Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69966
Title: กลวิธีการถ่ายทอดทักษะการบรรเลงกลองมลายูสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน
Other Titles: Klong Malayu performing method transmission of Kru Pring Kanjanapalin
Authors: เฉลิมพันธุ์ ฤาวิชา
Advisors: ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลวิธีการบรรเลงกลองมลายูสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน 2) ศึกษากลวิธีการถ่ายทอดทักษะการบรรเลงกลองมลายู ของครุศิลปินต้นแบบสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ด้านเอกสารและด้านบุคคล ทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล 3 กลุ่ม ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ครูนิเวศน์ ฤาวิชา (ครุศิลปินต้นแบบ) 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องตีและเครื่องหนังไทยของกรมศิลปากรที่สืบสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน และ3) กลุ่มผู้เรียนที่เรียนกับครุศิลปินต้นแบบ ทำการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ร่วมกับการตีความ (Interpretive Approch) และตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการแบบสามเส้า (Triangulation Approach) ผลการวิจัย พบว่า 1. กลวิธีการบรรเลงกลองมลายูสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน มีรายละเอียดดังนี้ 1.1 ความเป็นมาของกลวิธีการบรรเลงกลองมลายูสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน พบว่ามีต้นทางขององค์ความรู้จากครูช้อย สุนทรวาทิน ที่ได้ทำการส่งต่อองค์ความรู้ไปยังพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) พระประดับดุริยกิจ (แหยม วีณิน) และพระพาทย์บรรเลงรมย์ (พิมพ์ วาทิน) จวบจนกระทั่งครูพริ้ง กาญจนะผลิน ทำการส่งต่อองค์ความรู้ด้านพื้นฐานการบรรเลงกลองมลายูไปยังครูนิเวศน์ ฤาวิชา 1.2 กลวิธีการบรรเลงกลองมลายูสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน ได้แก่ 1) พื้นฐานการบรรเลง ประกอบไปด้วย ท่านั่ง 2 แบบ ได้แก่ ท่านั่งบรรเลงกลองมลายูตัวผู้และท่านั่งบรรเลงกลองมลายูตัวเมีย การจับไม้ 2 แบบ ได้แก่ การจับไม้กลองมลายูตัวผู้ และการจับไม้กลองมลายูตัวเมีย การดีดไม้ 2 แบบ ได้แก่ การดีดไม้กลองมลายูตัวผู้ มีขั้นตอนในการดีดไม้ 5 ขั้นตอน และการดีดไม้กลองมลายูตัวเมีย มีขั้นตอนในการดีดไม้ 4 ขั้นตอน และเทคนิคการทำเสียงกลองมลายูแบบต่าง ๆ 11 เทคนิค ได้แก่ เทคนิคของกลองมลายูตัวผู้ 7 เทคนิค และตัวเมีย 4 เทคนิค และ2) กระบวนหน้าทับ ได้แก่ หน้าทับนางหงส์ สองชั้น, หน้าทับนางหน่าย (หนังหน่าย) 4 รูปแบบกระบวนหน้าทับ ประกอบไปด้วย 21 มือเล่น และหน้าทับสองไม้ (สองไม้ส่าย) 2 รูปแบบ ได้แก่ กระบวนหน้าทับหลัก และกระบวนหน้าทับสองไม้ส่าย 13 มือผลการวิจัยข้อที่ 2. กลวิธีการถ่ายทอดทักษะการบรรเลงกลองมลายู ของครุศิลปินต้นแบบสายครูพริ้ง กาญจนะผลิน พบว่ามีรูปแบบกลวิธีในการถ่ายทอด 5 แบบ ดังนี้ 2.1 แบบวิธีวิทยาเฉพาะตัว 8 ลักษณะ ได้แก่ มีความเข้าใจความสามารถในกาเรียนรู้ของผู้เรียน มีการสอนรายบุคคล มีการกำหนดเนื้อหาการสอนแต่ละครั้งอย่างชัดเจน มีการจัดเนื้อหาจากง่ายไปยาก มีการใช้วิธีการสาธิต มีการให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการตอบคำถามด้วยการปฏิบัติให้ดูทันที มีการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ถูกต้องในทันที 2.2 แบบบรรยาย 2 รูปแบบ ได้แก่ การบรรยายเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน และการบรรยายเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน 2.3 แบบใช้สื่อ 3 รูปแบบ ได้แก่ การใช้สื่อออนไลน์ การใช้ไฟล์เสียง และการใช้ผู้บรรเลงจริง และพบรูปแบบเพิ่มเติมที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวของครูนิเวศน์ ฤาวิชา 2 แบบ ได้แก่ 2.4) แบบเน้นการประเมินผลการปฏิบัติทักษะของผู้เรียน 2 มิติ คือ การประเมินผลการปฏิบัติทักษะในระหว่างการเรียนการสอน และการประเมินผลการปฏิบัติทักษะในการแสดงจริงของผู้เรียน และ 2.5) แบบมีการคัดเลือกผู้เรียน มีเกณฑ์การคัดเลือก 5 ประการได้แก่ ผู้เรียนที่มีความอดทนสูง ผู้เรียนที่มีบุคลิกภาพดี เรียนที่สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว ผู้เรียนที่มีความใส่ใจ และผู้เรียนที่แสดงออกถึงความสนใจในเนื้อหา
Other Abstract: This study’s purposes are 1) to study the technique of Klong Malayu of Kru Pring Kanjanapalin 2) to study teaching methods of the Klong Malayu of Kru Pring Kanjanapalin. This research is qualitative research. The researcher collects data from the sample in both document and person. The researchers interviewed 3 groups of informants by using the purposive sampling method including 1) The main informant is Kru Nivet Rawicha (Master Artist) 2) Thai percussion and leather specialist group of the Fine Arts Department who follow Kru Pring Kanjanapalin and 3) groups of students studying with master artists. The researcher collects the data by using the participant observation method, analyses the data with content analysis, interpretive approach, and validates the data with a three-wire method. The result of this study shows that 1. The technique of Klong Malayu of Kru Pring Kanjanapalin 1.1 The back ground of Klong Malayu of Kru Pring Kanjanapalin’s technique found that the source of knowledge is from Kru Choi Suntharawatin which transferred to Phraya Prasan Duriyasub (Plake Prasarnsub), Phraya Sanohdduriyang (Cham Suntharawatin), Phrapradubduriyakij (Yam Vinin) and PhraPhatbanlengrom (Pim Watin) until Kru Pring Kanjanapalin passed the knowledge on the basics of Klong Malayu to Kru Nivet Ruwicha 1.2 the technique of Klong Malayu of Kru Pring Kanjanapalin include with 1) Basics of playing; 2 types of sitting positions-the klong malayu tua phu (male drum with higher pitch) playing and the klong malayu tua mia (female drum with lower pitch) playing 2) 2 types of holding drumstick handling-the klong malayu tua phu (male drum with higher pitch) drumstick handling and the klong malayu tua mia (female drum with lower pitch) drumstick handling 3) 2 types of drumstick flipping - there are 5 steps in the klong malayu tua phu (male drum with higher pitch) drumstick flipping and 4 steps in the klong malayu tua mia (female drum with lower pitch) drumstick flipping and 11 teachnique in sounds making – 7 techniques in the klong malayu tua phu (male drum with higher pitch) and 4 techniques the klong malayu tua mia (female drum with lower pitch) 2) Krabuan Nah Tub consists of Nah Tub Nang Hong 2 Chun, Nah Tub Nang Nhai (Nung-Nhai). 4 Nah Tub types consists of 21 playing hands and 2 Nah Tub dual drumsticks (Song Mai Sai) 2 styles including Krabuan Nah Tub Lhung and Krabuan Nah Tub Song Mai Sai 13 playing hands. 2. The teaching methods of the Klong Malayu of Kru Pring Kanjanapalin found that there are 5 methods including 2.1 8 unique styles - understanding of the learners' ability, individual tutoring, the contents of each teaching are clearly defined, content is organized from easy to difficult, there is a demonstration method in teaching, learners are taught by practicing themselves, questions are answered with the practice immediately, accurate feedback is provided immediately. 2.2 2 lectures style – lectures about of stories related to the lesson and lectures for motivating learners 2.3 3 medias usage – online media, sound file and real performance and the researcher also found 2 additional patterns that were unique identities of Kru Nivet Ruwicha 2.4 2 dimensions of evaluation of the learners’ performance skill - the evaluation of skills performance during the teaching process and evaluation of the live performance of the learners' skills and 2.5 there are 5 criteria in the select student - learners with high tolerance, learners with a good personality, the student that can learn quickly, attentive learners and learners who express an interest in the content.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดนตรีศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69966
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.787
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.787
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983312727.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.