Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69930
Title: | รูปแบบการสะท้อนตนด้วยมิตรวิพากษ์และการประเมินหลายทางบนสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความสามารถในการพูดนำเสนอทางวิชาการของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา |
Other Titles: | Model of self-reflection with critical friends and multisource feedback on online social media for enhancing self-esteem and academic oral presentation ability of undergraduate students |
Authors: | พัทธพีร์ มะลิสุวรรณ |
Advisors: | ใจทิพย์ ณ สงขลา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | ความนับถือตนเอง ความนับถือตนเองในวัยหนุ่มสาว ผลสะท้อนกลับ (จิตวิทยา) สื่อสังคมออนไลน์ Self-esteem Self-esteem in young adults Feedback (Psychology) Social media |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสะท้อนตนด้วยมิตรวิพากษ์และการประเมินหลายทางบนสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความสามารถในการพูดนำเสนอทางวิชาการของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและสังเคราะห์เนื้อหาเอกสาร งานวิจัย บทความวิชาการ และประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 สัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับองค์ประกอบ และขั้นตอนของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 สร้างรูปแบบการสะท้อนตนด้วยมิตรวิพากษ์และการประเมินหลายทางบนสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความสามารถในการพูดนำเสนอทางวิชาการของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบใช้เวลาดำเนินกิจกรรม 11 สัปดาห์ โดยในสัปดาห์ที่ 1 เป็นการทดสอบก่อนเริ่มดำเนินกิจกรรม สัปดาห์ที่ 2-7 เป็นการเตรียมพร้อมก่อนการพูดนำเสนอทางวิชาการ และสัปดาห์ที่ 8-11 เป็นกิจกรรมการพูดนำเสนอทางวิชาการ และขั้นตอนที่ 5 นำเสนอรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บันทึกสะท้อนตน แบบประเมินการพูดนำเสนอทางวิชาการ แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบวัดความเป็นมิตรวิพากษ์ และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาประเด็นและแนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษา ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2558 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 37 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test Dependent และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบการสะท้อนตนด้วยมิตรวิพากษ์และการประเมินหลายทางบนสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความสามารถในการพูดนำเสนอทางวิชาการของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) บุคคล 2) เนื้อหาสาระความรู้ 3) เทคโนโลยีและเครื่องมือการเรียนรู้ และ 4) การประเมินผล 2. ขั้นตอนของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการให้กำลังใจตนเอง ใช้วิธีการสะท้อนตนระบุปัญหาและวิเคราะห์สาเหตุ 2) ขั้นการเสริมแรงด้วยภาษาเชิงบวก ใช้วิธีการประเมินมิตรวิพากษ์ 3) ขั้นการผนวกคำชมเชยจากผู้อื่น ใช้วิธีการประเมินหลายทาง 4) ขั้นการสรุปคิดตรงใจ ใช้วิธีการเร่งฟื้นความสำเร็จให้กับตนเอง 3. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีคะแนนความเป็นมิตรวิพากษ์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนการพูดนำเสนอทางวิชาการหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to develop a model of self-reflection with critical friends and multisource feedback on online social media for enhancing self-esteem and academic oral presentation ability of undergraduate students. The research process was divided into five phases: 1) study and synthesize related documents and complete needs assessment 2) interview the experts’ opinions concerning components and steps of model 3) develop a prototype of model 4) study the effects of the process for eleven weeks, first week for pre-test, second-seventh week to prepare before academic oral presentation, eighth-eleventh weeks to practice academic oral presentation and 5) propose the model. The instruments used in this research consisted of a self-reflection report, an academic oral presentation evaluation form, a self-esteem Inventory, a critical friends and a behaviors observation form. Samples were 37 undergraduate students in Educational Communications and Technology, Faculty of Education, Chulalongkorn University. Quantitative statistics used in this study were frequency distributions, percentage, mean, standard deviation, t-test Dependent and correlation The research findings indicated that: 1. The model composed of four components: 1) people 2) content 3) technology and 5) evaluation. 2. The model composed of four steps: 1) self-encouragement (self-reflection) 2) friends feedback (critical friends Feedback) 3) compliment of others (multisource feedback) and 4) self-accomplishment (summary) 3. There were significant differences between pretest and posttest self-esteem scores at the .05 level, significant differences between pretest and posttest critical friend scores at the .05 level, significant differences between pretest and posttest academic oral presentation scores at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69930 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5484467027.pdf | 7.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.