Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69457
Title: การติดสื่อสังคมออนไลน์และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Social media addiction and depression of the elderly in elderly club of Bangkok metropolis
Authors: นัฏฐิกา แก้วคำปา
Advisors: ชาวิท ตันวีระชัยสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: Depression
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการติดสื่อสังคมออนไลน์และภาวะซึมเศร้า ความสัมพันธ์ของปัจจัยอื่น ๆ รวมทั้งลักษณะการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ และความชุกของการติดสื่อสังคมออนไลน์ ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาโดยศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ สังกัดศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร โดยเลือกจากชมรมผู้สูงอายุจากการแบ่งกลุ่มเขตของ กรุงเทพมหานคร 6 เขต เลือกมาเขตละ 1 ชมรม เพื่อเป็นตัวแทนประชากรของแต่ละกลุ่มเขต จำนวนทั้งสิ้น 212 คน ผู้เข้าร่วมวิจัยตอบแบบบสอบถามจำนวน 3 ชุดด้วยตนเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบการติดสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Addiction Screening Scale: S - MASS) 3) แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า ฉบับภาษาไทย (PHQ - 9) และผู้วิจัยเก็บข้อมูลการใช้สื่อสังคมออนไลน์จากอุปกรณ์ที่ผู้เข้าร่วมวิจัยใช้ย้อนหลัง 6 วัน ด้วยแอพพลิเคชั่น Usage Time - App Usage Manager ด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ใช้สถิติเชิงอนุมาน เพื่อหาความสัมพันธ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการติดสื่อสังคมออนไลน์และภาวะซึมเศร้าได้แก่ Chi square, t - test, Pearson’s correlation, one way ANOVA และใช้การวิเคราะห์การถดถอย Logistic regression และ Multiple linear regression เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทำนายการติดสื่อสังคมออนไลน์ และภาวะซึมเศร้า โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ กรุงเทพมหานคร มีคะแนนเฉลี่ยของการติดสื่อสังคมออนไลน์เท่ากับ 16.57 ± 8.625 คะแนน  มีระดับการติดสื่อสังคมออนไลน์ความเสี่ยงต่ำ ร้อยละ 44.8 ความเสี่ยงปานกลาง ร้อยละ 49.1 ความเสี่ยงสูง ร้อยละ 6.1 ซึ่งมีปัจจัยที่สัมพันธ์ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (p < 0.05) การใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (p < 0.01) ระยะเวลาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ใน 1 วัน (p < 0.01) และการเล่นเกมที่เชื่อมต่อกับสื่อสังคมออนไลน์ (p < 0.01) อีกทั้งยังพบว่าระยะเวลาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ใน 1 วัน และการเล่นเกมที่เชื่อมต่อกับสื่อสังคมออนไลน์เป็นปัจจัยในการทำนายการติดสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มตัวอย่างด้วย ส่วนภาวะซึมเศร้านั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนภาวะซึมเศร้าเฉลี่ย 3.90 ± 3.305 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 5.7 ซึ่งมีปัจจัยที่สัมพันธ์คือ การเล่นเกมที่เชื่อมต่อกับสื่อสังคมออนไลน์ (p < 0.01) และเป็นปัจจัยทำนายด้วย อีกทั้งยังพบว่าการติดสื่อสังคมออนไลน์และภาวะซึมเศร้านั้นสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) สรุปผลการศึกษาครั้งนี้ พบความชุกของความเสี่ยงสูงในการติดสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 6.1 ความชุกของภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 5.7 และพบว่าการติดสื่อสังคมออนไลน์และภาวะซึมเศร้านั้นสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract:      Objectives: To study the relationships between social media addiction and depression, the relationships of other factors, the usage of social media and the prevalence of social media addiction of the elderly in elderly club of Bangkok metropolis.      Methods: This study was a cross-sectional descriptive study. We recruited 212 participants who’re members of the elderly club of public health of Bangkok metropolis and using social media. All participants completed 3 questionnaires: 1) Demographic questionnaires; 2) Social Media Addiction Screening Scale (S - MASS); 3) Thai version Patient Health Questionnaire (PHQ - 9) and we record usage time for the past 6 days by the application. Logistic regression was performed to identify the potential predictors of social media addiction and depression.      Results: The mean score (with SD) of social media addiction on SPSS was 16.57 ± 8.625. The low risk of social media addiction was 44.8%, moderate risk was 49.1%, and high risk was 6.1%. The significant associated factor of social media addiction were hypertension (p < 0.05), used social media by computer (p < 0.01), time spend in social media per day (p < 0.01) and playing games connected with social media (p < 0.01). The significant predictors for social media addiction were time spend on social media per day (p < 0.05) and playing games connected with social media (p < 0.01). The mean score (with SD) of depression on SPSS was 3.90 ± 3.305. The prevalence of depression was 5.7%. The factors associated and predictors with depression were playing games connected with social media (p < 0.01). The social media addiction is significantly associated with depression.      Conclusion: The prevalence of high risk of social media addiction was 6.1 %. The prevalence of depression was 5.7. The social media addiction is significantly associated with depression.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69457
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1407
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1407
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6174010230.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.