Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69976
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ-
dc.contributor.authorจิตราภรณ์ ไกรวรรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T13:34:01Z-
dc.date.available2020-11-11T13:34:01Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69976-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สืบสอบแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลสำหรับลูกเสือ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้สืบสอบแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลสำหรับลูกเสือ 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้สืบสอบแบบผสมผสานที่มีต่อภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลสำหรับลูกเสือ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นและพฤติกรรมของลูกเสือที่แสดงถึงภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัล ตัวอย่างวิจัย คือ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ที่กำลังศึกษาอยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2562 จำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ฯ 2) แบบทดสอบด้านมารยาทในสังคมดิจิทัล 3) แบบวัดภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัล และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นและพฤติกรรม การวิเคราะห์ผลข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สถิติ  t-test dependent และการวัดคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้สืบสอบแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลสำหรับลูกเสือ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เครื่องมือในการเรียนรู้ร่วมกันออนไลน์ 2) เนื้อหา 3) แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม 4) กิจกรรมการเรียนรู้ 5) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และ 6) การวัดและประเมินผล และขั้นตอนการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดปัญหา 2) การสำรวจและค้นหา  3) การอธิบายและลงข้อสรุป 4) การแสดงความคิดเห็น 5) การถ่ายทอดความรู้  6) การนำเสนอผลงาน  และ 7) การติดตามและประเมินผล โดยผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้ฯ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ที่ 4.55 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุดเหมาะสมต่อการนำไปใช้  2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลหลังเรียนของลูกเสือที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้สืบสอบแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัล มีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัล คิดเป็นร้อยละ 43.19 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พัฒนาการระดับกลาง 3. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นและพฤติกรรมของลูกเสือที่แสดงถึงภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลหลังจากที่ได้เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ฯ พบว่า ลูกเสือมีมุมมองความคิดเรื่องมารยาทในสังคมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีพฤติกรรมการใช้สื่อเครือข่ายสังคมที่ดีขึ้น โดยใช้คำพูดที่สุภาพ แบ่งปันข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น พฤติกรรมที่แสดงถึงภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัล คือ ลูกเสือสามารถเป็นแกนนำและเป็นต้นแบบในการรณรงค์เรื่องมารยาทในสังคมดิจิทัลได้  และผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างวิจัยที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ฯ ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก  -
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to: 1) develop an inquiry blended learning model to enhance digital leadership in online etiquette for the boy scouts 2) study  the effectiveness of the model  and 3) study the opinions and behaviors of boy scouts regarding digital etiquette after using the model. The sample was senior scouts who studied under the office of the Basic Education Commission (OBEC), Ministry of Education, Semester 2, Academic Year 2019, totaling 64 people. The research instruments were 1) lesson plans based on the inquiry blended learning model 2) digital etiquette tests 3) questionnaires about leadership in digital etiquette and 4) questionnaires for opinions and behavior of the scouts. Data were analyzed using content analysis, descriptive, statistics, t-test and development score. The results were as follows: 1. This study found 6 important elements in the developmental learning model. There were as follows: a) online collaborative learning tools b) content c) additional learning resources d) learning activities e) physical and virtual learning environment and f) measurement and evaluation. There were 7 learning steps identified: i) determining the problem ii) exploration and search  iii) explanation and conclusions iv) expressing opinions v) expansion of knowledge vi) presentations and vii) follow-up and evaluation. The results of the experts' evaluation for the Inquiry Blended Learning Model to Enhance Digital Etiquette Leadership for the boy scouts was very positive with the average evaluation being 4.55, which were the highest band and suitable for use with the scouts. 2. The results of the comparison of the leadership in digital etiquette scores of the scouts who studied with the inquiry blended learning model to enhance digital etiquette leadership. The average score of posttest for leadership in digital etiquette was significantly higher than the pretest at the .05 level. The mean of development score of the scouts who learned the model was 43.19%, which was in the middle-level development criteria  3. The results of an analysis of the opinions of the boy scouts that used the model found that they have changed their view of digital etiquette for the better. Their behavior while using social media improved. They used more polite words, shared information that was more useful to others. The behavior that represents the leadership in digital etiquette was that the scouts can be a mainstay and role model in digital etiquette campaigns. The results of the survey of research samples for the inquiry blended learning model. The overall views were very good. -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.596-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้สืบสอบแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำด้านมารยาทในสังคมดิจิทัลสำหรับลูกเสือ-
dc.title.alternativeDevelopment of an inquiry blended learning model to enhance digital etiquette leadership for the boy scouts-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.keywordThe inquiry blended learning model-
dc.subject.keywordDigital etiquette leadership-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.596-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5983812127.pdf5.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.