Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69599
Title: แนวคำตัดสินขององค์การการค้าโลกเกี่ยวกับการหาความหมายของคำว่า "Public Body" ในความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้ภายใต้องค์การการค้าโลก: ศึกษากรณีการอุดหนุนโดยรัฐวิสาหกิจจีน
Other Titles: WTO jurisprudence on the meaning of "public body" in the WTO agreement on subsidies and countervailing measures: A case study of Chinese state-owned enterprise subsidies
Authors: อาภัสชญากรณ์ เกษมลภัสสรณ์
Advisors: อาร์ม ตั้งนิรันดร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Armtung@Gmail.com
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาแนวคำตัดสินขององค์การการค้าโลกในประเด็นความหมายของคำว่า Public Body ตามข้อ 1.1 (a)(1) ของความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและมาตรการตอบโต้ (WTO Agreement on Subsidies and Countervailing Measures) เนื่องจากความตกลงดังกล่าวไม่ได้กำหนดความหมายของถ้อยคำดังกล่าวเอาไว้ ตลอดจนศึกษาถึงกรณีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะในคดี US – Anti-Dumping and Countervailing Duties (China) ซึ่งมีประเด็นทางกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยว่า รัฐวิสาหกิจจีนที่ได้ให้การอุดหนุนเป็น Public Body ตามข้อ 1.1 (a)(1) ของความตกลงดังกล่าวหรือไม่ จากการศึกษาพบว่า แนวคำตัดสินของ WTO ที่นำมาปรับใช้กับการวินิจฉัยกรณีดังกล่าวข้างต้นคือหลัก Government Authority Approach ที่นิยามคำว่า Public Body เอาไว้ว่าหมายถึง หน่วยงานที่มีอำนาจรัฐ และมีการใช้อำนาจรัฐ ทั้งนี้ แม้ว่าหลักดังกล่าวจะสามารถนำมาปรับใช้กับปัญหาการอุดหนุนโดยรัฐวิสาหกิจจีนได้อยู่บ้างคือกรณีการอุดหนุนโดยธนาคารพาณิชย์ของรัฐของจีนก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงกรณีปัญหาการอุดหนุนโดยรัฐวิสาหกิจจีนในกลุ่มทุนเข้มข้น (Capital Intensive State-Owned Enterprise) บางกลุ่ม เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนและมีเหตุผลเพียงพอที่สะท้อนให้เห็นว่ารัฐได้ใช้อำนาจรัฐเหนือการกระทำของหน่วยงานดังกล่าว จึงทำให้หน่วยงานดังกล่าวไม่เป็น Public Body ซึ่งทำให้มาตรการที่ใช้โดยรัฐวิสาหกิจจีนดังกล่าวไม่อยู่ในข่ายที่จะถูกตอบโต้ได้ 
Other Abstract: This study aims to analyze the World Trade Organization’s jurisprudence on the meaning of Public Body, in accordance with article 1.1 (a)(1) of the WTO Agreement on Subsidies and Countervailing Measures. Since the absence of definition of the term “Public Body” under such Agreement, the challenge is the circumvention on export subsidies, particularly in the context of Chinese state-owned enterprises subsidies. The critical legal issue is whether the Chinese state-owned enterprises is “Public Body”, in accordance with article 1.1 (a)(1) WTO Agreement on Subsidies and Countervailing Measures. The study has found that WTO's jurisprudence applied to such analysis was Government Authority Approach which defined the term of Public Body as an organizational entity which possesses and exercises official authority. Although such definition could be applied to the case of Chinese state enterprises’ subsidies, by state-owned commercial banks, the term does not cover the case of Capital-Intensive State-Owned Enterprises since no explicit and solid evidence to suggest the government’s enforcement over such business entities. Therefore, as the entities is not accounted as Public Body, the Chinese state enterprises are not classified into a subject of Countervailing Duty.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69599
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.926
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.926
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6086019934.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.