Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6961
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุบลวรรณ ปิติพัฒนะ-
dc.contributor.authorณุภัทรา จันทวิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-05-21T09:32:47Z-
dc.date.available2008-05-21T09:32:47Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741739222-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6961-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ กับชาวบ้านในการอนุรักษ์ป่าไม้ ของชุมชนกะเหรี่ยง หมู่บ้านแม่กระบุง (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้ชาวบ้านในชุมชนเข้าใจยอมรับ และร่วมมือในการอนุรักษ์ไม้ ของชุมชนกะเหรี่ยง หมู่บ้านแม่กระบุง (3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา ในการสื่อสารของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ในการอนุรักษ์ป่าไม้ ของชุมชนกะเหรี่ยง หมู่บ้านแม่กระบุง การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มตัวอย่าง 25 คน และการสังเกตสภาพชุมชนควบคู่กันไปด้วย ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสื่อสารของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ในการอนุรักษ์ป่าไม้ของชุมชนกะเหรี่ยง หมู่บ้านแม่กระบุงแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกเริ่ม ระยะปฏิบัติการ และระยะคงความสัมพันธ์ (ปัจจุบัน) โดยในกระบวนการสื่อสารระยะแรกเริ่ม จะใช้การสื่อสารผ่านการพูดคุยเป็นหลัก ในการเข้าไปสื่อสารกับผู้นำ และชาวบ้าน ระยะปฏิบัติการจะใช้การเข้าไปสอนในโรงเรียนกับเด็กๆ การสื่อสารผ่านการพูดคุยกับผู้นำ และชาวบ้าน การสื่อสารผ่านการประชุม และการสื่อสารผ่านกิจกรรม ส่วนในระยะคงความสัมพันธ์ จะใช้การสื่อสารผ่านการพูดคุย การสื่อสารผ่านการประชุม การสื่อสารผ่านกิจกรรม และการสื่อสารผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ ตามลำดับ ปัจจัยที่ทำให้ชาวบ้านในชุมชนเข้าใจ ยอมรับ และร่วมมือในการอนุรักษ์ป่าไม้ ของชุมชนกะเหรี่ยง หมู่บ้านแม่กระบุง คือ 1) ปัจจัยจากผู้ส่งสาร ได้แก่ ความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ การให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมประเพณีชาวบ้าน ความเข้าใจถึงวัฒนธรรมของชาวบ้านในเรื่องวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และการอาศัยป่า การอยู่อย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย 2) ปัจจัยจากผู้รับสาร ได้แก่ การเชื่อฟังคำสอนของผู้เฒ่าผู้แก่ และบรรพบุรุษ ในเรื่องการอนุรักษ์ป่าไม้ ความรู้สึกมีส่วนร่วมโดยการให้ชาวบ้านรู้จักหน้าที่และการทำงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ในอุทยานฯ และความรู้สึกเห็นประโยชน์ร่วมกันในการอนุรักษ์ป่าไม้ 3) ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ การกระตุ้นความสัมพันธ์โดยใช้หน่วยงานอื่น และการเสริมสร้างอาชีพแก่ชาวบ้าน ส่วนปัญหาและอุปสรรค จะแบ่งเป็น 1) ปัญหาเกี่ยวกับด้านการสื่อสาร ได้แก่ การขาดบุคลากรที่ทำหน้าที่สื่อสาร ภาษาและการไม่รู้หนังสือ การปรับปรุงประสิทธิภาพช่องทางการสื่อสารที่มีอยู่เดิม และ 2) ปัญหาอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน การกำหนดพื้นที่อุทยานฯ ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ครอบครองของชาวบ้าน การเปลี่ยนนโยบายของรัฐ งบประมาณ และการขาดแคลนเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเฉพาะด้านen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research are (1) to study the communication process of forestry officials to conserve the forests within the Karean comunity, Mae-Krabung Village; (2) To study the factos which make villagers understand, adop and co-ordinate to conserve the forests in Karean community, Mae-Krabung Village; (3) to study the problems and offer the way to resolve the problems for the forestry officials' communication to conserve the forests in Karean community, Mae-Krabung Village. This study is the qualitative research using in-depth interview method with 25 samples as well as the observation. The findings are as the following :- The communication process of the forestry officials to conserve the forests within the Karean community, Mae-Krabung Village, can be divided into 3 phases : the begining, the action, and the maintenance of community relationship. The principal methods of communicating in each phase with the leaders, the villagers, and the children in each phase were by talking, teaching, meeting,activities and Public Relations media. The significant factors which enables the community to understand and participate in forest conservation are the credibility of forestry officials as sender, the belief in teaching of their elderly and ancestors in forest conservation, a sense of participation, responsibility, and value in forest conservation as receiver factors, whereas, stimulating the community relationship with the officials by other organizations and capacity building for villagers as other factors. Communication problems and obstacles met by the officials were the lack of the staff to communicate with the villagers effectively, illiteracy of the villages, and in efficiency of the channel communication which an inability to understand to each other, National park area setting, policy changing, budget and the lack of proficient staff in specific fieldsen
dc.format.extent3047800 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.24-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสื่อสารในการพัฒนาชนบทen
dc.subjectหมู่บ้านแม่กระบุง (กาญจนบุรี)en
dc.subjectกะเหรี่ยง -- ไทย -- กาญจนบุรีen
dc.subjectเจ้าหน้าที่ป่าไม้en
dc.subjectการอนุรักษ์ป่าไม้en
dc.titleกระบวนการสื่อสารเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้ ของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ กับชุมชนกะเหรี่ยง หมู่บ้านแม่กระบุง อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรีen
dc.title.alternativeCommunication process of forestry officials to conserve the forests within the Karean community, Mae-Krabung village, Srisawat district, Kanchanaburien
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตรพัฒนาการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorUbolwan.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.24-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nupattra.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.