Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69483
Title: | อัตราการได้รับยาเคมีบำบัดตามกำหนดในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงปานกลาง/สูง ที่ได้รับการประเมินและรักษาตามหลักการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงอายุแบบองค์รวม |
Other Titles: | Rate of complete chemotherapy as planned with comprehensive geriatric assessment and intervention in intermediate and high risk elderly cancer patients |
Authors: | มนุพล ใหม่คามิ |
Advisors: | นภา ปริญญานิติกูล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มา: ผู้สูงอายุที่เป็นมะเร็งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อได้รับยาเคมีบำบัดไม่ครบตามกำหนด ปัจจุบันมีเครื่องมือคัดกรอง Geriatric 8 (G8) ที่ช่วยประเมินถึงความพร้อมต่อการรักษาโรคมะเร็งรวมถึงเคมีบำบัด โดยผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงจากการใช้เครื่องมือคัดกรอง G8 ควรได้รับประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวม(comprehensive geriatric assessment, CGA) เพื่อที่จะแสดงให้เห็นถึงปัญหาและรักษาปัญหานั้น อย่างไรก็ตามผลของการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมต่ออัตราการได้รับยาเคมีบำบัดครบตามกำหนดนั้น ยังมีการศึกษาไม่มากนัก วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงประโยชน์ของการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมและให้การรักษาตามปัญหาที่พบต่อการเพิ่มอัตราการได้รับยาเคมีบำบัดครบตามกำหนด วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบเปิดและสุ่ม ในผู้สูงอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 65ปีที่ดีรับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งก้อนทูม ต้องคัดกรองด้วยเครื่องมือG8แล้วเข้าเกณฑ์กลุ่มเสี่ยง(น้อยกว่าหรือเท่ากับ 14คะแนน) และต้องมีแผนการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเท่านั้น สุ่มประชากรเป็น 2กลุ่มคือกลุ่มที่ได้รับการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมและกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติ วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาคืออัตราการได้รับขนาดยาเคมีบำบัดครบตามกำหนด นอกจากนี้ยังศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับยาเคมีบำบัดครบตามกำหนดด้วย ผลการศึกษา: ตั้งแต่มิถุนายน พ.ศ. 2562 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562 มีผู้สูงอายุมะเร็งทั้งหมด 52 คนโดยสุ่มไปในแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 26คน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 72ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 59.6 วินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40.4 ข้อมูลพื้นฐานในทั้งสองกลุ่มสมดุลกัน พบว่าจากการวิเคราะห์แบบper protocol อัตราการได้รับยาเคมีบำบัดครบตามกำหนดในกลุ่มที่ได้รับการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานปกติไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(ร้อยละ 57.1 เทียบกับร้อยละ 50, OR 1.33; 95%Cl 0.42-4.24; p=0.62) และพบว่าปัจจัยที่ส่งผลเพิ่มอัตราการได้รับยาเคมีบำบัดครบตามกำหนดคือ อายุน้อยกว่า 75ปี ค่าดัชนีมวลกายที่มากกว่า 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ประเมินคะแนนด้วยเครื่องมือคัดกรองG8อยู่ในเกณฑ์เสี่ยงปานกลาง และค่าแอลบูมินในเลือดที่มากกว่า 4 กรัมต่อเดซิลิตร สรุปผลการศึกษา: ผลการศึกษานี้พบว่าการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมและให้การรักษาตามปัญหาที่พบไม่สามารถเพิ่มอัตราการได้รับยาเคมีบำบัดครบตามกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | Background: The Geriatric 8 (G8) is a simplified screening tool to select the appropriate elderly patients for chemotherapy. Vulnerable patients with impaired G8 score might need additional comprehensive geriatric assessment (CGA) with intervention for individual problem. However, the impact of CGA and therapeutic intervention on rate of complete chemotherapy among these patients is rarely addressed. Objective: This study aims to evaluate the benefit of CGA guided intervention to maintain dose intensity of chemotherapy Methods: A single center, randomized, open-label study which included newly diagnosed elderly cancer patients (age ≥ 65) with impaired G8 score (≤ 14) who were designated for chemotherapy. After the enrollment, patients were randomized to 1:1 ratio to receive CGA guided intervention (intervention group) or usual care (control group). The primary end point was the rate of complete chemotherapy as planned. Associated factors for complete chemotherapy were evaluated. Results: Between June 2019 and December 2019, 52 patients were randomized (26 patients for intervention group and 26 patients for control group). Mean age was 72 years, 59.6% was female, 40.4% had breast cancer and 51.9% had early stage cancer. With G8 assessment, 55.8% had intermediate (score 11-14) and 44.2% had low (score < 11) impaired G8 score. All baseline characteristics were balanced. Using per protocol analysis, there was no significant difference in rate of complete chemotherapy between groups (57.1% vs 50%, OR 1.33; 95%Cl 0.42-4.24; p=0.62). In univariate analysis, age below 75 years, BMI >20 kg/m2, intermediate G8 score and serum albumin level above 4 g/dl showed significant factors for improving rate of complete chemotherapy. Conclusion: This is the first study in south-east Asia using CGA and intervention to improve rate of completion in chemotherapy. Although the CGA and intervention had no significant difference but had tendency to be better in completion rate of chemotherapy than usual care. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69483 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1494 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.1494 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6174067030.pdf | 2.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.