Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69611
Title: | การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงบังคับก่อนการฟ้องคดี ในคดีละเมิดทางการแพทย์ในบริบทประเทศไทย |
Other Titles: | Mandatory pre-suit mediation in medical malpractice cases in Thailand |
Authors: | วัฒนาภรณ์ ยั่งยืน |
Advisors: | สุรัชดา รีคี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Surutchada.R@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณข้อพิพาททางการแพทย์ขึ้นสู่ศาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลกระทบต่อคู่พิพาท และยังก่อให้เกิดผลกระทบทางกฎหมายและสังคม งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายในกรณีความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์ โดยมุ่งประเด็นการศึกษาในการจัดการข้อพิพาทเพื่อหาวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกที่เหมาะสมกับคดีความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์ในประเทศไทย จากการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกในกรณีความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์ ในประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสิงคโปร์ และสหภาพยุโรป โดยพิจารณาวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือก 4 วิธี ได้แก่ ระบบกองทุนชดเชย หรือระบบประกันภัยทางการแพทย์ (Compensation Systems or Medical Liability Insurance) การอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) การเจรจาต่อรอง (Negotiation) และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Mediation) พบว่า แนวคิดในเรื่องกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงบังคับ (Mandatory Mediation) เป็นกระบวนการที่เหมาะสมที่สุดในการนำมาปรับใช้ในประเทศไทย เพราะวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นวิธีการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคู่พิพาทได้ดี และประสบความสำเร็จสูงในต่างประเทศ นอกจากนี้ การบังคับให้คู่พิพาทเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย ซึ่งเป็นการกำหนดให้คู่พิพาทต้องผ่านขั้นตอนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนจึงสามารถที่จะดำเนินคดีในชั้นศาลได้ มีจุดประสงค์เพื่อให้คู่พิพาททั้งสองฝ่ายมีโอกาสทำความเข้าใจในประเด็นข้อพิพาทที่มีผู้ไกล่เกลี่ยเป็นผู้ช่วยเหลือ หากคู่พิพาทสามารถทำความตกลงระงับข้อพิพาทกันได้ ส่งผลให้เป็นการลดต้นทุนทางด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากการดำเนินคดีในชั้นศาล และรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาท ซึ่งจากการศึกษาพบว่า เป็นกระบวนการที่ได้นำมาใช้ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในมลรัฐเซาท์แคโรไลน่า และมลรัฐฟลอริด้าประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีการกำหนดเงื่อนไขให้คู่พิพาทต้องผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเสียก่อนภายในขอบเขตระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และมีหน่วยงานสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์ที่กำหนดให้มีผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายและทางด้านการแพทย์ ส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นในกระบวนการ และยังส่งผลให้คู่พิพาทสามารถเข้าใจถึงข้อพิพาทที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงเพื่อร่วมกันหาข้อตกลงที่เป็นประโยชน์ร่วมกันที่คู่พิพาททั้งสองฝ่ายยอมรับ จึงประสบความสำเร็จในการยุติข้อพิพาทโดยเร็ว จึงเป็นกระบวนการที่มีความเหมาะสมในการปรับใช้ในกรณีความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงทำการเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาทพ.ศ. 2562 กำหนดให้ความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเชิงบังคับก่อนฟ้องคดีโดยการกำหนดระยะเวลาของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่แน่นอน และหน่วยงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่มีความเป็นกลางมีลักษณะเฉพาะในความรับผิดทางละเมิดทางการแพทย์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและยุติธรรมยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | Currently, in Thailand, there is a steady increase in the number of medical litigation, causing an adverse effect on the parties, as well as generating legal and social problems. The purpose of the research is to study legal issues relevant to medical malpractice. The research focuses on the study of dispute management to find alternative dispute resolution methods that is suitable for medical liability cases in Thailand. In order to achieve this, the research conducted a comparative study of alternative dispute resolution methods for medical liability cases in the United Kingdom, The United States of America., Singapore and the European Union. Four alternative dispute resolution methods were identified: compensation systems or medical liability insurance, arbitration, negotiation and mediation. The research found that the concept of mandatory mediation process is the most suitable process for Thailand. This is because the mediation method is a method that encourages active participation of the parties and has achieved a high level of success in the comparator countries. In addition, by making the mediation process compulsory, the parties are required to go through the dispute resolution process before being able to pursue court litigation. It is intended to give both parties an opportunity to understand dispute issues with an assistance of a neutral mediator. If the parties are able to settle the dispute, it will reduce the costs arising from the court proceedings and maintain the relationship between the parties. The study found that the process can be effectively used to resolve medical disputes in the states of South Carolina and Florida, both of which require that the parties must enter the process of resolving disputes within the time limited by law. Moreover, in both states there is an agency whose role is to mediate disputes for medical liability, with mediators who possess both legal and medical expertise. This approach has resulted in a greater public confidence in the process and also helped the parties to better understand relevant legal issues in order to find a mutually beneficial agreement that both parties accept. Therefore, this approach has been proven highly successful in resolving the medical liability disputes amicably and quickly, and hence is the process that Thailand should consider as a potential model. With the reasons mentioned above, the researcher therefore proposed amendments to the Dispute Mediation Act 2019. Medical malpractice cases should be entered into mandatory mediation before prosecution, by setting an exact duration of mediation of the dispute and establishing a dispute mediation agency that acts as the neutral third party, with the aim to render medical malpractice lawsuit more appropriate and fairer for both parties involved. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69611 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.921 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.921 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6186068734.pdf | 4.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.