Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69227
Title: การตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศภายในอาคาร โดยใช้ท่อบรรจุตัวดูดซับชนิดของแข็ง
Other Titles: Determination of formaldehyde in indoor air using solid adsorbent cartridge
Authors: ลิขิต ศรีประเสริฐสุข
Advisors: วราภรณ์ ลีพิพัฒน์ไพบูลย์
นพภาพร พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Varaporn.L@Chula.ac.th
Noppaporn.P@Chula.ac.th
Subjects: ฟอร์มัลดีไฮด์
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศภายในห้องที่ทำการศึกษาทั้ง 3 ห้องซึ่งได้แก่ ห้องดองสัตว์ ภาควิชาชีววิทยา ห้องพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และห้องเก็บสารเคมี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการโดยแบ่งขั้นตอนการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ การสำรวจเบื้องต้นเพื่อให้ทราบถึงปริมาณการใช้สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ภายในห้องต่าง ๆ สภาพห้องรวมทั้งลักษณะการใช้งาน ลักษณะการจัดเก็บสาร การตรวจวัดและวิเคราะห์หาระดับความความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศภายในห้องที่ทำการศึกษา และการแก้ไขโดยเปิดพัดลมระบายอากาศเพื่อลดระดับความความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศภายในห้องดองสัตว์ และห้องเจ้าหน้าที่ที่อยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการตรวจวัดฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศภายในห้องที่ทำการศึกษาทั้ง 3 ห้องพบว่า ระดับความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศภายในห้องทั้งสามมีค่าตํ่ากว่าค่ามาตรฐานความเข้มข้นสูงสุด 30 นาที ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ และระดับความเข้มข้น ของฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศในห้องที่ทำการศึกษาทั้ง 3 ห้องในแต่ละเดือนมีความแตกต่างกันเนื่องจากกิจกรรมที่ กระทำภายในห้องแต่ละห้องที่ทำการศึกษาในแต่ละเดือนนั้นแตกต่างกัน นอกจากนี้ปริมาณการใช้สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ในแต่ละห้องกับระดับความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศในห้องแต่ละห้องมีความสัมพันธ์กัน สูงในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการศึกษาปัจจัยด้านอุณหภูมิและ ความชื้นสัมพัทธ์ ในช่วงอุณหภูมิ 29-32 องศาเซลเซียสและความชื้นสัมพัทธ์ในช่วง 79-91 เปอร์เซ็นต์ พบว่า อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ไม่มีผลต่อระดับความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮต์ในอากาศที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการแก้ไขโดยการระบายอากาศออกจากห้องดองสัตว์ แล้วทำการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของ ฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศภายในห้องระหว่างและหลังจากเปิดพัดลมระบายอากาศเป็นเวลา 30 นาที พบว่าระดับความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศภายในห้องดังกล่าวข้างต้นมีค่าตํ่ากว่าสภาพปกติก่อนการแก้ไขประมาณ 32 และ 49 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในทำนองเดียวกันการแก้ไขโดยการเปิดพัดลมในห้องเจ้าหน้าที่ที่อยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ระดับความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ในอากาศ ภายในห้องดังกล่าวข้างต้นมีค่าตํ่ากว่าสภาพปกติก่อนการแก้ไขประมาณ 32 เปอร์เซ็นต์
Other Abstract: The Objective of this study was to investigate the formaldehyde released in the indoor atmosphere at three different sites in the Faculty of Science, Chulalongkorn University , namely the animal preservation room ; the Natural History Museum 5 Department of biology ; and the chemical storage room , Department of Chemistry. The study consisted of three parts. 1) A preliminary survey to obtain information about the amounts of formaldehyde solution used in the study area and the working conditions including application and storage 2) The investigation and analysis of formaldehyde concentrations released in the indoor atmosphere and 3) Suggestions to reduce the formaldehyde concentration by the use of exhaust fans to promote better ventilation in both the animal preservation room and the Natural History Museum. The results show that the formaldehyde concentration in the study areas did not exceed the permissible limit for 30 minutes (issued by the Ministry of Interior) at 95% confidence limits. The monthly detected concentrations in each rooms were different depending on the activities in the study areas in each month. In addition , the use of this chemical strongly correlated with the detected concentrations at 95% confidence limit. Regarding environmental factors , temperature from 29 - 32 °c and relative humidity from 79 -91 % did not have any effects upon the formaldehyde concentration in the atmosphere at the same confidence limit. The findings also suggested that proper ventilation lowered the formaldehyde concentration. That is , the concentration in the animal preservation room during and 30 minutes after ventilation reduced by 32 % and 49 % 5 respectively, where as the concentration in the Natural History Museum decreased by 32 %.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69227
ISBN: 9746382403
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Likhit_sr_front_p.pdf951.71 kBAdobe PDFView/Open
Likhit_sr_ch1_p.pdf784.35 kBAdobe PDFView/Open
Likhit_sr_ch2_p.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Likhit_sr_ch3_p.pdf821.99 kBAdobe PDFView/Open
Likhit_sr_ch4_p.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open
Likhit_sr_ch5_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Likhit_sr_back_p.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.