Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69413
Title: ผลของการติดเชื้อร่วมระหว่างไวรัสเดงกีซีโรไทป์สองและสามในเซลล์เพาะเลี้ยง
Other Titles: Effect of co-infection by dengue serotypes II and III in cell culture
Authors: ชลนิภา บุญสนอง
Advisors: วันล่า กุลวิชิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) พบมากแถบประเทศในเขตร้อน โดยทั่วไป การติดเชื้อซีโรไทป์ใดซีโรไทป์หนึ่ง ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อซีโรไทป์นั้นได้ตลอดชีวิต แต่ก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันข้ามซีโรไทป์ได้เพียงชั่วคราว และเมื่อมีการติดเชื้อครั้งที่สองด้วยซีโรไทป์ที่แตกต่างจากครั้งแรก ผู้ป่วยส่วนหนึ่ง อาจมีการแสดงออกของโรคที่รุนแรงเป็น dengue hemorrhagic fever (DHF) หรือ dengue shock syndrome (DSS) นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากหลายประเทศ ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มากกว่าหนึ่งซีโรไทป์พร้อมกัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่มีในปัจจุบัน ยังคงไม่สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่า การติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มากกว่าหนึ่งซีโรไทป์ ชักนำให้เกิดความรุนแรงของโรคได้มากกว่าการติดเชื้อแบบหนึ่งซีโรไทป์หรือไม่ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงศึกษาการติดเชื้อไวรัสเดงกีแบบสองซีโรไทป์พร้อมกันในเซลล์เพาะเลี้ยง โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของการเกิด cytopathic effect (CPE) และปริมาณไวรัส ระหว่างการติดเชื้อไวรัสเดงกีแบบหนึ่งและสองซีโรไทป์พร้อมกัน  ผลการวิจัยพบว่า การติดเชื้อไวรัสเดงกีแบบสองซีโรไทป์พร้อมกันทำให้เซลล์เกิด CPE ได้รวดเร็วกว่าการติดเชื้อไวรัสเดงกีแบบหนึ่งซีโรไทป์ และสามารถตรวจพบแอนติเจนของไวรัสเดงกีในการติดเชื้อแบบหนึ่งซีโรไทป์ได้ด้วยวิธี Immunocytochemistry เมื่อเวลาผ่านไปนาน 2 วัน หลังจากที่เซลล์เพาะเลี้ยงติดเชื้อไวรัสเดงกี ในขณะที่การติดเชื้อไวรัสเดงกีแบบสองซีโรไทป์พร้อมกันนั้นตรวจพบได้ เมื่อเวลาผ่านไปเพียง 24 ชั่วโมง และทำการตรวจยืนยันการติดเชื้อไวรัสเดงกีในเซลล์จากอาหารเลี้ยงเซลล์ด้วยวิธี RT-PCR  ในการตรวจหาปริมาณสารพันธุกรรมของไวรัสเดงกี จากกลุ่มที่มีการติดเชื้อไวรัสเดงกีแบบหนึ่งซีโรไทป์และสองซีโรไทป์พร้อมกัน ในช่วงเวลา 1 – 6 หลังจากที่เซลล์เพาะเลี้ยงติดเชื้อไวรัสเดงกี ด้วยวิธี qRT-PCR พบว่า ปริมาณไวรัสเดงกีซีโรไทป์ 2 มีมากกว่าซีโรไทป์ 3 ทั้งในกลุ่มที่มีการติดเชื้อไวรัสเดงกีแบบหนึ่งและสองซีโรไทป์พร้อมกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน จึงสรุปได้ว่าการติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มากกว่าหนึ่งซีโรไทป์พร้อมกัน ชักนำให้เซลล์เกิดพยาธิสภาพที่รวดเร็วกว่าการติดเชื้อไวรัสเดงกีแบบซีโรไทป์เดียว แต่ปรากฏการณ์ดังกล่าว มีความสอดคล้องกับระดับความรุนแรงของอาการทางคลินิกหรือไม่นั้น เป็นสิ่งที่ต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไป
Other Abstract: Dengue infection is an epidemic disease especially in many tropical countries. Infection with one serotype provides lifelong protective immunity to that one but there is no permanent cross protective immunity to the others. Secondary infection with a heterologous serotype is implicated in the increased severe dengue: dengue hemorrhagic fever (DHF) or dengue shock syndrome (DSS). Concurrent multi-serotype dengue infections in individual patients have been identified in several countries. Yet, it is unclear whether concurrent infections impose affected patients to more likelihood of DHF or DSS. The aim of this study was to compare findings  between one- and two-serotype infections of dengue virus in cell culture. These results indicate that concurrent two-serotype infection stimulate cytopathic effect of cells faster than infection by a single serotype. The viral antigens in infected cells were quantified by Immunocytochemistry assay and compared to uninfected cells. The results show that dengue virus antigens of single infection in LLC-MK2 cells can be detected within 2 days post-infection meanwhile dengue virus antigens of co-infection can be detected within 24 hours post-infection and confirmed by reverse transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR). The viral genomes of single infection and concurrent two-serotype infection within 1 – 6 days post-infection were quantified by qRT-PCR. The results show that dengue virus serotype 2 replicated greater efficiency than serotype 3 did both single infection and concurrent two-serotype infection within the same period. In conclusion, concurrent multi-serotype infection in cell-culture system can probably stimulate cytopathic effect of cells faster than infection by a single serotype. Further studies are needed to investigate how the multi-serotype infection might correlate with the severity of clinical symptoms.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69413
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574119130.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.