Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69941
Title: | รูปแบบการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ |
Other Titles: | School administrators development model based on the concepts of school as learning community |
Authors: | ศนิชา ภาวโน |
Advisors: | บัญชา ชลาภิรมย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนและแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 415 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินกรอบความคิด แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ แบบประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1. กรอบแนวคิดรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารประกอบด้วย 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการพัฒนาตามแนวราบและรูปแบบการพัฒนาตามแนวดิ่ง และ แนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้จำนวน 8 องค์ประกอบ คือ โรงเรียนที่มี 1) การสร้างวิสัยทัศน์ของโรงเรียนร่วมกัน 2) การรับฟังซึ่งกันและกัน สร้างความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างผู้บริหาร ครู และผู้เรียน 3) การสร้างความเป็นเพื่อนร่วมงานและชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ให้กับครู 4) การสร้างครูและผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้และสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5) การสนับสนุนให้ครูและผู้เรียนมีการทำงานร่วมกันแบบร่วมมือรวมพลังและเป็นประชาธิปไตย 6) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของครูและผู้เรียน 7) การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดคุณภาพการศึกษาแก่ผู้เรียนและครู และ 8) การเผยแพร่องค์ความรู้ของโรงเรียนทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่สำหรับชุมชน 2. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวดิ่งด้านการคิดและการปฏิบัติในการบริหารโรงเรียนตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และวิเคราะห์สังเคราะห์เชิงระบบในการแสวงหาทางเลือกใหม่ มีค่าสูงที่สุด ซึ่งเลือกพัฒนา 3 องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นสูงกว่าค่าเฉลี่ยขององค์ประกอบทั้งหมด ได้แก่ (1) การสร้างวิสัยทัศน์ของโรงเรียนร่วมกัน (2) การรับฟังซึ่งกันและกัน และสร้างความเป็นกัลยาณมิตรระหว่างผู้บริหาร ครู และผู้เรียน และ (3) การสร้างความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) 3. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า "รูปแบบการพัฒนาแนวดิ่งเพื่อสร้างผู้นำแห่งอนาคตในการพัฒนาโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้" ซึ่งเน้นการพัฒนาตนเองด้านการคิดและการปฏิบัติในการบริหารโรงเรียนตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และวิเคราะห์สังเคราะห์เชิงระบบในการแสวงหาทางเลือกใหม่ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ |
Other Abstract: | The research aims 1) to study the framework of leadership development model and the concepts of schools as learning community, 2) to assess the needs for developing school administrators by applying the concepts of school as learning community, and 3) to develop a model of school administrators’ development by applying the concepts of school as learning community. The mixed methods approach is designed for this study. The key informants consist of 415 school directors and school vice-directors under the Office of the Basic Education Commission (OBEC) by Multi-stage Sampling. The data collection tools research instruments are comprised of an evaluation form of the conceptual framework, an open-ended questionnaire, and an evaluation form to assess the feasibility and appropriateness of the model Descriptive statistics including frequency, percentage, mean, standard deviation, and the Priority Needs Index (PNI) are conducted in quantitative data analysis. While, content analysis and analytic induction are treated for qualitative data. The research revealed three important findings; 1). The framework includes the concepts of horizontal and vertical development model and the concepts of school as learning community which has 8 factors 2). The vertical development of thinking and acting in response to a changing world as well as the use of systematic analysis and synthesis in seeking for alternative ways are the top priority needs of school administrators.; and 3) The Vertical Development Model for Future Leaders to Build Schools as Learning Community is developed. 1) self-development through thinking and acting in response to a changing world and 2) the systematic analysis and synthesis in seeking for alternative ways by applying the concepts of school as learning community. The top three priority components for the development according to the concepts of schools as learning community are (1) creating a shared vision within a school, (2) being open-minded and building caring relationship among school administrators, teachers, and students, and (3) building the professional learning community (PLC) in school. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69941 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.948 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.948 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5784248227.pdf | 12.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.