Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69364
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | คนางค์ ศรีหิรัญ | - |
dc.contributor.author | สุกัญญา ช.เจริญยิ่ง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2020-11-11T09:30:21Z | - |
dc.date.available | 2020-11-11T09:30:21Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69364 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | - |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการฝึกวิ่งสปริ้นต์ซ้ำด้วยระยะพักที่แตกต่างกันต่อความสามารถสปริ้นต์ซ้ำของนักกีฬาฟุตบอลหญิง วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลหญิงสโมสรชลบุรีเอฟซี อายุระหว่าง 18-24 ปี จำนวน 36 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน กลุ่มที่ 1 ฝึกวิ่งสปริ้นต์ซ้ำด้วยความเร็วสูงสุดระยะทาง 20 เมตร สลับกับระยะเวลาพัก 5 วินาที กลุ่มที่ 2 ฝึกวิ่งสปริ้นต์ซ้ำด้วยความเร็วสูงสุดระยะทาง 20 เมตร สลับกับระยะเวลาพัก 10 วินาที และกลุ่มที่ 3 ฝึกวิ่งสปริ้นต์ซ้ำด้วยความเร็วสูงสุดระยะทาง 20 เมตร สลับกับระยะเวลาพัก 15 วินาที ทั้งสามกลุ่มได้รับการฝึกสัปดาห์ละ 2 วัน เป็นเวลา 6 สัปดาห์ จากนั้นทำการทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยา ทดสอบความสามารถในการวิ่งสปริ้นต์ซ้ำ และทดสอบเวลาที่ใช้ในการวิ่งเร็วสูงสุด และนำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า เวลารวม เวลาที่ดีที่สุด เวลาเฉลี่ยและเปอร์เซ็นต์ความเมื่อยล้าของกลุ่มที่มีระยะเวลาพัก 10 วินาที มีระยะเวลาลดลงหลังการฝึก ส่วนเวลาในการวิ่งเร็วสุงสุดระยะทาง 10 เมตร, 20 เมตร และ 40 เมตร ของทั้งสามกลุ่ม มีระยะเวลาลดลงหลังการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และเมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม โดยเวลารวม เวลาที่ดีที่สุด และเวลาเฉลี่ยในการวิ่งสปริ้นต์ซ้ำของกลุ่มที่มีระยะเวลาพัก 10 วินาที มีระยะเวลาลดลงหลังการฝึกมากกว่ากลุ่มอื่น ส่วนเวลาในการวิ่งเร็วสูงสุดระยะทาง 10 เมตร ของกลุ่มที่มีระยะเวลาพัก 10 วินาที มีระยะเวลาลดลงหลังการฝึกมากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สรุปการวิจัย การฝึกวิ่งสปริ้นต์ซ้ำด้วยความเร็วสูงสุดระยะทาง 20 เมตร สลับกับระยะเวลาพัก 10 วินาที ส่งผลดีต่อความสามารถในการวิ่งสปริ้นต์ซ้ำและเวลาที่ใช้ในการวิ่งเร็วสูงสุดระยะสั้น 10-40 เมตร จึงเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการฝึกในนักกีฬาฟุตบอลต่อการพัฒนาทักษะด้านดังกล่าวได้ดีที่สุด | - |
dc.description.abstractalternative | Purpose: The purpose of this study was to study the effect of repeated sprint training with different rest periods on repetitive sprint ability of female football athletes Methods: The subjects were 36 female football players from Chonburi FC aged between 18-24 years, divided into 3 groups, 12 persons per group. Each group was trained to run with a maximum speed of 20 meters alternating with a 5 second, 10 second and 15 second rest period. All 3 groups were trained 2 days a week for 6 weeks. The physiological parameters, repeated sprint ability and short distance sprint were tested. After that, take the result from the tests to analyze with the statistical results. Results: After 6 weeks of training, repeated sprint ability: the total repeated sprint time, the best sprint time, the average time of repeated sprint runs and the percentage decrement score of the group with a maximum speed of 20 meters run alternating with a 5 second found that the duration decreased after training, while the running time of the sprint distance, 10 meters, 20 meters and 40 meters of three groups were decrease significantly in duration after training with a statistical significance level of .05. When comparing between groups after training, it was found that there were differences between the three groups by the total repeated sprint time, the best sprint time, the average time of repeated sprint runs of the group with a maximum speed of 20 meters run alternating with a 5 second had shorter duration after training than the other groups, while the running time of the sprint distance 10 meters of the group with a maximum speed of 20 meters run alternating with a 5 second decreased significantly after training than other groups with a statistical significance level of .05. Conclusion: Repeated sprint training programs with difference resting has a positive effect on repeated sprint ability and short distance sprint duration of female football players. By finding that group with a maximum speed of 20 meters run alternating with a 5 second, which is the most suitable for training to develop such skills. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1096 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Health Professions | - |
dc.title | ผลของโปรแกรมการฝึกที่มีระยะเวลาการพักที่แตกต่างกันต่อความสามารถในการสปริ้นต์ซ้ำของนักกีฬาฟุตบอลหญิง | - |
dc.title.alternative | Effects of different resting intervals program on repeated sprint ability in female football players | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Kanang.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.1096 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6078409739.pdf | 3.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.