศส่งผลทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศเป็นพิษส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม จึงทำให้สหภาพยุโรป (EU) ได้ตระหนักและพยายามควบคุมปริมาณซัลเฟอร์ในน้ำมันดีเซลให้มีปริมาณต่ำลง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาการตรวจวัดปริมาณซัลเฟอร์ทั้งหมดในดีเซลโดยใช้เทคนิคทางเคมีไฟฟ้า ร่วมกับการพัฒนาขั้วไฟฟ้าเพื่อให้มีความเหมาะสมในการตรวจวัดปริมาณซัลเฟอร์ในดีเซล การศึกษาประกอบด้วย การเลือกตัวทำละลายและอิเล็กโทรไลต์ที่เหมาะสม, ศึกษาสัญญาณไดบิวทิวซัลไฟด์บนขั้วไฟฟ้าชนิดต่างๆ ได้แก่ ขั้วไฟฟ้าคาร์บอนไฟเบอร์, ขั้วไฟฟ้าทอง, ขั้วไฟฟ้าบิสมัท, ขั้วไฟฟ้าฟิล์มทอง, ขั้วไฟฟ้าฟิล์มปรอท และขั้วไฟฟ้าฟิล์มเงิน, หาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการเตรียมขั้วไฟฟ้า, และเปรียบเทียบความไวของเทคนิคระหว่างสแควร์เวฟโวลแทมเมทรีและดิฟเฟอร์เรนเชียลพัลส์ โวลแทมเมทรี การวิจัยพบว่า กรดซัลฟิวริก 55 mM ในตัวทำละลายผสมระหว่างโทลูอีนกับเมทานอล ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 โดยปริมาตร ตรวจวัดสัญญาณด้วยขั้วไฟฟ้าบิสมัท โดยใช้เทคนิคสแควร์เวฟโวลแทมเมทรีให้สัญญาณการตรวจวัดเหมาะสมที่สุด การเตรียมขั้วไฟฟ้าบิสมัทเตรียมในสารละลายบิสมัทความเข้มข้น 0.10 ppm ด้วยศักย์ไฟฟ้าในการเกาะติด -1.0 โวลต์ เป็นเวลา 10 วินาที การทดสอบด้วยเทคนิคโวลแทมเมทรีพบว่าให้ค่าความไวที่ 194.93 nA/ppm, ขีดจำกัดต่ำสุดของการทดสอบเชิงคุณภาพ (LOD) 0.041 ppm และขีดจำกัดต่ำสุดของการทดสอบเชิงปริมาณ (LOQ) 0.135 ppm และวิธีนี้ให้ค่าความเที่ยงดี จากการตรวจวัดปริมาณซัลเฟอร์ทั้งหมดในตัวอย่างน้ำมันดีเซลที่รวบรวมได้จากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จำนวน 10 ตัวอย่าง พบว่าค่าที่ตรวจวัดด้วยขั้วไฟฟ้าบิสมัท โดยใช้เทคนิคสแควร์เวฟโวลแทมเมทรี ให้ค่าที่สอดคล้องและอยู่ในเกณฑ์ดีกับค่าที่ได้จากการตรวจวัดด้วยวิธีมาตรฐาน ASTM D 2622 โดยให้ค่าความคลาดเคลื่อนน้อยกว่า 6.67 เปอร์เซ็นต์ และค่าที่ตรวจวัดได้ด้วยเทคนิคนี้มีค่าต่ำกว่ามาตรฐานยูโร 4 ที่กำหนดใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2555 เป็นต้นมาen_US
dc.description.abstractalternativeSulfur-containing compound is one of the major components presented in commercial diesel fuel. Sulfur-containing compound can cause machine corrosion and can produce SOx when it is combusted. SOx is a well-known toxic air pollutant which severely affects human health and environment when released into the atmosphere. Therefore, European Union (EU) have realized and attempted to gradually decrease the sulfur content limit in diesel fuel. In this work, the detection of total sulfur content in diesel fuel by voltammetric technique coupled with a modified electrode for an appropriate detection was studied. The parameters investigated include solvent type, electrolyte, and electrode materials such as carbon fiber, gold, gold film, bismuth, mercury and silver film electrodes. Optimized conditions for electrode preparation and comparison of the total sulfur response obtained from square-wave voltammetry and differential pulse voltammetry were also established. The results indicate that measurements in 55 mM sulfuric acid in 1:1 toluene:methanol on bismuth electrode using square-wave voltammetry yielded the best response. The bismuth electrode was prepared by electrodeposition at -1.0 V for 10 s in 0.10 ppm bismuth solution. The voltammetric method achieved 194.93 nA/ppm sensitivity, 0.041 ppm LOD, and 0.135 ppm LOQ with good precision. Ten diesel samples collected from northeastern area in Thailand were examined by the proposed method and compared to the standard ASTM D 2622. Less than 6.67% error was achieved, and the detection limit of the proposed method is lower than that of EURO 4 regulation has been enforced in Thailand since January 1, 2012.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกำมะถัน -- การวัด-
dc.subjectน้ำมันดีเซล-
dc.subjectSulfur -- Measurement-
dc.subjectDiesel fuels-
dc.titleการตรวจวัดซัลเฟอร์ทั้งหมดในดีเซลโดยวิธีทางเคมีไฟฟ้าen_US
dc.title.alternativeDetermination of total sulfur in diesel using electrochemical methoden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5372499023.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.