Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69940
Title: กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดการเสริมสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก 
Other Titles: Human resource management strategies based on the concept of education equity enhancement of small schools
Authors: นวพร กาญจนศรี
Advisors: ชญาพิมพ์ อุสาโห
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์และกรอบแนวคิดความเป็นธรรมทางการศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการเรียนการสอนระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 หรือระดับประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 490 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครู เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบศึกษากรอบแนวคิดในการวิจัย 2) แบบประเมินกรอบแนวคิดในการวิจัย 3) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก และ 4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก ดังนี้ (1) การได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การกำหนดคุณสมบัติ และการสรรหาและคัดเลือก (2) การประเมินผลและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการฝึกอบรมและพัฒนา และ (3) การธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ การให้รางวัล และการบริหารเส้นทางอาชีพ และกรอบแนวคิดความเป็นธรรมทางการศึกษา ประกอบด้วย ความเป็นธรรมทางการศึกษาในแนวนอนที่เป็นไปตามมาตรฐาน และความเป็นธรรมทางการศึกษาในแนวตั้งที่คำนึงถึงความแตกต่างและความต้องการของโรงเรียน โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย จำนวนครูต่อนักเรียน คุณภาพครู และแรงจูงใจในการทำงานของครู 2) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามความเป็นธรรมทางการศึกษาในแนวตั้งที่คำนึงถึงความแตกต่างและความต้องการของโรงเรียนขนาดเล็ก ในทุกกระบวนหลักและกระบวนการย่อย มีความต้องการจำเป็นสูงกว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามความเป็นธรรมทางการศึกษาในแนวนอนที่เป็นไปตามมาตรฐาน โดยการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์มีความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมาคือ การได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ และการประเมินผลและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามลำดับ และ 3) กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในการสร้างความเป็นธรรมทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 6 กลยุทธ์รอง 25 วิธีดำเนินการ และ 4 ปัจจัยความสำเร็จ โดยกลยุทธ์หลักที่ 1 คือ ปรับเปลี่ยนวิธีการได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ให้เอื้อต่อความเป็นธรรมทางการศึกษาในแนวตั้งของโรงเรียนขนาดเล็ก กลยุทธ์หลักที่ 2 คือ ทบทวนวิธีการประเมินผลและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เอื้อต่อความเป็นธรรมทางการศึกษาในแนวตั้งของโรงเรียนขนาดเล็ก และกลยุทธ์หลักที่ 3 คือ เร่งรัดเปลี่ยนวิธีการธำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์ให้เอื้อต่อความเป็นธรรมทางการศึกษาในแนวตั้งของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยมีปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ ความต่อเนื่องของนโยบาย การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การจัดสรรงบประมาณที่เป็นธรรม และการเชื่อมโยงกับระบบผลิตครู
Other Abstract: The objectives of this research are 1) to study the framework for Human Resource Management and Education Equity, 2) to study the need of the development for Human Resource Management in order to enhance Education Equity in small schools, and, 3) to develop Human Resource Management strategies for enhancing Education Equity in small schools. Multiphase Mixed Method Research was used to collected qualitative and quantitative data. The research sampling population was school directors and teachers in 490 small schools under the supervision of Office of the Basic Education Commission providing education from kindergarten to Primary Education level 1, or Primary Education level 1 to 6.  Research tools consisted of 1) research framework study form, 2) research framework evaluation form, 3) questionnaire in the current state and desirable situations of Human Resources Management in order to enhance Education Equity in small schools, and, 4) evaluation form for possibility and appropriateness assessment of the draft for Human Resource Management strategies for enhancing Education Equity in small schools. The research data were analyzed by frequency, percentile, mean, standard deviation, t-test, PNIModified, and, content analysis. The research findings were categorized into aspects as follows: 1) Human Resource Management Framework comprised of 3 sub frameworks which were Human Resource Acquisition – planning, job specification, and, training and development; Human Resource Performance and Development – performance appraisal, and, training and development; and, Human Resource Retention – rewards and career path management. Moreover, Education Equity framework included 2 sub frameworks which were Horizontal Education Equity as standard; and, Vertical Education Equity based on differences and needs of the schools. Factors related to Education Equity in small schools were ratio of teachers to students, teacher quality, and, teaching motivation.  2) Human Resource Management according to Vertical Education Equity, based on differences and needs of the schools, was rather needed than Horizontal Education Equity as standard in all main and sub processes. The most needed framework was Human Resource Retention, Human Resource Acquisition, and, Human Resource Performance and Development, respectively.  3) Human Resource Management Strategies for Education Equity in small schools contained 3 core strategies, 6 sub strategies, 25 procedures, and, 4 critical success factors. In terms of 3 core strategies; first, to adjust Human Resource Acquisition promoting Vertical Education Equity in small schools; second, to review Human Resource Performance and Development enhancing Vertical Education Equity in small schools; third, to accelerate change in Human Resource Retention improving Vertical Education Equity in small schools according to critical success factors which were continuation of the policy, participation of all sectors, budget allocation equity, and, connection with teacher production system.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69940
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.939
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.939
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5784246027.pdf19.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.