Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69233
Title: | ผลของโปรแกรมการฝึกบริหารแนวชี่กงร่วมกับการให้ความรู้ต่ออาการหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง |
Other Titles: | Effect of qigong practice and health teaching on dyspnea in patients with chronic obstructive pulmonary disease |
Authors: | ปิยกานต์ บุญเรือง |
Advisors: | สุนิดา ปรีชาวงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sunida.P@Chula.ac.th |
Subjects: | ปอดอุดกั้น ชี่กง การฝึกหายใจ Lungs -- Diseases, Obstructive Qi gong Breathing exercises |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่พบมากในประเทศไทย ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังนั้นมักจะมีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีสาเหตุหักมาจากอาการหายใจลำบาก การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างครอบคลุม ประกอบด้วย การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟู การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด สำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะลดอาการหายใจลำบากของผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วย การออกกำลังกาย การให้ความรู้สำหรับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง การฝึกบริหารแนวชี่กง เป็นการออกกำลังกายที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ซึ่งมีประโยชน์ในการป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ ทั้งในทางด้านร่างกายและจิตใจ การฝึกบริหารแนวชี่กง ประกอบด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย การบริหารการหายใจ และการพัฒนาจิตไปพร้อมๆ กัน ซึ่งถือว่ามีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในด้านของการลดอาการหายใจลำบาก การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกบริหารแนวชี่กงร่วมกับการให้ความรู้ต่ออาการหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยใช้แนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของ American Thoracic Society (2005) ร่วมกับ รูปแบบการบริหารแนวชี่กงของ นพ. เทิดศักดิ์ เดชคง และการติดตามเยี่ยมบ้าน มาเป็นกรอบแนวคิดของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลน่าน จำนวน 40 คน โดยจัด 20 คนแรกเข้ากลุ่มควบคุม และ 20 คนหลังเข้ากลุ่มทดลอง โดยจับคู่ในเรื่อง อายุ เพศ และ ระดับความรุนแรงของโรค กลุ่มควบคุมดั้บการพยาบาลปกติของทางโรงพยาบาล และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกบริหารแนวชี่กงร่วมกับการให้ความรู้ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินอาการหายใจลำบาก Modified borg’s scale วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณ และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ค่าเฉลี่ยของระดับอาการหายใจลำบากของกลุ่มทดลองภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีระดับน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ค่าเฉลี่ยของระดับอาการหายใจลำบากของกลุ่มทดลองภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีระดับน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติตที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | Patients with COPD are usually suffered from reducing functional capacity mainly caused by the exertional dyspnea. The pulmonary rehabilitation results to the improvements of multiple outcomes such as reducing dyspnea, improving activities of daily living etc. Generally, pulmonary rehabilitation includes an exercise training and knowledge sharing for COPD patients. For example, to practice Qigong, an originating-from-China form of mind-body exercise, includes body movements, breathing exercise and mind focus. The purpose of this quasi – experimental research was to examine the effect of Qigong practice and education on the view of pulmonary rehabilitation guidelines of the American Thoracic Society (2005), Qigong practice, and home visits. Participants consisted of 40 patients with COPD, hospitalized in the Nan Hospital. Twenty patients were assigned to one control group and the other 20 to one experimental group. Both groups were matched by age, gender, and disease severity. The control group received the conventional nursing care while the experimental group received the Qigong practice and its education program. Dyspnea was assessed by using Modified borg’s scale and data were analyzed by using descriptive statistics and t-test. The major findings were as follows: 1.The mean dyspnea score of patient with COPD in the experimental group was significantly lower than that of the control group (p<.05) 2.The mean dyspnea score of patient with COPD after receiving the program was significantly lower than the mean dyspnea score before receiving the program (p<.05) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69233 |
ISBN: | 9741422172 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piyakan_bo_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 903.15 kB | Adobe PDF | View/Open |
Piyakan_bo_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Piyakan_bo_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Piyakan_bo_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Piyakan_bo_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 904.9 kB | Adobe PDF | View/Open |
Piyakan_bo_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Piyakan_bo_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 2.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.