Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69170
Title: ความนิยมของผู้รับสารที่มีต่อสื่อเทปเพลงไทยที่ดัดแปลงจากเพลงสากล
Other Titles: The popularity of adapted version of Thai popular music
Authors: สุดารัตน์ เศวตะโสภณ
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เพลงดัดแปลง
ความพอใจของผู้บริโภค
ผู้รับสาร
ธุรกิจเทปเพลง
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง ความนิยมของผู้รับสารที่มีต่อสื่อเทปเพลงไทยที่ดัดแปลงจากเพลงสากล ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อและความพึงพอใจของผู้รับสารที่ได้รับจากสื่อเทปเพลงไทยที่ดัดแปลงจากเพลงต่างประเทศ และศึกษาปัจจัยที่ทำให้สื่อเทปเพลงไทยที่ดัดแปลงจากเพลง ต่างประเทศได้รับความนิยม โดยใช้แบบสอบถามผู้ที่ซื้อเทปจำนวน 100คน ซึ่งมีผลการวิจัยดังนี้ กลุ่มเป้าหมายที่ชื้อเทปเพลงดัดแปลงนั้นมีทั้งเพศหญิงและเพศชาย อายุระหว่าง 23-30 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาดี รายได้ค่อนข้างดี มีอาชีพส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน เทปเพลง ประเภทนี้จึงมีกลุ่มผู้สนใจพิเศษเฉพาะกลุ่ม กลุ่มเป้าหมายนั้นมีพฤติกรรมการฟังเพลงไทยสากลเป็นหลัก และนอกจากนั้นยังเป็นกลุ่มที่ฟังเพลงสากลด้วย ดังนั้น อาจซื้อเทปเพลงดัดแปลงนี้จึงเป็นสื่อที่ ซื้อเสริมนอกจากการซื้อเทปเพลงไทยสากลและเพลงสากล จึงถือว่าได้ว่าเป็นทางเลือกหนึ่งของกลุ่มผู้ฟัง ในท่ามกลางตัวเลือกที่มีอยู่ไม่มาก ด้านความพึงพอใจจากเทปเพลงดัดแปลงนั้น กลุ่มเป้าหมายยังไม่พอใจในด้านเนี้อร้อง เนื่องจากเห็นว่าไม่เป็นการสร้างสรรค์เพลงขึ้นมาใหม่ เป็นการนำทำนองเพลงต่างชาติมาใส่เนื้อร้องไทย ทำให้ไม่ภาคภูมิใจในการลอกเลียนแบบต่างชาติมา ในด้านนักร้องที่ร้องเพลงดัดแปลงนั้นจะเป็นคนที่มีผลงานเพลงอยู่แล้ว ผู้ซื้อเห็นว่าเพลงดัดแปลงไม่ได้แตกต่างไปจากเพลงไทยสากลทั่วไปมากนัก ในด้านทำนองและดนตรีนั้น ผู้ที่ชื้อเทปเพลงดัดแปลง ยังเห็นว่า ทำนองและดนตรี ของเพลงที่ดัดแปลงแล้ว เมื่อเทียบกับต้นฉบับแล้ว ยังดีน้อยกว่าเพลงต้นฉบับ และการนำเพลงสากลมาดัดแปลงนั้น ทำให้วงการเพลงไทยไม่มีการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา เป็นการเลียนแบบต่างชาติ สำหรับปัจจัยทางด้านส่วนผสมทางการตลาด ที่ทำให้เกิดการบริโภคจากกลุ่มเป้าหมาย นั้น ปัจจัยด้านผลิตกัณฑ์มีผลต่อผู้รับสาร มากที่สุด (60%) ซึ่งประกอบด้วย แนวเพลง ทำนองและดนตรี เนื้อร้อง ตามลำดับ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) เป็นปัจจัยสำคัญรองลงมา ส่วนปัจจัยด้านราคาและสถานที่จำหน่ายนั้น เกือบไม่มีผลต่อการบริโภคของกลุ่มเป้าหมายเลย
Other Abstract: The objectives of “The popularity of adapted version of thai popular music” is to study the benefits of the adapted version of thai popular music and the receivers’ satisfaction and to study the factors effected to the popularity of adapted version of thai popular music. The results are the targets who bought the adapted version of thai popular music were both male and female, age between 23-30 years old, single, good education, rather good income and working as employees at private company. They are specific group who was interested in adapted version of thai popular music. Their music listening’s behavior was mainly listen thai music and the international music as well. Therefore the buying the adapted version of thai popular music is the an added choice media besides buying thai music and the international music. Thus this sort of media is another choice among a few choices for listeners. Regarding the targets’ satisfaction, The targets were not satisfied with the lyrics because it wasn’t created any new song, just only the international song in thai words. This is an imitation. About the singers, most of then have already had their own albums. The buyers’ opinion was the adapted version of thai popular music was similar to the international music. For the rhythm and melody 1 the opinion shows that the original song was better. Moreover the production of adapted version of thai popular music be could bring about the less creativity and imitation among the thai music circle. The buying factors in marketing mixed, the products was the most effected (60%) which consits of the kind of music, melody and rhythm, lylics, singer and the cover in order. The promotion factors was less important, then the price factor and the selling area were hardly important.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69170
ISBN: 9743325115
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudarat_se_front_p.pdf988.11 kBAdobe PDFView/Open
Sudarat_se_ch1_p.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_se_ch2_p.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_se_ch3_p.pdf751.92 kBAdobe PDFView/Open
Sudarat_se_ch4_p.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_se_ch5_p.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
Sudarat_se_back_p.pdf973.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.