Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69150
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธนิต ธงทอง | - |
dc.contributor.author | สมชาติ มั่นประเสริฐ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-11-06T02:22:54Z | - |
dc.date.available | 2020-11-06T02:22:54Z | - |
dc.date.issued | 2541 | - |
dc.identifier.isbn | 9743315535 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69150 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาแบบจำลองที่ใช้ในการประมาณปริมาณเนื้องานและราคางานก่อสร้าง อาคาร จากข้อมูลปริมาณเนื้องานและราคางานก่อสร้างของโครงการที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นการใช้แบบจำลองในการ ประมาณปริมาณเนื้องานก่อสร้างของอาคารประเภทต่าง ๆ เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการประมาณราคางานก่อสร้าง นอก จากการถอดแบบซึ่งต้องอาศัยผู้ที่มีทักษะเฉพาะด้าน สิ้นเปลืองระยะเวลาและใช้จ่ายมากพอสมควร การวิจัยใช้ข้อมูลงานก่อสร้างอาคารในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ปี พ.ศ. 2525-2541 จำนวน 76 โครงการ สำหรับพัฒนาแบบจำลองที่ใช้ประมาณปริมาณเนื้องานและราคางานก่อสร้างอาคาร และข้อมูลงานก่อสร้างอาคารจำนวน 10 โครงการ สำหรับทดสอบความคลาดเคลื่อนของแบบจำลองดังกล่าว การดำเนินการวิจัยได้แบ่งประเภทของอาคารตาม การใช้สอยและลักษณะของอาคารเป็น 6 ประเภท คือ อพาร์ทเม้นท์ อาคารจอดรถ บ้านพักอาศัย อาคารสูงสำหรับสำนักงาน อาคารสูงสำหรับพักอาศัยและอาคารสำนักงานทั่วไป การพัฒนาแบบจำลองที่ใช้ในการประมาณปริมาณเนื้องานและ ราคางานก่อสร้าง ได้พัฒนาใน 3 วิธีการคือ วิธีการค่าเฉลี่ย (Average Quantity per Construction Area) วิธีวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อน (Multiple Regression) และวิธีการสัดส่วนของส่วนประกอบ (Component Ratio) แบบจำลองที่ใช้ในการประมาณปริมาณเนื้องานและราคางานก่อสร้างโดยวิธีค่าเฉลี่ย ใช้ค่าเฉลี่ยของปริมาณ เนื้องานต่อพื้นที่อาคารในการประมาณปริมาณเนื้องานและราคางานก่อสร้าง แบบจำลองโดยวิธีวิเคราะห์ความถดถอยใช้ ความสัมพันธ์ของปริมาณเนื้องานกับตัวแปรอิสระ 4 ตัวแปร คือ พื้นที่อาคาร จำนวนชั้น จำนวนชั้นใต้ดินและลักษณะ- โครงสร้างพื้น ได้แก่พื้น Post-tension และพื้นสำเร็จรูป ส่วนแนบจำลองโดยวิธีสัดส่วนของส่วนประกอบใช้ค่าสัดส่วน ของปริมาณเนื้องานของรายการงานต่าง ๆ ด้วยกัน จากการทดสอบความคลาดเคลื่อนของแบบจำลองที่ใช้ในการประมาณปริมาณเนื้องานและราคางานก่อสร้าง ทั้ง 3 แบบจำลองโดยใช้ข้อมูล 10 โครงการซึ่งประกอบด้วยอาคารอพาร์ทเม้นท์ 2 โครงการ อาคารจอดรถ 1 โครงการ บ้านพักอาศัย 1 โครงการ อาคารสูงสำหรับสำนักงาน 3 โครงการ อาคารสูงสำหรับพักอาศัย 1 โครงการ และอาคารสำนัก งานทั่วไป 2 โครงการ พบว่าแบบจำลองโดยวิธีวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อนมีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด และใช้ได้ดีกับอาคารอพาร์ทเม้นท์ อาคารสูงสำหรับพักอาศัยและอาคารสำนักงานทั่วไป โดยจากการทดสอบประมาณราคางานก่อสร้างอาคารทั้ง 3 ประเภทดังกล่าว พบค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดเท่ากับ 8 2 และ 9 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนอาคาร ประเภทอื่น ๆ มีค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุด 22 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม แบบจำลองที่ใช้ในการประมาณปริมาณเนื้องาน และราคางานก่อสร้างนี้สามารถปรับปรุงให้มีความแม่นยำมากขึ้น โดยการเพิ่มจำนวนข้อมูลโครงการที่ใช้ในการพัฒนาแบบจำลอง แบ่งประเภทของอาคารให้มีความเหมาะสม และรวบรวมข้อมูลรายละเอียดของอาคารมากขึ้น | - |
dc.description.abstractalternative | This study aims to develop models to be applied for the estimation of building construction work quantity and cost, based upon the data on work quantity and cost obtained from previous construction projects. The model development is proposed as another alternative in estimating the construction work quantity which is to be earned out by a specialist and is both time and cost consuming. Data for this model development are from 76 building constmction projects in Bangkok Metropolitan and surrounding areas implemented between 1982 and 1998. Additional data gained from ten more construction projects have been used to test the validity of this developed models. The buildings as mentioned in this study are divided by area utilization and by type into six categories, i.e. apartment building, parking building, residential building, high-rise office building, high-rise residential building, and other office buildings. There are three methods of the model development for work quantity and cost estimation: average estimation per construction area, multiple regression analysis, and component ratio analysis. According to the average quantity per construction area, average work amount per the total building area will be used for estimating the construction work quantity and cost. By multiple regression analysis, the relationship between the work amount and four variables, i.e. building area, building height (the number of floors), underground levels, and slab structure which includes post-tensioned areas and pre-cast slab areas, are considered. And by the component ratio analysis, the ratio of work components to be carried out in the project is used for construction work and cost estimation. The validity test has been conducted based on the data gained from 10 construction projects, i.e. two apartment buildings, one car parking building, one residential building, three high-rise office buildings, one high-rise residential building, and two office buildings. The test result indicates that lowest deviation was found in the model developed by the multiple regression analysis. This model is therefore appropriate for the apartment building, the high-rise residential building, and the general office building. The highest deviation value of cost estimation found in those buildings were 8, 2 and 9 per cent respectively. For other types of buildings, the highest deviation value was 22 per cent. However, the models for work quantity and cost estimation can be improved to be more accurate. Information on additional construction projects and other relevant details should be provided. The types of buildings be appropriately classified, and the relevant data should be extensively collected. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การก่อสร้าง | en_US |
dc.subject | การก่อสร้าง -- การประมาณราคา | en_US |
dc.subject | การวิเคราะห์การถดถอย | en_US |
dc.subject | Building | en_US |
dc.subject | Building -- Estimates | en_US |
dc.subject | Regression analysis | en_US |
dc.title | การศึกษาแนวทางการประมาณราคางานก่อสร้างอาคารโดยการประมาณปริมาณเนื้องานก่อสร้าง | en_US |
dc.title.alternative | A study on building construction cost estimation using work quantity model approach | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Tanit.T@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somchat_ma_front_p.pdf | หน้าปก และบทคัดย่อ | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somchat_ma_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 800.02 kB | Adobe PDF | View/Open |
Somchat_ma_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somchat_ma_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somchat_ma_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Somchat_ma_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 895.13 kB | Adobe PDF | View/Open |
Somchat_ma_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 10.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.