Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69217
Title: การคุ้มครองสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์
Other Titles: The protection of design right
Authors: อาจารีย์ พ่วงมหา
Advisors: ธัชชัย ศุภผลศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ทรัพย์สินทางปัญญา
ลิขสิทธิ์
การคุ้มครองแบบผลิตภัณฑ์
การออกแบบอุตสาหกรรม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงรูปแบบของการให้ความคุ้มครองสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์ เนื่องจากมีความแตกต่างกันของกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่แบบผลิตภัณฑ์ในแต่ละประเทศ โดยอาจได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายสิทธิบัตร (patent law) กฎหมายว่าด้วยแบบผลิตภัณฑ์ (design law) หรือกฎหมายลิขสิทธิ์ (copyright law) ก็ได้ ในประเทศไทยนั้นยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องรูปแบบของการให้ความคุ้มครองแก่แบบผลิตภัณฑ์แต่อย่างใด จากการศึกษาพบว่าปัญหาในการให้ความคุ้มครองสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์ ก็คือ แบบผลิตภัณฑ์อาจได้รับความคุ้มครองซํ้าซ้อนทั้งจากกฎหมายเกี่ยวกับแบบผลิตภัณฑ์ (กล่าวคือกฎหมายสิทธิบัตรหรือกฎหมายว่าด้วยแบบผลิตภัณฑ์) และจากกฎหมายลิขสิทธิ์ในฐานะงานศิลปกรรมได้อีกด้วย ซึ่งเป็นผลให้แบบผลิตภัณฑ์นั้นได้รับความคุ้มครองมากเกินไป อันขัดขวางต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมายเกี่ยวกับแบบผลิตภัณฑ์ ที่มุ่งคุ้มครองแบบผลิตภัณฑ์ในระยะเวลาพอสมควรเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค ปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือแบบผลิตภัณฑ์ที่มุ่งต่อการทำงาน (functional design) อาจจะไม่ได้รับ ความคุ้มครองเลยหากไม่มีต้นร่างอันมีลักษณะเป็นงานศิลปกรรมตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ในต่างประเทศมีวิวัฒนาการในการแก้ปัญหาเหล่านี้ออกเป็นสองแนวทาง คือ แนวทางที่จำกัดไม่ให้แบบผลิตภัณฑ์ได้รับความคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์เลย กับแนวทางที่ยอมรับว่าแบบผลิตภัณฑ์อาจได้รับความคุ้มครองโดยลิขสิทธิ์ได้ แต่กำหนดข้อจำกัดในการให้ความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ให้มากที่สุด ซึ่งแนวทางที่สองนี้เป็นแนวทางที่ยอมรับกันทั่วไป หากแต่มีหลักการแตกต่างกันในแต่ละประเทศ วิทยานิพนธ์นี้เสนอให้มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักเกณฑ์ในการคุ้มครองสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์ตามกฎหมายไทยให้มีความชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยการกำหนดให้ต้นร่างความคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และหากเป็นกรณีที่นำงานศิลปกรรมมาประยุกต์ใช้เป็นแบบผลิตภัณฑ์ก็ให้ลดอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมนั้นลงเพื่อขจัดปัญหาการให้ความคุ้มครองซ้ำซ้อน รวมทั้งเสนอให้ป้องกันการผูกขาดตลาดอะไหล่ของแบบผลิตภัณฑ์ โดยนำหลักการไม่ให้ความคุ้มครองแก่อะไหล่ที่มีลักษณะเป็นส่วนเชื่อมต่อกันกับแบบผลิตภัณฑ์อื่น (must-fit) หรือมีลักษณะ เป็นส่วนหนึ่งของแบบผลิตภัณฑ์ (must-match) มาใช้ ตลอดจนกำหนดให้มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเชิงบังคับ (compulsory license) และ license of right เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการกำหนดสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ขึ้นคือ สิทธิในแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้จดทะเบียน (unregistered design right) เพื่อให้ความคุ้มดรองแก่แบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่อาจขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ใด้
Other Abstract: This thesis studies researching the proper forms or criteria of laws to protect “design right", which vary in different countries. While some countries protect design right through patent law, other through design law or copyright law. As for Thailand, a problem has arised regarding the appropriate law to protect the design right. The study reveals that one legal problem of protecting design right is the right of design owner is double protected both by the laws on design (patent law and design law) and by copyright law ( as an artistic work ).The dual protection, therefore, grants an over-protection to the owner of design right, which is against the intention of the laws on design which intend to protect the right only for some limited time and for the good of the public. Another problem is that "functional design", a kind of design rights, is not protected by patent law. The protection on the said design is provided only where there is an expression of idea of the design in form of an artistic work. Under foreign laws, two measures are developed to cope with the problems. The first one is the idea that design right owners should be protected through the laws on design only. The second one, which is generally accepted by most countries though details of which are different, is that the design right owners may be protected not only through the laws on design but also through, with a most limited scope, copyright law. This thesis proposes several points to improve the present Thai law to be more proper and efficient. Firstly, it proposes that the expression of idea created to be a model or a design document of a product design not be protected under copyright law. Secondly, the time granted for exclusive right in artistic work under copyright law be shortened if the artistic work is applied to be a part or in connection with a product design. Thirdly, to eliminate the problem of the monopoly เท spare parts of the products under design, which greatly affects the public, the thesis suggests that spare parts adjoining other product designs(must-fit) or being an integrated part of the products under design (must-match) should not be protected and that provisions of "compulsory license” as well as "license of right” should be applied to the present laws. Additional issue mentioned in this thesis is an introduction of new provision of “unregistered design right” to be applied to Thai law so that some kinds of design rights unregistrable under the present law may be protected as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69217
ISBN: 9746390678
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ajaree_ph_front_p.pdf945.22 kBAdobe PDFView/Open
Ajaree_ph_ch1_p.pdf910.07 kBAdobe PDFView/Open
Ajaree_ph_ch2_p.pdf6.4 MBAdobe PDFView/Open
Ajaree_ph_ch3_p.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
Ajaree_ph_ch4_p.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Ajaree_ph_ch5_p.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open
Ajaree_ph_back_p.pdf788.09 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.