Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69057
Title: การกำจัดปรอทออกจากน้ำเสียโดยการแยกสลายด้วยไฟฟ้า ร่วมกับการตกตะกอนด้วยโซเดียมซัลไฟด์
Other Titles: Removal of mercury from wastewater by electrolysis and precipitation with sodium sulfide
Authors: ศรุตยา ธีระพงศ์ไพบูลย์
Advisors: อมร เพชรสม
ชัชรี สุชาติล้ำพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Amorn.P@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
ปรอท
การแยกสลายด้วยไฟฟ้า
โซเดียมซัลเฟต
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการกำจัดปรอทออกจากน้ำเสียใช้วิธีการแยกสลายด้วยไฟฟ้าร่วมกับการตกตะกอนด้วยโซเดียมซัลไฟด์ โดย ใช้การแยกสลายด้วยไฟฟ้าก่อน เพื่อนำปรอทกลับมาให้ได้มากที่สุด หลังจากนั้นจึงใช้สารละลายโซเดียมซัลไฟด์ตกตะกอน ปรอทส่วนที่เหลือในน้ำเสียปรอทที่ได้จากการแยกสลายด้วยไฟฟ้านำมาวิเคราะห์หาความบริสุทธิ์ โดยเปรียบเทียบกับปรอทมาตรฐานทางทันตกรรมจากการแยกสลายด้วยไฟฟ้าที่สภาวะต่าง ๆ ได้แก่ ความต่างศักย์ 0.5-4 โวลต์ เวลาในการทดลอง 1-5 ชั่วโมง และความเข้มข้นของน้ำเสีย เมื่อเจือจางน้ำเสียด้วยน้ำที่กำจัดอิออนแลัวด้วยสัดส่วนของน้ำเสียต่อนาที่กำจัดอิออนแล้ว เป็น 1:2, 1:4, 1:6, 1:8 และ 1:10 พบว่าความต่างศักย์ 3 โวลต์ และเวลาในการทดลอง 3 ชั่วโมง ทำให้ความเข้มข้นของปรอทในสารละลายเริ่มต้น 8,385 มิลลิกรัม/ลิตร ลดลงเหลือ 137 มิลลิกรัม/ลิตร ในขณะเดียวกันความเข้มข้นของน้ำเสีย 1:6, 1:8 และ 1:10 ทำให้ความเข้มข้นของปรอทในสารละลายมีค่าต่ำที่สุดอยู่ในช่วง 55-60 มิลลิกรัม/ลิตร เพื่อนำน้ำเสียที่ผ่านการแยกสลายด้วยไฟฟ้ามาตกตะกอนด้วยโซเดียมซัลไฟด์ที่ระดับพีเอชและปริมาณโซเดียมซัลไฟด์ต่าง ๆ พบว่าระดับพีเอช 8 และ ปริมาณโซเดียมซัลไฟด์ 1 เท่า ของปริมาณที่คำนวณได้ตามทฤษฎี เป็นสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการตกตะกอนปรอท ทำให้ความเข้มข้นของปรอทในน้ำเสียเริ่มต้น 142 มิลลิกรัม/ลิตร ลดลงเหลือ 0.003 มิลลิกรัม/ลิตร ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานน้ำทิ้ง คือ 0.005 มิลลิกรัม/ลิตร ปรอทที่ได้จากการแยกสลายด้วยไฟฟ้าที่ความต่างศักย์ 3 โวลต์และเวลาในการทดลอง 3 ชั่วโมง มีความบริสุทธิ์ ร้อยละ 99.99815 โดยน้ำหนัก ซึ่งมีความบริสุทธิต่ำกว่าปรอทมาตรฐานทางทันตกรรมคือร้อยละ 99.99905 โดยน้ำหนักดังนั้นการกำจัดปรอทโดยการแยกสลายด้วยไฟฟ้าร่วมกับการตกตะกอนด้วยโซเดียมซัลไฟด์ สามารถลดปริมาณปรอทในน้ำเสียให้ มีค่าต่ำกว่า 0.005 มิลลิกรัม/ลิตร แต่ปรอทที่ได้จากการแยกสลายด้วยไฟฟ้า ยังไม่สามารถนำมาใช้ในงานทางด้านทันตกรรมได้ต้องนำไปผ่านกระบวนการทำให้ปรอทบริสุทธิ์ก่อน
Other Abstract: Removal of mercury from wastewater using two methods ; electrolysis for maximum mercury removal, followed by precipitating with sodium sulfide for further removal. Purity of mercury by electrolysis was compared to dental standard mercury. Electrolysis at voltage of 0.5-4 volt, in 1-5 hours and the concentration of wastewater after diluting with deionized water (at ratio of wastewater : deionized water 1:2, 1:4, 1:6, 1:8 and 1:10) were conducted to find an optimal condition. The result showed that concentration of mercury in solution decreased from 8,385 mg/1 to 137 mg/1 at 3 volts in 3 hours. At the sometime, the concentration of mercury in solution was minimum in range 55-60 mg/1 at 1:6, 1:8 and 1:10 of wastewater: deionized water. Following electrolysis, wastewater was precipitated with sodium sulfide at various pH conditions and sodium sulfide amounts. Experiments indicated that precipitation at pH 8 with a sodium sulfide amount equal to theoretical calculations produces optimum condition for precipitation. This condition can reduce mercury concentration from 142 mg/1 to 0.003 mg/1, which is lower than that of the effluent standard of 0.005 mg/1. Mercury removed by electrolysis using the voltage of 3 volts in 3 hours had a purity of 99.99815% by weight, which is lower than the mercury for dental application standard (99.99905% by weight). Removal of mercury from wastewater by electrolysis and precipitation with sodium sulfide can reduce mercury concentration to below a limit of 0.005 mg/1, however, mercury removed by electrolysis is not suitable for use directly in dental applications. It must be subjected for further purification process.
Description: วิทยานิพนธ์(วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69057
ISBN: 9743321268
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saruttaya_dh_front_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Saruttaya_dh_ch1_p.pdf760.87 kBAdobe PDFView/Open
Saruttaya_dh_ch2_p.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Saruttaya_dh_ch3_p.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Saruttaya_dh_ch4_p.pdf2.42 MBAdobe PDFView/Open
Saruttaya_dh_ch5_p.pdf739.55 kBAdobe PDFView/Open
Saruttaya_dh_back_p.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.